โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

4นักธุรกิจรุ่นใหม่ เปิดเคล็ดลับการลงทุน”สตาร์ทอัพ”

Money2Know

เผยแพร่ 19 ส.ค. 2561 เวลา 12.48 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
4นักธุรกิจรุ่นใหม่ เปิดเคล็ดลับการลงทุน”สตาร์ทอัพ”

เปิดไอเดียทำธุรกิจและหลักการลงทุนของ 4 นักธุรกิจรุ่นใหม่ รับโอกาสใหม่จากกระแสสตาร์ทอัพที่กำลังมาแรง 

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ร่วมกับบริษัทไลฟ์ฟินคอร์ป จำกัด จัดสัมมา  โดยมีนักธุรกิจรุ่นใหม่ และสตาร์ทอัพ มาเล่าประสบการณ์การลงทุนและการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

นายพงศ์ปิติ เอกเธียรชัย ผอ. บริษัท ไลฟ์ฟินคอร์ป จำกัด เล่าว่าปัจจุบันสตาร์ทอัพมักได้เงินลงทุนจากการหยิบยืมคนใกล้ตัว หรือเงินทุนของตัวเอง หลังจากนั้นจึงดึง Angel Investor เข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งการจะรอ Venture Capital เข้ามาลงทุนคงนาน เพราะส่วนใหญ่แล้ว Venture Capital จะเลือกเข้าไปลงทุนกับบริษัทที่ต้องการเงินทุนเยอะมากกว่าสตาร์ทอัพ หรือบริษัทขนาดใหญ่นั่นเอง

ต้องยอมรับก่อนว่าธุรกิจสตาร์ทอัพมีความเสี่ยงสูง ฉะนั้นแล้วต้องเข้าใจธุรกิจที่ตนเองลงทุนเป็นอย่างดี ถ้าไม่อย่างนั้นต้องเลือกการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนออกไป ซึ่งทางเลือกของสตาร์ทอัพสามารถเลือกได้ตามช่องทางดังนี้

1.Startup Community เป็นช่องทางที่สตาร์ทอัพต้องเข้าหาผู้ร่วมลงทุนด้วยตนเอง

2.Angel Network คือการเข้าไปร่วมกับ Angel Club ซึ่งเป็นช่องทางที่จะนำเสนอข้อมูล แต่ว่าสตาร์ทอัพก็ต้องติดตามข้อมูลด้วยตนเอง

3.Private Equility คือการนำเงินไปให้เข้าลงทุนให้ โดยสามารถกำหนดได้ว่าต้องการเรตค่าตอบแทนที่เท่าไร ซึ่งตัวกลางที่นำเงินไปลงทุนก็จะคำนวณมาให้ว่าต้องใช้เงินลงทุนเท่าไร

4.Crowd Funding คือการเอาผู้ลงทุนจำนวนมากเข้ามารวมกันโดยใช้เงินลงทุนน้อย แต่จะเป็นชุมชนใหญ่ในการแชร์ข้อมูลต่างๆ ซึ่งมีข้อดีคือเป็นการกระจายการลงทุนที่หลายหลายมาก และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย นอกจากนี้แล้วยังเป็นการสร้างโอกาสเกิดใหม่ของธุรกิจอีกด้วย

เมื่อได้ทำความรู้จักกับสตาร์ทอัพกันคร่าวๆแล้ว ลองไปเรียกรู้การจุดประกายการลงทุนกันบ้าง

นางสาวจุฑาศรี คูวินิชกุล Co-Founder, Grab Taxi (Thailand) และ Angel Investor กล่าวว่า ตัวเองเกิดในครอบครัวที่ทำธุรกิจอลูมิเนียม และคลุกคลีกับธุรกิจประเภทนี้ตั้งแต่ลืมตาดูโลดจนถึงปัจจุบัน เพราะฉะนั้นจึงเห็นการทำธุรกิจนี้มาตั้งแต่วัยเยาว์ ซึ่งตนเองเริ่มต้นทำธุรกิจตั้งแต่อายุ 14 ปีเท่านั้นเอง

