โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

13 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา

Dailygizmo

เผยแพร่ 18 ก.พ. 2563 เวลา 07.23 น. • DailyGizmo admin

ช่วงนี้ไวรัสโคโรนาระบาดทำให้มีการปล่อยข้อมูลผิดๆออกมาบนโลกโซเชียลว่าทำอย่างโน้นอย่างนี้แล้วจะไม่ติด ร้อนถึงองค์การอนามัยโลกต้องออกมาประกาศว่าทำ 13 เรื่องที่ทำแล้วไม่ติดเชื้อนั้นไม่เป็นความจริง

1. เครื่องเป่ามือไม่สามารถฆ่าไวรัสโคโรนา

มีคนแชร์ข้อมูลว่า ถ้าเราใช้ลมร้อนจากเครื่องเป่ามือ อังเป็นเวลา 30 วินาทีจะช่วยกำจัดไวรัสที่เกาะอยู่ที่มือของเราได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วเครื่องเป่ามือที่ใช้ลมร้อนที่ติดตั้งอยู่ตามห้องน้ำนั้น ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้เลย ทาง WHO บอกว่าสิ่งที่เราควรทำก็คือควรล้างและทำความสะอาดมืออยู่บ่อยๆด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาด เมื่อมือสะอาดแล้วค่อยเช็ดให้เห็นด้วยผ้า, กระดาษชำระหรือเครื่องเป่ามือ

2. เครื่องฆ่าเชื้อ UV ไม่สามารถทำความสะอาดผิวหนังได้ 

หลอดไฟ UV ไม่สามารถทำความสะอาดฆ่าเชื้อผิวบนหนังได้ นอกจากนั้นยังทำให้ผิวหนังเกิดอาการคันได้อีก ยิ่งใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานๆก็เสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งอีก เพราะมันก็คือแสง UV แบบเดียวกับที่อยู่ในแสงอาทิตย์ มันสามารถทำอันตรายได้ลงลึกถึงระดับเซลล์และ DNA  ส่วนใหญ่ทางโรงพยาบาลจะใช้แสง UV ในการฆ่าเชื้อโรคที่ติดอยู่ที่อุปกรณ์มากกว่าการนำมาใช้กับคน

3. กินกระเทียมไม่ได้ช่วยป้องกันไวรัสโคโรนา

กระเทียมถือเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพราะมีคุณสมบัติเป็นยาต้านจุลชีวภาพ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐายยืนยันว่ากินกระเทียมแล้วจะช่วยป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัสได้

4. น้ำมันงาไม่ได้ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อโคโรนาเข้าสู่ร่างกาย

น้ำมันงาถือเป็นส่วนผสมของอาหารเอเชีย มีคนแชร์ว่าถ้าเอาน้ำมันงามาทาที่ผิวหนังจะช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสโคโรนาเข้าสู่ร่างกายได้ ทาง WHO บอกว่า นี่คือข้อมูลที่ผิด น้ำมันงาไม่สามารฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาได้ นอกจากนั้นการติดเชื้อนั้นไม่ได้เกิดจากทางผิวหนังแต่จะมาจากสารคัดหลั่งผ่านเข้าทางปากหรือจมูก รวมถึงการหายใจเอาไวรัสเข้าไป

5. พ่นสเปรย์แอลกอฮอล์บนร่างกายไม่ช่วยฆ่าไวรัส 

เมื่อ COVID-19 เข้าสู่ร่างกายแล้วการพ่นสเปรย์แอลกอฮอล์หรือคลอรีนบนผิวหนังไม่ได้ช่วยอะไรเลย ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าเมื่อเราสัมผัสผิวหน้าของวัตถุต่างๆที่มีไวรัส พอมาโดนตา, จมูกหรือปากแล้วจะติดเชื้อ

สารเคมีที่สามารถกำจัดเชื้อโคโรนาได้ก็มีพวกน้ำยาฟอกขาวหรือคลอรีนซึ่งทาง WHO ไม่แนะนำให้นำมาใช้กับผิวหนังของคนเพราะทำให้เกิดอันตรายได้

