โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

20 ข้อเพื่อ “มารยาทดี” หนู ๆ ควรมีก่อน 9 ขวบ

Motherhood.co.th

เผยแพร่ 15 ธ.ค. 2562 เวลา 04.00 น. • Motherhood.co.th Blog
20 ข้อเพื่อ “มารยาทดี” หนู ๆ ควรมีก่อน 9 ขวบ

20 ข้อเพื่อ "มารยาทดี" หนู ๆ ควรมีก่อน 9 ขวบ

เป็นสิ่งที่รู้กันว่าเด็ก "มารยาทดี" นั้นย่อมเป็นที่รักแก่คนรอบข้าง และยังสร้างความน่าเอ็นดูให้แก่ผู้พบเห็น ซึ่งผู้ที่จะปลูกฝังความมีมารยาทดีให้กับเด็กได้ก็หนีไม่พ้นคนเป็นพ่อแม่นั่นเอง วันนี้ Motherhood จะพามาดูว่ากันว่ามีมารยาทเรื่องใดบ้างที่จำเป็นสำหรับเด็ก ๆ ที่ควรฝึกไว้

ทำไมต้องฝึกมารยาท?

หลาย ๆ ครั้ง การทำตัวผิดมารยาทของเด็กอาจจะไม่ได้เกิดจากความจงใจเสมอไป เพราะเด็ก ๆ อาจจะยังไม่รู้ว่าการพูดขัดจังหวะ การแคะจมูก หรือการชี้ชวนเสียงดังเมื่อสังเกตว่าผู้หญิงที่เดินผ่านไปมีช่วงล่างขนาดใหญ่ และด้วยความเร่งรีบของชีวิตประจำวัน ทำให้พ่อแม่ผู้มีงานรัดตัวไม่มีเวลาจะสนใจในการขัดเกลาเรื่องมารยาทให้ลูกเท่าไรนัก เพียงแต่คุณให้ลูกทำตามทั้ง 25 ข้อนี้ รับรองเลยว่าเขาจะเป็นเด็กมารยาทดี ที่ใครเห็นเป็นต้องรักใคร่ชื่นชม

คำพูดที่ดีต้องฝึกไว้ให้ติดปาก
คำพูดที่ดีต้องฝึกไว้ให้ติดปาก
  • เวลาให้ทำอะไรให้ต้องกล่าวขอบคุณเสมอ
  • ไม่พูดแทรกระหว่างที่ผู้ใหญ่พูดกัน หากไม่มีเรื่องด่วน
  • หากต้องการได้รับความสนใจ วลีที่ว่า "ขอโทษค่ะ/ครับ" เป็นวิธีที่สุภาพที่สุดที่จะเข้าสู่การสนทนา
  • เมื่อมีความสงสัยเกี่ยวกับการทำอะไร ให้ขออนุญาตก่อน
  • อย่าแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของผู้อื่น เว้นแต่ว่าเป็นการชมเชยพวกเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็ยินดีเสมอ
  • เมื่อมีคนถามว่าสบายดีไหม ให้บอกพวกเขาและถามกลับว่าพวกเขาเป็นอย่างไร
  • เมื่อมีโอกาสใช้เวลาอยู่ที่บ้านเพื่อน อย่าลืมขอบคุณพ่อแม่ของเขาหรือเธอที่ให้คุณแวะไปหาและขอบคุณสำหรับช่วงเวลาที่ดีที่นั่น
  • เคาะประตูที่ปิดอยู่ และรอฟังเสียงตอบเสมอ ก่อนจะเปิดเข้าไป
  • เมื่อโทรศัพท์ ให้แนะนำตัวเองก่อน แล้วถามว่าจะสามารถพูดคุยกับคนที่โทรหาได้หรือไม่
  • ชื่นชมและพูดว่า "ขอบคุณ" สำหรับของขวัญใด ๆ ที่ได้รับมา
  • อย่าใช้ภาษาหยาบคายต่อหน้าผู้ใหญ่
  • อย่าเรียกคนอื่นด้วยชื่อหรือฉายาที่ไม่ดี
  • อย่าล้อเลียนคนอื่น ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม การล้อเลียนแสดงให้คนอื่นเห็นว่าเราอ่อนแอและการรวมกลุ่มกันเพื่อล้อเลียนคนอื่นนั้นโหดร้าย
  • เมื่อเดินชนผู้อื่น ให้พูดขอโทษเสมอ
  • ปิดปากของคุณเมื่อคุณไอหรือจาม และไม่แคะจมูกในที่สาธารณะ
  • หากคุณเจอพ่อแม่ ครู หรือเพื่อนบ้านทำงานอะไร ให้ลองถามว่าเราสามารถช่วยได้หรือไม่
  • เมื่อผู้ใหญ่ขอความช่วยเหลือ ให้ทำโดยไม่บ่นและมีท่าทียิ้มแย้ม
  • ใช้ช้อนส้อมกินอย่างเหมาะสม หากไม่แน่ใจว่าควรทำเช่นไร ขอให้ผู้ปกครองสอนหรือดูว่าผู้ใหญ่ใช้มันอย่างไร
  • ไม่เอื้อมมือหยิบของผ่านหน้าผู้อื่นบนโต๊ะอาหาร หากต้องการใช้ ขอให้เขาหยิบส่งให้
  • ไม่ยืนบังทาง ในเวลาที่ผู้อื่นกำลังชมโทรทัศน์หรือการแสดงสดใด ๆ อยู่
ไม่ล้วงแคะแกะเการ่างกายในที่สาธารณะ
ไม่ล้วงแคะแกะเการ่างกายในที่สาธารณะ

