โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

3 เหตุผลสำคัญที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับค่าความดันโลหิตของตัวเอง

issue247.com

อัพเดต 30 ม.ค. 2562 เวลา 15.38 น. • เผยแพร่ 31 ม.ค. 2562 เวลา 00.00 น.

คุณต้องวัดความดันโลหิตทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ แต่ล่าสุดหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นครั้งแรกในรอบ 14 ปี จากหลักเกณฑ์ใหม่ชี้ว่าใครก็ตามที่มีค่าความดันโลหิตมากกว่า 130/80 จะถูกพิจารณาว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ระดับความดันโลหิตปกติยังไม่เปลี่ยนแปลง..ยังเท่ากับ 120/80 อยู่ ตัวเลขด้านบนจะอ้างอิงถึงความดันโลหิตซีสโตลิค (เมื่อหัวใจสูบฉีดเลือดเข้าสู่หลอดเลือด) และตัวเลขด้านล่างคือค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค (เมื่อหัวใจพักคลายตัว) ก่อนหน้านี้ค่าความดันโลหิตซีสโตลิคจะอยู่ระหว่าง 120-139 แต่จะไม่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงจนกระทั่งถึง 140/90 แต่สำหรับหลักเกณฑ์ใหม่ผู้ที่มีค่าความดันโลหิตซีสโตลิคระหว่าง 130-139 หรือค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิคระหว่าง 80-89 จะถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 ขณะที่ค่าความดันโลหิต 140/90 จะเข้าสู่โรคความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 และค่าความดันโลหิต 180/120 จะกลายเป็นโรคความดันโลหิตสูงวิกฤต

 

นี่คือแผนผังจากสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา

Photo Credit : www.heart.org

ค่าความดันโลหิตคือตัวบ่งชี้สุขภาพที่สำคัญมากสำหรับคุณและแพทย์ทั้งหลาย แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะสร้างความสับสนเล็กน้อยแต่ก็คุ้มค่าที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจค่าความดันโลหิตของตัวเอง

1

โรคความดันโลหิตสูงไม่มีอาการปรากฏอย่างเห็นได้ชัดเสมอไป ในกรณีที่หายากโรคความดันโลหิตสูงอาจส่งผลให้มีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ปวดศีรษะ หรือเลือดกำเดาไหล ทว่าในกรณีส่วนใหญ่กลับไม่แสดงอาการใดๆเลยซึ่งนี่แหละคือเพชฌฆาตเงียบตัวจริง อย่างไรก็ตามเป้าหมายคือการอ่านค่าทั้งในที่ทำงานและที่บ้าน ทางที่ดีคุณควรอ่านค่าในตอนกลางคืนเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนก่อนที่จะไปเข้ารับการตรวจ

2

โรคความดันโลหิตสูงคือต้นเหตุของโรคหัวใจและถ้าปล่อยไว้ไม่รักษาก็จะทำให้อวัยวะอื่นๆเสียหายตามไปด้วย โรคความดันโลหิตสูงคือปัจจัยเสี่ยงสำหรับหลายๆโรค เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจวาย อาการเลือดออกในสมอง และไตวายซึ่งอาจต้องเข้ารับการฟอกไตในที่สุด เหตุใดจึงส่งผลกระทบรุนแรงขนาดนั้น? เพราะทุกครั้งที่หัวใจสูบฉีดก็จะสูบฉีดด้วยแรงดันสูงซึ่งหมายความว่าหัวใจต้องทำงานหนักมากจนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาและสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพยากขึ้นกว่าเดิม

3

คุณสามารถรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้จากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อค่าความดันโลหิตของคุณอยู่ที่ 120-129/80 คุณยังไม่จำเป็นต้องรีบเข้ารับการรักษาแต่แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้เปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์บางอย่างเช่น การรับประทานอาหาร การงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเพิ่มระดับการออกกำลังกาย เป็นต้น เมื่อตัวเลขเริ่มสูงขึ้นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตก็กลายเป็นสิ่งจำเป็นรวมถึงคุณอาจต้องรับประทานยาควบคู่ด้วย แต่จุดประสงค์ของหลักเกณฑ์ใหม่นี้ก็เพื่อป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นโดยการเน้นย้ำถึงการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ผู้ป่วยสามารถควบคุมค่าความดันโลหิตของตัวเองได้โดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากนี้คุณยังควรฝึกวัดค่าความดันโลหิตของตัวเองที่บ้านด้วย อย่างไรก็ตามหากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความดันโลหิตหรือวิธีวัดก็ควรปรึกษาแพทย์และอย่าประเมินความสามารถในการดูแลสุขภาพของตัวเองต่ำเกินไป

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0