ซึ่งเป็นการเข้าไปช่วยกิจการอลูมิเนียมของครอบครัวนั่นเองโดยมีคุณพ่อเป็นผู้ชักจูง ต้องยอมรับว่าการที่ครอบครัวประกอบธุรกิจของตัวเอง ดังนั้นเเล้วความคาดหวังเกี่ยวกับที่ตนเองจะเข้าไปสืบทอดกิจการที่บ้านย่อมเป็นเรื่องที่ต้องถูกคาดหวังจากผู้เป็นพ่อและเเม่เป็นธรรมดา

โดยที่บ้านได้วางแผนไว้ให้ตั้งแต่สมัยเด็กๆ ในอายุ 6 ขวบถูกส่งไปเรียนภาษาจีน และอังกฤษเสริมเป็นพิเศษ เพื่อมารับไม้ต่อในการทำธุรกิจจากคุณพ่อ แต่จุดเปลี่ยนที่สำคัญเกิดขึ้นตอนที่ใกล้จะเรียนจบมหาวิทยาลัย ซึ่งตนเองอนากเปิดโลกกว้างเห็นธุรกิจประเภทอื่นที่ไม่ใช่ธุรกิจที่บ้านบ้าง

จึงตัดสินใจขอเวลากับครอบครัว 5 ปี เพื่อค้นหาตัวเอง โดยใช้เวลาถึง 2 ปีกับการไปเรียนต่อที่ฮาเวิร์ด บิวซิเนส สคูล เพราะอยากเห็นทุกอย่างให้กว้างขึ้นเท่าที่จะเห็นได้ในโลกธุรกิจ ซึ่งการไปเรียนต่อครั้งนั้นทำให้ตนเองเกิดเเรงบันดาลใจในการทำธุรกิจใหม่ และได้มีโอกาสไปทำงานในประเทศเยอรมนี

และได้เห็นการซื้อขายธุรกิจแบบแข่งขันกันอย่างรุนแรงหนักหน่วงเเละรวดเร็ว ซึ่งการไปต่างประเทศครั้งนั้นทำให้ได้เรียนรูว่าคนไม่สามารถที่จะสู้ Industry ได้อย่างเเน่นอน แต่ว่าที่เหนือกว่า Industry force คือประเทศ ซึ่งเราไม่จำเป็นจะต้องอยู่แค่ประเทศเดียวในการทำธุรกิจ หรือทำธุรกิจอยู่เพียงเเค่อย่างเดียว

"เป็นแรงผลักให้คิดได้ว่าตนเองไม่จำเป็นที่จะต้องทำแต่ธุรกิจอลูมิเนียม เลยมานั่งคิดว่าตนเองนั้นสามารถทำอะไรได้บ้าง สิ่งแรกที่คิดคือการทำธุรกิจใหม่ของตนเองนั้นจะต้องเป็นธุรกิจที่ทำให้ทุกคนมีความสุขซึ่งเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในการเริ่มธุรกิจใหม่เป็นอย่างมาก และธุรกิจของที่บ้านก็ต้องไปต่อได้ด้วยเช่นกัน"

จึงได้คิดโปรเจกต์ขึ้นมาโดยร่วมกันทำกับเพื่อนชาวยูเครนเกิดเป็นกิจการ Grab ขึ้น โดยตนเองได้เรียนรู้สิ่งต่างๆจากเพื่อนชาวยูเครนมากมาย สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือเราไม่จำเป็นต้องสร้างธุรกิจขึ้นเองเสมอไป แต่ใช้วิธีอื่นเข้ามาทดเเทนได้เช่นเข้าไปร่วมทุน หรือซื้อกิจการ

