โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

3 องค์กรปั้น ‘หมอ’ ยุคใหม่ เก่งรักษาพร้อมรับผิดชอบสังคม

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 18 ต.ค. 2562 เวลา 09.27 น. • เผยแพร่ 18 ต.ค. 2562 เวลา 09.25 น.
IMG_2273

แม้ว่าในแต่ละปีสถาบันการศึกษาจะเร่งผลิตบัณฑิตทางด้านการแพทย์มากมาย แต่ยังไม่สามารถรองรับความต้องการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยิ่งหากมองอนาคตแล้ว ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ “สังคมผู้สูงวัย” แบบเต็มตัว
ด้วยแล้ว ความต้องการแพทย์ยิ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นไปอีก วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ในฐานะสถาบันที่สร้างแพทย์เฉพาะทางที่มีคุณภาพ ร่วมกับมหาวิทยาลัยยูซีแอล สหราชอาณาจักร และโรงพยาบาลตำรวจ จึงเปิดหลักสูตร “แพทยศาสตรบัณฑิต 7 ปี” ในปีการศึกษา 2563 เป็นรุ่นแรกรวม 32 คน อัตราค่าเทอมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 200,000 บาท/ปี

 

ความพิเศษของหลักสูตรแพทยศาสตร์ดังกล่าว “ศ.นพ.นิธิ มหานนท์” เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ระบุว่าความพิเศษที่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ตรงที่ 1) เป็นการดำเนินการด้านหลักสูตรร่วมกันระหว่างราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กับมหาวิทยาลัยยูซีแอล สหราชอาณาจักร

2) ใช้เวลาเรียนเพิ่มเป็น 7 ปี จากเดิมที่เรียนแพทย์ต้องใช้เวลา 6 ปี

3) เรียนจบได้ “ดับเบิลดีกรี” คือ ปริญญาแพทยศาสตร์จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และปริญญาจากมหาวิทยาลัยยูซีแอล สหราชอาณาจักร

4) เมื่อเรียนชั้นปีที่ 4 ต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัยยูซีแอล รวมระยะเวลา 1 ปี

5) หลักสูตรได้ตามมาตฐานสากลที่ทั่วโลกให้การยอมรับ นักศึกษาสามารถไปเรียนต่อยังสถาบันเฉพาะทาง
อื่น ๆ ได้ทั่วโลก และ 6) มีความร่วมมือกับโรงพยาบาลตำรวจ เพื่อให้เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติรักษาผู้ป่วยอีกด้วย

“ทั้งรูปแบบการสอนไปจนถึงการประเมินนักศึกษาจะใช้รูปแบบใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ได้แพทย์ในแบบที่ประเทศ
ต้องการจริง ๆ มหาวิทยาลัยยูซีแอลจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงของหลักสูตรในช่วง 7 ปีแรก เพื่อให้การเรียนการสอนมีความเชื่อมโยง และเป็นเนื้อเดียวกัน นอกจากนี้ นักศึกษาจะต้องทำการวิจัย และแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ โดยจะเป็นการวิจัยทางการแพทย์ หรือการวิจัยในประเด็นที่เป็นปัญหาของสังคมก็ได้”

ขณะที่ “ศ.ดร.พญ.จิรายุ เอื้อวรากุล” คณบดีคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า ความร่วมมือกับพันธมิตร อื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศนั้น หลักสูตรได้ออกแบบให้มีความร่วมมือกับหลากหลายพันธมิตรอยู่แล้ว ซึ่งเป็นแนวคิดสมัยใหม่ที่การเรียนการสอนจะต้องตอบโจทย์กับโลกปัจจุบันมากขึ้น นั่นหมายถึงว่าจะต้องมีความร่วมมือทางการศึกษาที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้นักศึกษาเลือกเรียนในแบบที่ต้องการ ฉะนั้น จึงต้องมีการดำเนินการข้ามสาขา ข้ามศาสตร์ และยังมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ด้วย อย่างเช่น หลักสูตร Healt Data Science เป็นเรื่องของการใช้ big data เข้ามาช่วยเรื่องการดูแลสุขภาพในแวดวงสาธารณสุข ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาดำเนินการมาแล้วรวม 2 รุ่น โดยความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

“ทั้งยังจะมีความร่วมมือในรูปแบบของดับเบิลดีกรีอีก โดยจะเปิดอย่างเป็นทางการในปี 2564 ที่เรียกว่า Medical Innovation and Engineering หรือ MIE ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลีย เพื่อทำเรื่องนวัตกรรมทางการแพทย์ และทางวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนี้จะได้รับปริญญา 2 ใบเช่นกัน จากรูปแบบความร่วมมือข้างต้นนั้น ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้กำหนดเป็นแนวทางที่ชัดเจนสำหรับอนาคตแล้ว และเร็ว ๆ นี้อาจจะมีหลักสูตรใหม่ ๆ ที่มีความร่วมมืออีก 3-4 หลักสูตรเพิ่มเติมขึ้นด้วย”

