โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

3.5 หมื่นล้าน ปลุก SMEs อุ้มแรงงาน-อัดฉีด ศก.ฐานราก

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 26 ม.ค. 2563 เวลา 09.55 น. • เผยแพร่ 26 ม.ค. 2563 เวลา 09.50 น.
SME

ด้วยแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทำให้ GDP SMEs ขยับขึ้นกว่า 4% มีมูลค่าถึง 8 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 42% ของ GDP ทั้งประเทศ โดยมาจากภาคบริการที่ส่วนใหญ่เป็นที่พัก/ร้านอาหาร การค้าสัดส่วนจากค้าปลีก ค้าส่ง และการผลิตสัดส่วนจากผลิตภัณฑ์อาหาร ดังนั้นการเร่งมาตรการสร้างความเข้มแข็ง ปลุกธุรกิจเอสเอ็มอีถือเป็นนโยบายหลักที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่องตลอด 1-2 ปีที่ผ่านมา

หากย้อนกลับมาดูมาตรการเดิมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สำหรับเอสเอ็มอีก็จำนวนไม่น้อยทั้งการยกเว้น SMEs ภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นสัดส่วน 200% ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ประเภทกิจการในกลุ่ม A จะได้การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร บวกกับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดถึง 8 ปี (ไม่แคปวงเงิน) ยิ่งไปกว่านั้น

“หากเป็นกิจการวิจัยและพัฒนาและยังสามารถใช้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าโครงการได้อีกด้วย และเมื่อนำมาตรการทางการคลังเข้ามาอีก เชื่อว่าไม่นาน SMEs ไทยจะมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น ในระหว่างที่บีโอไอกำลังร่างมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับ SMEs ซึ่งจะมีปรับเงื่อนไขใหม่ โดยประสานกับกระทรวงการคลัง ใช้ “มาตรการทางภาษี”

เข้ามาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญ เพิ่มขึ้นจากมาตรการบีโอไอ เพื่อเปิดกว้างเพิ่มขึ้น โดยจะเสนอที่ประชุมบอร์ดบีโอไอ ซึ่งมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในกลางเดือน ก.พ. 2563 นี้

2 โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ

ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ “มาตรการต่อเติม เสริมทุน SME สร้างไทย” เนื่องจากผู้ประกอบการกำลังตกอยู่ในช่วงของวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอนและมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วงเงิน 35,000 ล้านบาท

“นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ย้ำว่า การดำเนิน 2 โครงการ คือสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) 20,000 ล้านบาท จากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Bank) เพื่อช่วยลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสีย (NPL) ซึ่งมีสถานะปรับโครงสร้างหนี้แล้ว โดยมีอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นตั้งแต่ 3% ต่อปีขึ้นไป วงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาทและโครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) วงเงิน 15,000 ล้านบาท เพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร หรือเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน ที่ขยายจากกลุ่ม SMEs ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย(S-Curve) โดยเพิ่มกลุ่มที่เป็น Supply Chain และธุรกิจอื่น ๆ เข้ามา ผ่านธนาคารออมสินและธนาคารพาณิชย์ทั้ง 18 แห่ง อัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปี ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี วงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อราย

รักษาแรงงานได้ถึง 101,000 คน

รัฐบาลวางเป้าหมายว่า การอัดฉีดเม็ดเงินก้อนแรก 35,000 ล้านบาท เป็นของขวัญที่ไม่เพียงจะให้กับเอสเอ็มอีเท่านั้น แต่ “แรงงาน” ในธุรกิจเอสเอ็มอีจะได้รับประโยชน์ไปด้วย เพราะเมื่อสินเชื่อทั้ง 2 โครงการเริ่มสตาร์ตปล่อยเงินเข้าระบบทั้งหมดแล้ว จะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ประมาณ 17,600 ราย และสามารถรักษาการจ้างงานได้ไม่น้อยกว่า 101,000 คน สร้างเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้ประมาณ 320,600 ล้านบาท ภายในปี 2564

เปิดช่องรายที่เป็นหนี้ NPL

สำหรับ SMEs ที่จำเป็นต้องช่วยเหลือทันที คือกลุ่มที่น่าเป็นห่วงเพราะกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะติดเงื่อนไข จากสินเชื่อในโครงการอื่น ๆ แต่ในที่สุดแล้วรัฐก็หาทางออกโดยการให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เข้ามาขยายเวลาค้ำประกัน เเละปรับเงื่อนไขให้สถาบันการเงินปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ SMEs เพื่อให้ทำธุรกิจต่อไปได้

วาระแห่งชาติสำหรับ SMEs นี้คงไม่ใช่เรื่องของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ภาคเอกชนเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจเพราะต่างก็มียื่นเข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์ เป็น Bigbrotherพี่ช่วยน้อง ผ่านกิจกรรมทั้งการพัฒนาอบรม แต่สุดท้ายแล้วก็อยู่ที่ความตื่นตัวของ SMEs อีก ที่เราต่างก็พยายามให้เขาเหล่านี้ลุกขึ้นมาสู้อีกครั้ง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0