ตนเองได้มีหลักในการลงทุนคือการเเบ่งกระเป๋าออกเป็น 3 ส่วน

ส่วน 1 ส่วนที่มีความเสี่ยงต่ำคือต้องมีเงินสำรองเก็บไว้ในธนาคารก้อนหนึ่งเพื่อสามารถเอามาใช้ได้ยามฉุกเฉิน แต่เงินก้อนนี้จะต้องมีวินัยในการจัดการคือห้ามยุ่งกับมันเด็ดขายถ้าไม่วิกฤติจริงๆ

ส่วนที่ 2 เงินในกระเป๋ากลางซึ่งจะเป็นเงินสำหรับหล่อเลี้ยงธุรกิจของเราทุกประเภทที่มีอยู่ เงินก้อนนี้ต้องหมุนไปสนับสนุนทุกธุรกิจได้เสมอๆ

ส่วนที่ 3.เงินลงทุน ซึ่งก้อนนี้จะใช้สำหรับลงทุนและทำกำไร โดยส่วนตัวจะเลือกลงทุนกับธุรกิจที่ใช้เงินน้อยเเต่ได้ปลตอบแทนสูง ซึ่งต้องศึกษาข้อมูลกันให้ดีเสียก่อนที่จะเลือกลงทุน ต้องมั่นใจว่าเรามีความรู้มากพอที่จะเข้าไปบริหารสิ่งนั้นได้

ขณะที่นายภาวุธ พงศ์วิทยภานุ CEO and Founder, TARAD.com กล่าวว่าเริ่มต้นการทำธุรกิจจากการทำ e-commerce ตั้งแต่ช่วงปี 1999 ซึ่งตอนนั้นได้รับเงินสนับสนุนจากกลุ่มโมโน พอปี 2009 ธุรกิจโตขึ้นก็ถูกบริษัทจากญี่ปุ่นซื้อหุ้นไป 67% เป็นเงินร่วมร้อยล้านบาท จากนั้นจึงเอาเงินไปลงทุนในธุรกิจประเภทอื่น และในที่สุด ได้ไปซื้อ TARAD.com คืนมา ซึ่งตอนนั้นเป็นธุรกิจ e-commerce แบบครบวงจรแล้ว ขณะที่ถึงตอนนี้ตนเองได้มีการเข้าไปลงทุนกว่า 17 บริษัทแล้ว

บริษัทที่เข้าไปลงทุนทั้งหมดเป็นบริษัทที่ตนเองมีแรงจูงใจที่อยากทำและเข้าใจจริงๆ สิ่งสำคัญในการเริ่มต้นการทำธุรกิจที่จะสามารถเติบโตได้ในอนาคตคือเราต้องเริ่มทำเองทุกอย่างเสียก่อน และเมื่อถึงจุดหนึ่งจึงค่อยๆปรับโครงสร้างเพื่อพัฒนาศักยภาพของธุรกิจตนเองต่อไปในอนาคตเช่นการเข้าไปร่วมทุนกับบริษัทอื่นก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ

การเริ่มทำธุรกิจมีอยู่ 5 วิธีที่น่าสนใจ

1.เริ่มกิจการเป็นของตนเอง 2.เข้าไปร่วมกิจการกับบริษัทอื่น 3.ควบรวมกิจการกับบริษัทอื่น 4.เข้าซื้อกิจการ 5.ลงทุน

ขณะเดียวกันตนเองก็ได้มีการลงทุนเปิดบริษัทใหม่อยู่เรื่อยๆอย่างเช่น Efra Structure เป็นบริษัทที่เปิดใหม่โดยแยกตัวออกมาจากตลาดดอทคอม โดยมีพาร์ทเนอร์ดูแล ซึ่งตนเองได้ค้นพบว่าตนเองมีความถนัดด้านการวางกลยุทธิ์ในการดำเนินธุรกิจ

จึงได้ร่วมกับเด็กฝึกงานที่มีแนวโน้มในการทำธุรกิจที่ดีเปิดบริษัทที่ชื่อว่า Zocial Inc ซึ่งต่อมาได้ควบรวมกิจการกับบริษัท Thoth Media และในเวลาต่อมาก็ได้รวมกับอีกบริษัทอย่าง OBVOC โดยได้รับเงินสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 35 ล้านบาท

