โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

3 โอเปอเรเตอร์ คว้าคลื่น 700 MHz คนละใบอนุญาต

Manager Online

อัพเดต 19 มิ.ย. 2562 เวลา 07.46 น. • เผยแพร่ 19 มิ.ย. 2562 เวลา 07.46 น. • MGR Online

3 โอเปอเรเตอร์ ลงตัว เลือกคลื่น 700 MHz คนละ 1 ชุดคลื่นความถี่ เสนอไม่ชนกัน รวมเป็นเงิน 56,000 ล้านบาท สร้างเม็ดเงินเข้ารัฐ 20,000 ล้านบาท หลังหักให้ทีวีดิจิทัล 36,000 ลัานบาท

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กสทช.) กล่าวว่า ผลการจัดสรรคลื่นความถี่ 700 MHz ที่นำมาจัดสรร จำนวน 30 MHz แบ่งจำนวนใบอนุญาตออกเป็น 3 ใบ (3 ชุดคลื่นความถี่) ใบอนุญาตละ 10 MHz ราคาการจัดสรรคลื่นความถี่อยู่ที่ 17,584 ล้านบาทต่อหนึ่งชุดใบอนุญาต

ปรากฏว่า บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล จำกัด (TUC) เลือกชุดที่ 1 ช่วงความถี่วิทยุ 703-713 MHz คู่กับ 758-768 MHz , บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) เลือกชุดที่ 2 ช่วงความถี่วิทยุ 713-723 MHz คู่กับ 768-778 MHz และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) เลือก ชุดที่ 3 ช่วงความถี่วิทยุ 723-733 MHz คู่กับ 778-788 MHz

สำหรับเงินประมูลที่ได้ รวมเป็นเงินประมาณ 56,000 ล้านบาท หลังหักเงินช่วยเหลือทีวีดิจิทัล 36,000 ล้านบาท จะเหลือเงินเข้ารัฐ 20,000 ล้านบาท โดยผู้ได้รับคลื่น 700 MHz จะชำระจำนวน 10 งวดๆ ละ เท่าๆกัน เริ่มชำระงวดแรก 15 ต.ค.2563 ใบอนุญาตมีอายุ 15 ปี

นายฐากร กล่าวว่า คลื่นความถี่ทั้ง 3 ชุดมีความน่าสนใจแตกต่างกัน ชุดที่ 1 เป็นชุดที่ทรู มีความร่วมมือกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในการให้บริการคลื่น 850 MHz อยู่ก่อนแล้ว ชุดที่ 2 เป็นชุดที่ดีที่สุดเพราะไม่อยู่ติดกับคลื่นของใครเลยจึงไม่มีการรบกวนแต่มีข้อจำกัดที่การขยายเพิ่มจะทำไม่ได้ ส่วนชุดที่ 3 เป็นชุดที่ติดกับคลื่นความถี่ที่ไมโครโฟนใช้งาน ในอนาคตสามารถประมูลเพื่อขยายคลื่นความถี่ได้

ส่วนเรื่องการบีบอัดสัญญาณทีวีดิจิทัลเพื่อเตรียมพร้อมให้โอเปอเรเตอร์ใช้คลื่น 700 MHz นั้น กสทช.ต้องให้ MUXทั้ง 4 ราย 5 โครงข่าย ได้แก่ ช่อง 5 มีจำนวน 2 โครงข่าย, อสมท มีจำนวน 1 โครงข่าย, เอ็นบีที มีจำนวน 1 โครงข่าย และ ไทย พีบีเอส มีจำนวน 1 โครงข่าย เป็นผู้ขยับช่องสัญญาณโดยจะเร่งให้เสร็จภายในเดือน ก.ค. 2563 โดย MUX จะต้องเสนอแผนการขยับช่องสัญญาณให้กสทช.ภายในเดือนส.ค. 2562 จากนั้นกสทช.จะยืมเงินจากกองทุนกสทช.ประมาณ 400 ล้านบาท ก่อน จากนั้นค่อยนำเงินจากที่ได้จากการประมูลมาคืน ตามประกาศ ม. 44 เพื่อให้กับ MUX นำไปบีบอัดช่องสัญญาณใหม่เพื่อให้เสร็จทันตามกำหนด

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0