โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

12 วิธีจัดการกับอารมณ์โกรธของนักบำบัด

issue247.com

อัพเดต 20 มี.ค. 2562 เวลา 04.44 น. • เผยแพร่ 20 มี.ค. 2562 เวลา 00.00 น.

ความโกรธเกิดขึ้นได้กับเราทุกคนแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่คุณไปเจอทุกสัปดาห์ โดยทั่วไปนักบำบัดอาจรู้วิธีจัดการกับความโกรธแต่ความเครียดก็สามารถกระตุ้นความโกรธได้ในเพียงเสี้ยววินาทีและเราก็ไม่มีภูมิต้านทานต่อสิ่งเร้านี้ด้วย แล้วนักบำบัดจะจัดการกับพายุแห่งความเกรี้ยวกราดนี้ได้อย่างไร? เรามีเคล็ดลับมาฝาก

 

1. ใช้วิธี “STOP”

วิธีนี้แบ่งออกเป็น S Stop (หยุด) T Take a breath (สูดหายใจและมีสติกับเหตุการณ์ปัจจุบัน) O Observe (สังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างรอบตัวคุณ) และ P Proceed (ดำเนินการด้วยข้อมูลใหม่ๆหลังจากที่ประเมินสถานการณ์แล้ว)

 

2. คิดก่อนทำ

นับหนึ่งถึงสาม ตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆและคิดว่า “ความโกรธของฉันจำเป็นไหม?” จากนั้นก็พิจารณาว่าการกระทำจะส่งผลต่อสถานการณ์อย่างไรบ้างถ้าแสดงความโกรธออกไป

 

3. ใช้ประสาทสัมผัส

ถ้าพบว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์คุกรุ่นก็ค่อยๆผ่อนคลายโดยการหายใจเข้าทางจมูกและหายใจออกทางปาก วิธีนี้จะช่วยเปลี่ยนสารเคมีในสมองจากสู้หรือหนีให้เป็นปล่อยมันไป

 

4. คิดถึงสิ่งที่คุณจะพูดไว้ในใจ

ยกตัวอย่างเช่นจินตนาการว่าตัวเองกำลังกรีดร้องใส่ผู้คนที่ทำให้คุณหงุดหงิดแทนที่จะลงมือทำจริงๆ หรือพูดในสิ่งที่คุณต้องการจะพูดถ้ามีโอกาส

 

5. ให้เวลาตัวเองเมื่อรู้สึกโกรธ

คุณควรสร้างพื้นที่ระหว่างอารมณ์กับปฏิกิริยาตอบสนองเนื่องจากปฏิกิริยาตอบสนองจะเกิดขึ้นเมื่อหลายคนพบว่าตัวเองกำลังมีปัญหา การให้พื้นที่ตัวเองในการประมวลอารมณ์จะทำให้คุณมีเวลาผ่อนความรุนแรงและไม่แสดงอาการโต้ตอบมากเกินไป ง่ายๆเพียงหาเวลาไปเดินเล่น ขับรถเล่น สูดหายใจเข้าลึกๆ หรือกำหนดเวลาที่คุณสามารถแสดงอารมณ์ได้

 

6. ถามตัวเองว่า “ทำไมความโกรธนี้เกิดขึ้น?”

การถอยหลังกลับและสูดหายใจเข้าลึกๆจะทำให้ทั้งร่างกายและจิตใจสงบ คุณควรออกกำลังกาย จดบันทึก หรือฟังเพลงและร้องเพลงคนเดียว รับรองว่าวิธีนี้จะทำให้คุณสลัดความโกรธออกจากความคิดไปได้

 

7. กำหนดลมหายใจ

อารมณ์โกรธจะหมายถึงอาการทางกายต่างๆ เช่น พูดเร็ว วิตกกังวล หายใจถี่ คำพูดที่กล่าวถึงตัวเองในแง่ลบ เป็นต้น ดังนั้นคุณควรหาวิธีผ่อนคลายในแต่ละวันบ้าง

 

8. ทำสิ่งที่คุณสามารถรวบรวมสมาธิได้ภายในหนึ่งนาที

ไม่ว่าจะเป็นการเดินเร็วๆ การดื่มน้ำเย็นหนึ่งแก้ว หรือการรับประทานมิ้นต์ การทำสมาธิจะช่วยให้คุณผ่อนคลายและเปลี่ยนแปลงความคิดต่างๆได้ จากนั้นก็ค่อยกลับเข้าสู่สภาพปกติอีกครั้งเมื่อจำเป็น

 

9. สันนิษฐานถึงเหตุผลต่างๆ

ยกตัวอย่างเช่นถ้ามีใครมาตัดหน้าคุณขณะขับรถคุณอาจคิดว่าคนๆนั้นไม่มีมารยาท แต่ในทางกลับกันคุณควรพิจารณาเหตุผลอื่นๆว่าทำไมเขาจึงทำเช่นนั้น ถ้าคิดว่าเขากำลังรีบไปโรงพยาบาลเพื่อเยี่ยมคนรักความโกรธของฉันก็จะจางหายไป

 

10. เปลี่ยนความโกรธเป็นการกระทำที่สร้างสรรค์

ฉันมักจะรู้สึกโกรธมากเมื่อพูดถึงการเมือง แต่ฉันก็พยายามใช้แรงผลักดันดังกล่าวเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง

 

11. หาต้นตอของอารมณ์โกรธ

ลองถามตัวเองด้วยคำถามดังต่อไปนี้ “เราจำเป็นต้องพูดหรือแสดงออกถึงความโกรธนี้หรือเปล่า? ฉันจำเป็นต้องพูดหรือแสดงออกไหม? ฉันจำเป็นต้องพูดหรือแสดงออกตอนนี้เลยหรือเปล่า? เมื่อสิ้นสุดคำถามทั้ง 3 ข้อนี้แล้วฉันจะรู้สึกว่าตัวเองไม่จำเป็นต้องตอบสนองต่อความโกรธนี้เลย

 

12. รวบรวมความคิดของคุณ

คุณควรให้เวลาตัวเองในการรวบรวมความคิดอยู่เสมอ คำพูดที่เต็มไปด้วยโทสะไม่สามารถนำกลับคืนมาได้ ด้วยเหตุนี้คุณจึงต้องเขียนลงไปก่อนเนื่องจากมันสามารถลบได้ง่ายกว่าที่คุณพูดออกไปแล้ว และจะต้องเสียเวลาไปแก้ความเข้าใจผิดของคนอื่นอีกต่างหาก

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0