ในส่วนของการขยายธุรกิจมองว่า M&A ก็เป็นอีกหนึ่งทางที่น่าสนใจซึ่งตนเองเคยได้มีการเข้าไปลงทุนกับบริษัท Thaiware ซึ่งขณะนั้นสถานการณ์ของบริษัทนี้ไม่ค่อยสู้ดีนัก แต่หลังจากที่ตนเองเข้าไปวิเคราะห์และปรับการจัดการต่างๆ ไม่กี่ปีก็ทำให้ Thaiware สามารถทำกำไรได้ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสูตรในการทำธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องก่อตั้งธุรกิจเองตั้งแต่เริ่มต้น

ขณะที่การลงทุนในบริษัท Shippop เป็นธุรกิจขนส่งที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญเป็นทุนเดิมอยู่แล้วและอยากทำโปรเจคโลจิสติกส์มานานพอควร จึงได้เข้าไปทำ Shippop ให้สามารถขนส่งสินค้าได้ทั่วประเทศ ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับบริษัทขนส่งจ้าวอื่นอย่างเคอร์รี่ ไปรษณีย์ไทย หรือแม้แต้ SCG โดยได้มีการชวนนักลงทุนชาวญี่ปุ่นเข้ามาร่วมทุนด้วย และในปี 2017 สามารถทำกำไรได้ถึง 70 ล้านบาท

โดยตนเองทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงให้กับธุรกิจหลายๆประเภทอย่างที่กล่าวไป สำหรับ Shippop ตอนนี้ได้เข้าไปบุกตลาดที่มาเลเซียเรียบร้อยแล้วและยังมองตลาดอื่นนอกจากมาเลเซียอีกด้วย ซึ่งมูลค่าของ Shippop ตอนนี้อยู่ที่ 300 ล้านบาทแล้ว ซึ่ง e-commerce การให้บริการเรื่องการขนส่งถือว่ามีเยอะแล้ว แต่ว่าเรื่องการบริการของการเก็บสินค้าถือว่ายังไม่ค่อยมีใครทำจึงเป็นอีกช่องทางที่น่าสนใจไม่แพ้กันที่จะเข้าไปลงทุนในธุรกิจประเภทนี้

ท้ายที่สุดแล้วการทำธุรกิจต้องใช้ทฤษฎี Miracle of Capacity เข้ามาเป็นปรัชญาหลักในการดำเนินการคือเมื่อถึงจุดหนึ่งของการทำธุรกิจเราควรจะต้องแยกตัวออกจากวงโคจรได้แล้วและกลายสภาพตัวเองไปเป็นนักลงทุนแทน และสร้างกลุ่มคนให้มีความรู้และเชื่อมโยงธุรกิจทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะเป็นจุดแข็งในการลงทุน และสิ่งสำคัญคือควรลงทุนกับธุรกิจที่ตัวเองมีความรู้และเข้าใจมันได้เป็นอย่างดี

ซึ่งจะทำให้เราทำมันออกมาได้เป็นอย่างดี อีกปัจจัยที่สำคัญในการเริ่มต้นทำธุรกิจคือควรมองหาธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนน้อยแต่ให้ผลตอบแทนสูง หรือไม่ก็ควรเลือกการลงทุนในธุรกิจหลายๆประเภทเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงของการลงทุน สิ่งสำคัญสิ่งสุดท้ายคือเราต้องมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้เราทำธุรกิจที่สามรถสร้างผลกะทบในวงกว้างได้

ส่วนนายพจน์ สุพรหมจักร Investment Manager,N-Vest Venture กล่าวว่า การเป็น Angel Investor มี Risk ที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ซึ่งถ้าคิดเป็นค่าเฉลี่ย 3 ใน 10 จะอยู่ได้แบบเฉยๆ ส่วนที่เหลือจะค่อยๆตายไป ซึ่งการลงทุนของ Angel Investor ลงทุนไปต้องลุ้นหลายตะหลบว่าจะได้เงินคืนไหม ขณะเดียวกันโปรดจงใจไว้เลยว่าเงินที่ลงทุนไปในตอนแรกไม่สามารถที่จะทำให้มันเพียงพอต่อการเติบโตได้เพราะต้องผ่าน Funding Round ถึง 3-4 รอบเสียก่อนถึงจะมีโอกาสเติบโต ขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงสูงไม่น้อยเลย