สอนมารยาทอย่างไรให้ได้ผล?

  • ให้คนอื่นจัดการ

บางครั้งเด็ก ๆ อาจฟังคนอื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่ ค้นหาจากเพื่อน ครอบครัว และครู ที่จะให้การสนับสนุนได้ อธิบายว่าทำไมคุณต้องการบังคับใช้กฎบางอย่างและกระตุ้นให้พวกเขาทำเป็นตัวอย่างให้เห็น เพื่อฝึกฝนมารยาทตามแบบที่สังคมยอมรับ หากลุงของเด็ก ๆ มาร่วมมื้ออาหารค่ำด้วยแล้วเรอออกมาอย่างไม่ตั้งใจ ลองให้เขาพูดว่า "ขอโทษนะ" ถ้าลูกของคุณกระโดดเล่นบนโซฟาที่บ้านคุณยาย ขอให้คุณยายอธิบายว่าการกระโดดบนเฟอร์นิเจอร์นั้นไม่สุภาพ นี่แสดงให้เห็นว่าผู้ส่งสารที่แตกต่างกันจะมีประสิทธิภาพมากกว่าคนที่คอยพูดให้ได้ยินตลอดเวลา

  • ใช้ภาษาที่เป็นบวก

บอกลูก ๆ ของคุณถึงประโยชน์ทั้งหมดที่พวกเขาจะได้รับจากการมีมารยาททางสังคมที่ดี เช่น จะได้รับเชิญไปปาร์ตี้ที่บ้านเพื่อนมากขึ้น ไปจนถึงการประสบความสำเร็จมากขึ้นในการได้รับสิ่งที่ต้องการเมื่อพูดกับผู้อื่น รวมถึงเมื่อพูดกับผู้ใหญ่ ภาษาเชิงยืนยันเป็นแรงจูงใจที่ดีกว่าภาษาเชิงลบอยู่เสมอ ใช้คำพูดที่ดี เช่น ความสนุก ตื่นเต้น และให้รางวัล แทนการใช้คำพูดประเภท เบื่อ น่าเบื่อ หรือไร้สาระ

