โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

3 อาการ โปรดซิสอย่ามองข้าม! อาจเป็น "ต่อมทอนซิลอักเสบ" ได้ไม่รู้ตัว

SistaCafe

อัพเดต 25 มี.ค. 2562 เวลา 05.24 น. • เผยแพร่ 25 มี.ค. 2562 เวลา 05.24 น. • Chompl Namchan

หั่นนนโหล…สวัสดีค่าชาวซิสทุก ๆ คน หลังจากที่ทั้งเรียน ทั้งทำงานกันอย่างหนักหน่วง ได้ดูแลสุขภาพร่างกายกันบ้างหรือเปล่าเอ่ย??? คง ไม่ได้ดูแลกันเลยใช่ไหมล่ะ นี่บางคนแอบมีอาการแปลก ๆ เหมือนจะเป็นไข้ด้วย… เสียงแหบ เสียงแห้ง ปวดเนื้อปวดตัว เอาละๆ วันนี้ทางเรามีวิธีสังเกตมาฝากกันกับโรค " ต่อมทอนซิลอักเสบ " ใครอยากรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงรึเปล่า ตามมาดูกันเลยจ้าาาา..

ต่อมทอนซิลอักเสบ เป็นอาการอักเสบที่เกิดจากต่อมทอนซิลคู่ขวาและซ้ายหรือช่วงใกล้ ๆ กับโคนลิ้นที่อยู่ในลำคอ ทำให้เราเกิดอาการเจ็บ ยิ่งไปกว่านั้นแล้วยังทำให้กลืนกินอาหารได้ลำบากมาก

ต่อมทอนซิลคืออะไร ???

ต่อมทอนซิลนั้นเป็นต่อมทำงานเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของเราโดยตรง อยู่ในกลุ่มประเภท" น้ำเหลือง " จะกระจายอยู่ไปทั่วช่องปาก ชัดที่สุดคือ โพรงจมูกและโคนลิ้น

หน้าที่ของต่อมทอนซิล???

ช่วยป้องกันเชื้อโรคเข้าไปทำลายระบบภายใน ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินอาหาร หรือระบบทางเดินหายใจ แต่เมื่อไหร่ที่ต่อมทอนซิลถูกเล่นงานโดยเชื้อโรคต่อมทอนซิลก็อาจมีการอักเสบได้



สาเหตุที่เกิดต่อมทอนซิลอักเสบ

ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อและผู้ที่มีอาการนี้บ่อย หรือชนิดเรื้อรัง อาจมาจากไซนัสอักเสบ ฟันผุ ซึ่งเชื้อนั้นจะถูกปะปนอยู่กับน้ำลาย และอากาศที่เราหายใจเข้าออก รวมไปถึงการสัมผัสกับสิ่งสกปรก ก็นับเป็นสิ่งที่ควรระมัดระวังเลยค่ะ

1. เจ็บคอ

เป็นอาการเริ่มต้นที่สังเกตได้ชัดเจนกว่า ไม่เพียงแค่เป็นอาการเจ็บคออย่างเดียวแต่อาจทำให้กลืนอาหารได้ยาก กินน้ำได้ลำบาก กลืนน้ำลายไม่ค่อยได้ เพราะมีอาการเจ็บคอที่ว่าด้วย

2. มีไข้สูง/ต่ำ

การที่มีไข้สูงหรือต่ำนั้นขึ้นอยู่กับเชื้อด้วย ถ้ามีอาการหนาวสั่น น้ำมูกใส  ปวดหัว อาจมากับเชื้อแบคทีเรีย ที่ค่อนข้าง แรงกว่าเชื้อไวรัสที่มีอาการ อ่อนเพลีย น้ำมูกใส

 

3. ปวดหู

คำอธิบายรูปภาพ
คำอธิบายรูปภาพ

หลายคนอาจมีอาการปวดร้าวที่หู แน่นอนว่าอาการปวดหูมักเกิดขึ้นไม่บ่อย แต่กับโรคต่อมทอนซิลแล้วมักมีเอี่ยว นอกจากจะมีอาการอักเสบที่คอแล้วหูก็จะถูกกระทบไปด้วย เพราะต่อมทอนซิลเป็นอวัยวะที่เชื่อมด้วยท่อจากคอไปถึงหูนั่นเอง 

วิธีป้องกันโรคต่อมทอนซิลอักเสบ

การล้างมือ ที่สะอาดอาจเป็นเรื่องที่ใช่ที่สุดเพราะความสกปรกอาจมาจากนิ้วมือ หรือ ฝ่ามือ ของเราก่อนจะนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและเกิดเป็นต่อมทอนซิลได้

รับประทานยา หากเริ่มมีอาการเจ็บคอนิด ๆ แนะนำให้รับประทานยาฆ่าเชื้อเพื่อไปลดอาการอักเสบ ที่ถ้าปล่อยไว้ก็อาจจะเป็นหนักและหายช้า ทางที่ดีที่สุดรักษาอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ  เลยจะดีที่สุดค่ะ

สำหรับเรื่องโรคต่อมทอนซิลอักเสบที่เกิดขึ้นภายในแล้ว แน่นอนเลยว่าเราไม่สามารถชี้ชัดได้ในระยะทันทีว่านั้นคือ " โรคต่อมทอนซิล " จนเมื่อได้รอดูอาการอย่างต่อเนื่อง ทานยาแก้ปวดแล้วก็ไม่ดีขึ้น จนได้รู้จากหมอว่าไม่ใช่อาการป่วยธรรมดา  ซึ่งปัญหาของโรคนี้อาจมีผลจากการพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้
หากว่าชาวซิสคนไหนที่กำลังมีอาการทั้ง 3 นี้ ต้องรีบแก้ไข และดูแลตัวเองด้วยนะคะ อย่างน้อยๆ อาการเหล่านี้อาจบ่งบอกให้รู้ก่อนที่จะเป็นหนักจนแก้ลำบาก วันนี้ขอตัวลาไปก่อน รักษาสุขภาพกันด้วยน้า แล้วเจอกันใหม่คราวหน้าค่า

ติดตามบทความใหม่ๆได้ที่ SistaCafe Facebook
SistaCafe เว็บไซต์รวบรวมบทความสำหรับผู้หญิง https://sistacafe.com
♥ ดาวน์โหลด App SistaCafe ฟรีได้แล้ววันนี้! ♥
iOS : AppStore
Android : PlayStore

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0