6. เครื่องสแกนอุณหภูมิร่างกายไม่สามารถตรวจจับคนที่ติดเชื้อได้ทุกคน

เครื่องสแกนอุณหภูมิร่างกายที่ใช้งานตามสนามบินนั้น ส่วนใหญ่จะใช้ตรวจจับคนที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงเกินปกติ ในบางกรณีอาจจะไม่ได้ติดเชื้อโคโรนาก็ได้ อาจจะป่วยเป็นไข้ธรรมดา นอกจากนั้นคนที่ที่อยู่ในระยะฟักเชื้อ 14 วันร่างกายจะไม่แสดงอาการผิดปกติออกมาจึงทำให้การตรวจสอบทำได้ยาก

7. จดหมายหรือกล่องพัสดุจากจีนไม่เป็นพาหหะเชื้อโคโรนา

ทาง WHO ออกมายืนยันว่าจดหมายหรือพัสดุที่ส่งมาจากจีนนั้นปลอดภัย เพราะเชื้อไวรัสนั้นไม่สามารถมีชีวิตอยู่บนวัตถุต่างๆได้นาน ยิ่งการเดินทางระหว่างประเทศใช้เวลานาน เมื่อโดนอากาศและความร้อนก็จะค่อยๆตายไปเอง

8. สัตว์เลี้ยงไม่สามารถป่วยด้วยเชื้อโคโรนา

แม้ COVID-19 จะมีการติดเชื้อจากเนื้อสัตว์สู่คนจากตลาดสดในเมืองอู่ฮั่นประเทศจีน แต่ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าสัตว์เลี้ยงอย่างหมาแมวจะป่วยเป็นโรคได้จากไวรัสชนิดนี้ แม้หลายๆคนจีนจะกลัวจนต้องหาหน้ากากมาให้น้องหมาน้องแมวใส่

ทางองค์กรอนามัยโลกแนะนำว่าถ้าหากเราจับสัตว์เลี้ยงมา ทุกครั้งให้ล้างมือทำความสะอาดเพื่อป้องกันเชื้อโรคและแบคทีเรียต่างๆเข้าสู่ร่างกาย ไม่ใช่แค่เชื้อโคโนนาเท่านั้น

9. วัคซีนป้องกันปอดอักเสบไม่สามารถต่อต้าน COVID-19 ได้

ตอนนี้วัคซีนรักษา COVID-19 ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนาและทดสอบซึ่งยังไม่รู้ว่าจะสำเร็จเมื่อไหร่ ประเทศต่างๆก็พยายามเร่งมืออย่างเต็มที่ คาดว่าอาจจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยๆ 1 ปีถึงจะนำมาใช้รักษาคนได้

10. ยาพ่นจมูกไม่ได้ช่วยป้องกันโคโรนา 

มีคนแชร์ว่าการใช้ยาพ่นจมูกหรือน้ำเกลือจะช่วยป้องกันไวรัสโคโรนาได้ แต่ทาง WHO ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าวิธีนี้จะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้

11. น้ำยาบ้วนปากไม่ได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อ

น้ำยาบ้วนปากไม่ได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อ แม้หลายๆยี่ห้อจะเคลมว่าสามารถกำจัดเชื้อโรคและแบคทีเรียในปากได้ในเวลาไม่กี่นาที แต่นั้นแค่บางชนิดเท่านั้นไม่ได้รวมถึง COVID-19

12. เด็กๆสามารถติดเชื้อ COVID-19 ได้ เด็กๆมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 แม้จะพบว่าผู้ติดเชื้อส่วนมากจะเป็นผู้ใหญ่ อย่างในจีนมีเด็กแรกเกิดติดเชื้อทันทีใน 30 ชั่วโมงหลังจากคลอดออกมา ส่วนคนแก่ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคทางเดินหายใจ, โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีโรค

ทางองค์การอนามัยโลกแนะนำว่าให้ดูแลสุขอนามัย รวมถึงทำความสะอาดร่างกายเป็นประจำเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

13. ยาปฏิชีวนะไม่ได้ช่วยรักษา COVID-19

COVID-19 คือไวรัสชนิดนึง ดังนั้นยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาสำหรับป้องกันหรือทำการรักษา เพราะยาปฏฺชีวนะนั้นจะใช้งานได้ผลกับแบคทีเรีย การที่เข้าโรงพยาบาลแล้วได้รับยาปฏิชีวนะมีความเป็นไปได้สูงว่าเราจะติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆมาพร้อมกัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่รักษาไวรัสโคโรนาได้ ดังนั้นแพทย์จะให้ยาตามอาการที่เกิดขึ้น

VIA DailyMail

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0