โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

22 กันยายน 2431 พิธีเปิดรถรางในสยาม

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 25 ก.ย 2566 เวลา 02.55 น. • เผยแพร่ 21 ก.ย 2566 เวลา 23.58 น.
ภาพปก - รถราง
งานพิธีเปิดรถรางไฟฟ้าในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ภาพจากหนังสือ

จากคำบอกเล่าของ เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูร ในหนังสือเมืองไทยในอดีต, จอห์น ลอฟตัส ชาวเดนมาร์ก ได้ขอสัมปทานจัดการ “รถราง” ขึ้นในสยาม เมื่อ พ.ศ. 2430 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้ลอฟตัสดำเนินงานได้

จอห์น ลอฟตัส ได้ทำพิธีเปิดเดินรถรางเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2431 โดยใช้ม้าลากไปตามราง จุดขายสำคัญของรถรางคือความสะดวกสบาย ไม่สะเทือนเหมือน “รถเจ๊ก” (คำที่ เพิ่มศักดิ์ ใช้เรียก “รถลาก”) แต่ก็มีปัญหาเรื่องการใช้งานม้าหนักจนหมดแรงหลายครั้ง

“แม้จะมีระยะสับเปลี่ยนม้าอย่างว่า แต่ม้าก็ทนไม่ไหว ถึงจะได้พักผ่อนบ้างแต่ก็น้อย เพราะประเดี๋ยวรถคันหลังก็ตามมาเปลี่ยนเสียอีก ม้าลากรถรางจึงผอมโซ เคยมีอันเป็นต้องล้มลงกลางทางเสมอ เพราะหมดแรงไปไม่ไหว” เพิ่มศักดิ์กล่าว

เพิ่มศักดิ์กล่าวว่า จอห์น ดำเนินกิจการได้ไม่นานก็โอนกิจการให้บริษัทบางกอกแทรมเวย์คอมปะนีลิมิเต็ด และในปี 2435 กิจการก็ถูกขายต่อให้กับบริษัทสัญชาติเดนมาร์ก (ไม่ทราบชื่อ) อีก โดยบริษัทหลังนี้ได้หยุดกิจการชั่วคราว เพื่อเปลี่ยนไปใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยกระแสไฟฟ้าแทน

โดยตกลงเช่ากระแสไฟฟ้าจากบริษัทอีเลคทริคซิตี้คอมปะนีลิมิเต็ด และเริ่มเดินรถรางไฟฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนพฤษภาคมพ.. 2437 ทำให้ไทยมีรถรางไฟฟ้าใช้ก่อนหน้าประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำหลายประเทศ

กิจการ รถราง เมื่อเริ่มใหม่ๆ ก็เป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป แต่ด้วยแรกทีเดียวกรุงเทพฯ ยังมีประชากรน้อย คนใช้ก็ไม่มาก กิจการจึงล้มลุกคลุกคลานเปลี่ยนมือหลายครั้ง ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 เล็กน้อยเมื่อมีผู้คนในพระนครมากขึ้นกิจการรถรางจึงกระเตื้องขึ้นมาก

แต่เมื่อพ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางเลือกในการคมนาคมมากขึ้น รถรางก็เสื่อมความนิยม และยกเลิกไปในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2511

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 22 กันยายน 2561

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0