โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

30 ปีแล้วนะ!! เด็กหลอดแก้วคนแรกของไทย พร้อมมี “ทายาท” รุ่นต่อไป

SpringNews

เผยแพร่ 17 ธ.ค. 2561 เวลา 06.45 น. • SpringNews
30 ปีแล้วนะ!! เด็กหลอดแก้วคนแรกของไทย พร้อมมี “ทายาท” รุ่นต่อไป

ทั้งนี้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสภากาชาดไทยจะแถลงถึงความสำเร็จของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ เคยทำสำเร็จครั้งแรกและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ครั้งนี้ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการรพ.จุฬาลงกรณ์และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสวนา “ภาพรวมของการบริการทางการแพทย์ของจุฬาฯ สภากาชาดไทย ได้พัฒนาเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ด้วยการทำเด็กหลอดแก้วแก้ไขปัญหาภาวะมีบุตรยาก ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่ช่วยให้คู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยาก สามารถให้กำเนิดทารกเพศชายรายแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2530 โดยทารกได้มีการเจริญเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ สามารถมีคู่สมรสและพร้อมที่จะให้กำเนิดทายาทในเดือนธันวาคมนี้

โดย เด็กหลอดแก้วคนแรกของไทย คือ นายปวรวิทย์ ศรีสหบุรี ปัจจุบันอายุ 30 ปี มีอาชีพวิศวกรยานยนต์ ได้สมรสและกำลังมีทายาทออกมาลืมตาดูโลกในเดือนธันวาคมนี้

สำหรับด็กหลอดแก้วในไทยนั้น *ศ.กิตติคุณ นพ.ประมวล วีรุตมเสน ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เป็นผู้ทำเด็กหลอดแก้วสำเร็จคนแรกของประเทศไทย *ร่วมกับทีมวิจัยทำการทดลองในปี 2527 ด้วยการเลี้ยงตัวอ่อนหนูไมซ์ (Mice) ที่ถือว่าเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การทำ "เด็กหลอดแก้ว" ในไทย ใช้กระบวนการเก็บไข่คน (Oocytes collection) จากห้องผ่าตัดเพื่อนำไปปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการ ในวันที่ 24 มี.ค. 2527 การทดลองก้าวหน้าขึ้น ใน 2 ปีต่อมา ที่มีการตั้งท้องนอกมดลูกจากการถ่ายฝากในระยะ 8 เซลล์และการตั้งครรภ์จากการถ่ายฝากตัวอ่อนในระยะ 4 เซลล์ ทั้งยังมีการตั้งครรภ์นานถึง 9 สัปดาห์จากการฝากตัวอ่อนในระยะ 4 เซลล์แต่มีการแท้งบุตร กระทั่งวันที่ 15 ส.ค. 30 “ด.ช.ปวรวิทย์ ศรีสหบุรี” ได้ถือกำเนิด เป็นเด็กหลอดแก้วคนแรกของไทยและทวีปเอเชีย เด็กหลอดแก้วรายที่ 2 เกิดในปี 2532 และในปี 2534 ได้กำเนิดเด็กเด็กหลอดแก้วแฝด 3 เป็นครั้งแรก อีก 1 ปีต่อมาเด็กหลอดแก้วที่เกิดจากตัวอ่อนแช่แข็งได้กำเนิดเป็นรายแรกของไทย

สำหรับนายปวรวิทย์ ศรีสหบุรี ที่จะมาเปิดใจเล่าถึงความรู้สึกที่ได้รับการรักษาจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในวันที่ 18 สิงหาคม พร้อมกับคณะแพทย์ จุฬาฯที่จะมาให้ความรู้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ท่ามกลางการแก้ปัญหาสังคมผู้สูงอายุของไทยด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0