“ส่วนวิธีการเลือกที่จะพัฒนาความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยใด ๆ ก็ตามนั้น ยกตัวอย่าง มหาวิทยาลัยยูซีแอล ทีมงานจะเข้าไปศึกษา เพราะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว อันดับท็อป 7 มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ 1 เปเปอร์ทุก 8 นาที นอกจากนี้ ยังเป็นกลุ่มที่ทำเรื่องแพทยศาสตร์ศึกษาอย่างจริงจัง ที่สำคัญคือไม่ได้
มุ่งเน้นแค่เพียงการวิจัยเท่านั้น เพราะจะต้องมีผู้รู้โครงการศึกษา ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ดีมาก จึงตัดสินใจที่จะ
ร่วมมือกันทำหลักสูตรร่วมกันด้วย และในหลักสูตรปริญญาโทนั้น ขณะนี้เรากำลังเตรียมความพร้อมที่จะพัฒนาร่วมกับพันธมิตรในหลักสูตรฟิสิกส์ทางการแพทย์ ในระดับปริญญาโทเพิ่มเติม”

“ศ.ดร.พญ.จิรายุ” กล่าวเพิ่มเติมถึงประเด็นที่ไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัยนั้น หลักสูตรที่มีอยู่ในปัจจุบันถือว่ารองรับสังคมผู้สูงวัยเอาไว้แล้ว นอกเหนือจากการเน้นดูแลสุขภาพแล้ว ยังนำ big data
พร้อมกับสร้างนวัตกรรมเพื่อใช้ดูแลสุขภาพและการรองรับผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน เป็นต้น สำหรับความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับนักศึกษาทั้ง 32 คนนั้น ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ผู้สอนล้วนมาจากมหาวิทยาลัยระดับท็อปของโลก เช่น สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นต้นซึ่งนอกเหนือจากความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของนักศึกษาแพทย์แล้ว ในหลักสูตรยังเน้นปลูกฝังให้แพทย์มีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย

……………………………..

“รพ.ตำรวจ” เทงบฯหนุนผลิตหมอ

รายงานเพิ่มเติมระบุว่า ตามแผนดำเนินการ 5 ปี (2562-2567) ของโรงพยาบาลตำรวจมีการเตรียมความพร้อมในการขยายความสามารถรองรับผู้ป่วย และเพื่อรองรับการผลิตแพทย์ร่วมกันกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ด้วย โดย”พล.ต.ท.วิฑูรย์ นิติวรางกูร” นายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำารวจ ระบุว่ามีแผนที่จะเพิ่มจำนวนบุคลากรในช่วงต่อจากนี้ รวม 750 คนในปีนี้จะรับบุคลากรเพิ่มอีก 300 คนโดยจำนวนดังกล่าวเป็นแพทย์รวม82 ตำแหน่ง ที่เหลือคือสหวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ รวมถึงพยาบาลที่เตรียมเข้าบรรจุอีก 70 คน/ปี และในปีถัดไปจะรับบุคลากรในภาพรวมอีก 350 คน

ขณะนี้อยู่ในระหว่างการรออนุมัติจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาตินอกจากนี้ตามแผน 5 ปี จะมีการลงทุนอีกราว 6,000-7,000 ล้านบาท เพื่อขยาย 2 อาคาร เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน การผ่าตัด ฯลฯ พร้อมทั้งมีการจัดตั้งมูลนิธิขึ้นมาใหม่ เพื่อจัดหาเงินบริจาคเพื่อใช้ในการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ การตกแต่งอาคาร รวมถึงใช้เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติของนักศึกษาแพทย์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์อีกด้วย เพื่อให้เด็กเข้ามาเรียนโดยเฉพาะทั้งยังมีห้องสมุด มีระบบไอทีรองรับ รวมถึงหอพัก และห้องสื่อการเรียนการสอนเฉพาะทาง เช่นอนาโตมี คอมพิวเตอร์ เป็นต้น รวมถึงยังอยู่ในระหว่างของบประมาณเพิ่มเติมจากกองสลาก เพื่อนำมาขยายศักยภาพในการรับผู้ป่วย และให้โรงพยาบาลตำรวจมีความเป็นเลิศและมีความเป็นสากลมากขึ้นอีกด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0