  • สร้างสถานการณ์สมมติ

เตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ลูกของคุณจำเป็นต้องแสดงมารยามอย่างเหมาะสม แกล้งทำเป็นว่าคุณได้พบใครบางคนเป็นครั้งแรกและทักทายกัน แสดงสถานการณ์สนามเด็กเล่นซึ่งเด็ก ๆ กำลังเล่นชิงช้าอยู่นานเกินไปโดยไม่สนใจเด็กคนอื่นที่กำลังรออยู่ แสดงให้เห็นว่าคุณจะขอให้เด็ก ๆ แบ่งคนอื่นเล่นอย่างสุภาพอย่างไร หรือแกล้งทำเป็นว่าคุณทั้งคู่กำลังจับจ่ายซื้อของที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต และให้ลูกฝึกพูดว่า "ขอโทษนะ" ถ้าเขาต้องการผ่านทางใครซักคนตรงทางเดิน ด้วยการฝึกฝนเหล่านี้ ลูกของคุณจะมีความมั่นใจในการเข้ากับสถานการณ์ใด ๆ ที่ต้องการความมีมารยาทและความสุภาพ

  • ลองไอเดียใหม่ ๆ ของลูก

มองหาโอกาสในการเรียนรู้อยู่เสมอ ชี้ให้ลูกเห็นถึงสถานการณ์ที่มีคนแสดงมารยาทไม่เหมาะสม ให้ถามเขาในสิ่งที่เขาคิดว่าควรทำแตกต่างออกไป อภิปรายสถานการณ์ต่าง ๆ และให้ลูกของคุณให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีที่เขาจะแสดงออกในแบบที่แตกต่าง ถามถึงคำพูดที่เขาสามารถใช้เพื่อแสดงความเคารพและสุภาพเมื่อพูดคุยกับผู้ใหญ่ เช่น คุณครู สมาชิกในครอบครัว หรือคนแปลกหน้า ขอให้ลูกของคุณแบ่งปันความคิดของเขากับคุณ แล้วสนับสนุนให้เขานำไปใช้โดยเร็วที่สุด รวมทั้งขอให้เขารายงานถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและถ้าได้รับผลลัพธ์เป็นบวก

มารยาทบนโต๊ะอาหารก็สามารถหัดได้แต่เด็ก
มารยาทบนโต๊ะอาหารก็สามารถหัดได้แต่เด็ก
  • เล่นเกมเล็ก ๆ น้อย ๆ

ลองเล่นเกมสนุก ๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกรู้สึกดีกับการฝึกมารยาท เช่น ทำตั๋วเล็ก ๆ ที่เขียนรายการมารยาทบนโต๊ะอาหาร ใช้ช้อนส้อมกินให้ถูกต้อง เคี้ยวอาหารโดยปิดปาก เมื่อเด็กคนลูกของคุณมีมารยาทในการร่วมโต๊ะอาหารค่ำอย่างสุภาพ เขาหรือเธอจะได้รับตั๋วใบนั้นไป ใครก็ตามที่ได้รับรางวัลมากที่สุดจะได้ฟังนิทานก่อนนอน

  • ฝึกซ้อมเพื่อความสมบูรณ์แบบ

กุญแจสำคัญในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ คือการทำซ้ำ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญในการฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำอีก ยืนยันให้เขาพูดว่า "ได้โปรด" และ "ขอบคุณ" ด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่องการฝึกฝนซ้ำ ๆ ลูกของคุณจะรวมเอามารยาทที่ดีเหล่านี้เข้ากับชีวิตประจำวันของเขาได้เป็นอย่างดี

เรื่องการฝึกมารยาทให้เด็ก ๆ ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นมากนะคะ ยิ่งรีบฝึกไว้ตั้งแต่เด็กก็จะยิ่งดี เด็ก ๆ เป็นวัยที่กำลังจำและเรียนรู้สิ่งที่ถูกต้องได้มากค่ะ คุณพ่อคุณแม่อย่ามัวแต่ยุ่งกับเรื่องงานจนหลงลืมที่จะเข้มงวดเรื่องมารยาทนะคะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0