โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

กว่า 500 ปีก่อน ชุมชนเก่าแก่ของกรุงเทพฯ อยู่ที่ไหนบ้าง ?

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 02 ต.ค. 2566 เวลา 02.45 น. • เผยแพร่ 30 ก.ย 2566 เวลา 01.10 น.
ภาพปก-เจ้าพระยา
แผนที่แสดงย่านเก่าริมแม่น้ำ (เจ้าพระยา) เก่าผ่านบริเวณบางกอกก่อนขุดคลองลัด

ชุมชนเก่าแก่ หมู่บ้านแรกเริ่มที่เก่าแก่ที่สุดของ กรุงเทพฯ มีเมื่อราวเรือน พ.ศ. 2000 ชุมชนเหล่านั้นมีชื่ออยู่ในโคลงกําสรวลสมุทร (ที่เข้าใจผิดว่าเป็น กําสรวลศรีปราชญ์) วรรณคดีเก่าแก่ยุคนั้น

ระหว่าง พ.ศ. 2031-72 มีเจ้านายพระองค์หนึ่งเสด็จทางเรือจาก พระนครศรีอยุธยาลงไปตามลําแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านบริเวณกรุงเทพฯ ไปออก ทะเลอ่าวไทย แล้วมีพระราชนิพนธ์โคลงดั้นพรรณนาอย่าง “นิราศ” เรียกกันว่า กําสรวลสมุทร พาดพิงชื่อบ้านนามเมืองสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ผ่านไปไว้ด้วย มีชื่อ ชุมชนเก่าแก่ หมู่บ้านแรกเริ่มเก่าแก่ที่สุดของกรุงเทพฯ อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกบาง หมายถึงทางน้ำเล็กๆ ที่ไหลเชื่อมกับทางน้ำใหญ่กว่า แล้วเรียกชุมชนตั้ง อยู่ตรงปากทางน้ำที่เชื่อมกันว่าบาง มีรายชื่อต่อไปนี้

บางเขน ชื่อนี้ไม่ใช่เขตบางเขน กรุงเทพฯ ปัจจุบัน หากเป็นบางเขนที่อยู่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้ายเหนือสะพานพระราม 6 แต่ใต้วัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี บริเวณนี้มีคลองแยกไปทางตะวันออก เรียกคลองบางเขน

บางกรูด อยู่ใต้บางเขนลงมา แต่หาร่องรอยไม่ได้ว่าอยู่ตรงไหน รู้แต่ว่า น่าจะมีต้นมะกรูดขึ้นเป็นป่า

บางพลู อยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำ ใต้บางกรูด ถัดลงมาทางใต้สะพาน พระราม 6 และใต้บางพลัด มีวัดบางพลูเป็นร่องรอยอยู่ ย่านนี้เห็นจะปลูกพลู ไว้กินกับหมากเต็มไปหมด

ฉมังราย อยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำ ทางใต้สะพานซังฮี้ลงมา ชื่อนี้เรียกกันภาย หลังต่อมาว่าสมอราย มีวัดสมอรายตั้งอยู่ (ปัจจุบันคือวัดราชาธิวาส) คําเดิมว่า ฉมังราย จะเป็นคํามอญหรือคําเขมรยังไม่รู้ แต่กวีพรรณนาว่าย่านนี้เป็นหลัก แหล่งของชาวประมงแม่น้ำ ใช้อวนหาปลาในแม่น้ำ

บางระมาด ปัจจุบันอยู่ในคลองบางกอกน้อย แต่ยุคนั้นคือแม่น้ำเจ้า พระยา (สายเก่า) ที่ไหลคดเป็นรูปโค้งเกือกม้า ชื่อระมาดเป็นคําเขมรแปลว่าแรด คงจะมีแรดชุกชุมอยู่แถบนั้น หรือจะหมายถึงอย่างอื่นก็ไม่รู้ ย่านนี้เป็นเรือกสวน มีกล้วย อ้อย และผักต่างๆ มีชาวสวนตั้งหลักแหล่งเรียงรายรวมทั้งมีตลาดด้วย

บางฉนัง ปัจจุบันเรียกเพี้ยนเป็นบางเชือกหนัง อยู่ในคลองบางกอกน้อย ยังมีคลองบางเชือกหนังอยู่ฝั่งขวา ใต้คลองบางระมาด ชื่อฉนังเป็นคําเขมร แปล ว่าหม้อ น่าเชื่อว่าชุมชนนี้มีอาชีพปั้นหม้อขาย ถ้าแปลความหมายต้องเรียก บางปั้นหม้อ หรือบางหม้อ

ย่านนี้เป็นเรือกสวนหนาแน่น เพราะกวีพรรณนามาก่อนว่าสองฝั่งแม่น้ำ เต็มไปด้วยสวนผลไม้ มีมะม่วง ขนุน มะปราง ฯลฯ สวนถัดๆ ไปยังมีหมาก มะพร้าว เต็มไปหมด พวกแม่ค้าชาวบ้านที่กวีระบุว่าเป็นพวกลาว ต่างทําขนม แล้วเอาผลหมากผลไม้มาขาย แสดงว่าสมัยนั้นเป็นชุมชนใหม่แล้ว

บางจาก อยู่ฝั่งขวา ใต้บางเชือกหนัง

บางนางนอง เมื่อกวีล่องเรือตามแม่น้ำ (เดิม) ถึงคลองบางกอกใหญ่ ได้ เลี้ยวขวาเข้าคลองด่าน (ตรงวัดปากน้ำภาษีเจริญ) มุ่งไปทางบางขุนเทียน ผ่าน ตําบลบ้านแห่งหนึ่ง คือบางนางนอง ปัจจุบันมีวัดนางนองตั้งอยู่ริมคลอง บรรยากาศของสองฝั่งคลองด่านย่านบางนางนองยังเป็นเรือกสวนหนาแน่นโดย เฉพาะสวนหมาก

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 17 มิถุนายน 2562

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0