มีไม่กี่รายเท่านั้นเองที่แกร่งพอจะผ่าน Funding Round ได้เพียงแค่รอบเดียว ดังนั้นสิ่งที่สำคัญสำหรับการเป็น Angel Investor คือต้องรู้จักการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงสิ่งที่คนที่สำเร็จทำกันคือเขาลงทุนกับบริษัทมากมายกว่า 30-50 บริษัทที่หลากหลายกันออกไป ซึ่งจะเป็นการดีกว่าเพราะอย่างน้อยจะมี 2-3 บริษัทที่ประสบความสำเร็จแน่ๆ และถ้านำมูลค่าของกำไรที่ได้มาเฉลี่ยมันจะสามารถสร้างกำไรให้ Angel Investor ได้อย่างแน่นอน

ขณะเดียวกัน Angel Investor ต้องเข้าใจ Funding Mental ของการสร้างบริษัทซึ่งต้องใช้ความรู้เฉพาะทางทางของธุรกิจ Venture Capital จึงเป็นเรื่องสำคัญตรงที่สามรถเข้ามาจัดการให้บริษัทแต่ละรายไปถึงเป้าหมายได้ด้วยงบประมาณที่มีจำกัด ในส่วนของการทำ Venture Capital คือเจ้าของบริษัทต้องเป็นคนเดิม และต้องคุยกันรู้เรื่อง

เพราะเหตุผลที่คนเจ๊งกันเยอะที่สุดคือเจ้าของมักแตกกัน ถึงแม้ว่าแผนธุรกิจจะดีแค่ไหนก็ตาม ฉะนั้นแล้วเรื่องของการเป็นทีมเวิร์คจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่จะสามารถประคับประครองกิจการให้ไปรอดได้

สิ่งที่ Angel Investor ควรตระหนักอยู่ตลอดเวลาคือควรทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้กับธุรกิจที่ตัวเองจะเข้าไปลงทุนให้มากที่สุดเพราะเป็นปัจจัยที่สำคัญ หากรู้มาก Angel Investor ก็จะรู้ว่าตนเองควรทำอะไรต่อไปในขั้นตอนต่อไป

และสิ่งที่ Angel Investor ไม่ควรทำนั่นคือการเข้าไปยุ่งกับธุรกิจที่ตนเองลงทุนมากจนเกินไป ควรให้คำแนะนำแค่บางเรื่องเท่านั้นก็พอ ไม่งั้นจะเป็นการสร้างความรำคาญให้กับผู้ร่วมทุนจนเกิดการแตกคอกันในที่สุด ซึ่งถ้าอยากจะเป็น Angel Investor ควรแค่แชร์ความรู้ของตนเองและฟังความคิดเห็นของผู้อื่นบ้าง และไม่ควรไปลงทุนอะไรแปลกๆที่ทำให้ Venture Capital ไม่ลงทุนต่อ

เช่นการให้มูลค่ากับสตาร์ทอัพที่สูงเกินไป เพราะมันเสี่ยงไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง และสิ่งที่ Angel Investor ควรปฏิบัติอยู่เสมอคือการออกไปงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจเพราะวงการนี้แคบจะช่วยให้ Angel Investor รู้ว่าใครเป็นใครบ้าง ยิ่งถ้าได้พูดคุยกับคนอื่นในวงการบ่อยๆ จะทำให้เราสามารถล่วงรู้ข้อมูลเยอะขึ้นมาก และจะสามารถแยกแยะได้ว่าบริษัทใดควรเข้าไปลงทุนหรือไม่ควร

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0