โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

10 Year Challenge: โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในช่วง 1 ทศวรรษ

Khaosod

อัพเดต 22 ม.ค. 2562 เวลา 12.16 น. • เผยแพร่ 21 ม.ค. 2562 เวลา 04.32 น.
_105242148_rhone_glacier_-4f05709034feb4eb69acdc259f598d2645b63c71

10 Year Challenge: โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในช่วง 1 ทศวรรษ – BBCไทย

ถ้าคุณได้ใช้อินเทอร์เน็ตบ้างในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา คุณก็คงจะเห็นแฮชแท็ก #10YearChallenge ผ่านตาทางโซเชียลมีเดียอยู่บ้าง

แต่ถ้าไม่รู้ว่าคืออะไร อธิบายง่าย ๆ คือการโพสต์ภาพของตัวคุณเองในปี 2009 คู่กับภาพปัจจุบัน เพื่อแสดงให้เห็นว่า คุณเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน

ผู้คนหลายล้านคนเข้าร่วมกิจกรรมทางโซเชียลมีเดียนี้ แต่บางคนวิจารณ์ว่า มันเป็นเรื่องของการหลงตัวเอง เหยียดวัย และบางครั้งก็ออกแนวเหยียดเพศบ้างเหมือนกัน

กบฏฮูธิ รวมตัวกันในกรุงซานาของเยเมน สงครามกลางเมืองในเยเมน ทำให้เกิดวิกฤตมนุษยธรรมที่เลวร้ายที่สุดในโลก
กบฏฮูธิ รวมตัวกันในกรุงซานาของเยเมน สงครามกลางเมืองในเยเมน ทำให้เกิดวิกฤตมนุษยธรรมที่เลวร้ายที่สุดในโลก

แต่ขณะนี้ผู้คนจำนวนมากได้ใช้แฮชแท็กเดียวกันนี้ เพื่อสะท้อนความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น เช่น

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

 

The only #10YearChallenge we should care about 🙏🏼🌍 #M1Ö pic.twitter.com/S8hU7gNgZJ

— Mesut Özil (@MesutOzil1088) January 17, 2019

ในทวีตนี้ เมซุต เออร์ซิล นักฟุตบอล ได้เปรียบเทียบภาพที่ดูเหมือนจะเป็นภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ทางซ้ายมือ และภูเขาน้ำแข็งที่กำลังละลายอยู่ทางขวามือ

แม้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับภาพนี้ไม่ได้ถูกต้องแม่นยำทั้งหมด โดยภาพทางซ้ายมือเป็น หิ้งน้ำแข็งเก็ตซ์ (Getz Ice Shelf) ในแอนตาร์กติกา ซึ่งถูกถ่ายไว้เมื่อเดือน พ.ย. 2016 ไม่ใช่ ปี 2008 แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า แผ่นน้ำแข็งที่กำลังละลายนั้นยังคงเป็นปัญหาสำคัญในตอนนี้

จากข้อมูลขององค์การนาซา แอนตาร์กติกา กำลังสูญเสียมวลน้ำแข็งราว 127 กิกะตันในแต่ละปี ขณะที่กรีนแลนด์สูญเสีย 286 กิกะตันในแต่ละปี

นาซา ระบุว่า มีสาเหตุหลักมาจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น และมหาสมุทรได้ดูดซับความร้อนไว้ อุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกได้เพิ่มขึ้น 0.9 องศาเซลเซียสแล้ว นับตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โดยการเพิ่มขึ้นราว 1 ใน 3 ของจำนวนนั้น เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้เอง

กลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมหลายกลุ่ม กำลังใช้แฮชแท็กนี้ในการเน้นย้ำความสำคัญของปัญหานี้

 

Arctic 100 years ago vs Today.

This is the truth about the #10YearChallenge. RT if you agree. #climatechange

(Images courtesy of Christian Åslund and The Norwegian Polar Institute) pic.twitter.com/TrnpbgPUOt

— Greenpeace (@Greenpeace) January 17, 2019

โพสต์นี้ของกรีนพีซ (Greenpeace) ได้เปรียบเทียบภาพถ่ายปี 1928 กับภาพที่ถ่ายโดยคริสเตียน ออสลุนด์ ช่างภาพชาวสวีเดนในปี 2002

มาร์ทีน โคเบลอร์ ทูตเยอรมนีประจำปากีสถาน ได้ทวีตบทความหนึ่งเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคบาโลชิสถาน (Balochistan) ของปากีสถาน

 

Climate change is alarming! Pakistan is the 8th most affected country in world. water shortage in #Balochistan is endangering humans & animals. 10 years from now, it can be either better or worse.. depending on our actions of today. @zartajgulwazir#10yearchallenge #GREENit pic.twitter.com/BKuOcAkTkc

— Martin Kobler (@KoblerinPAK) January 16, 2019

จาก ดัชนีความเสี่ยงสภาพอากาศโลก (Global Climate Risk Index) ล่าสุด ระบุว่า ปากีสถานได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกมากที่สุดเป็นอันดับ 8 ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา

มลพิษจากพลาสติก

ปี 2018 เป็นปีที่ทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นจากมลพิษพลาสติก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก

นักวิทยาศาสตร์คำนวณว่า แต่ละปีมีขยะพลาสติกราว 10 ล้านตัน ไหลลงสู่ทะเล โดยมีบางส่วนอาจจะต้องใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลาย

ดังนั้น นักรณรงค์บางส่วน จึงได้ใช้แฮชแท็ก #10YearChallenge ในการแสดงให้เห็นถึงปัญหานี้ ขณะที่พวกเราอาจมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่พลาสติกที่เราทิ้งไปยังคงเกือบจะอยู่ในสภาพเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

ความขัดแย้งในโลก

https://twitter.com/muniba_mazari/status/1085633732885835776

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2010 โมฮาเหม็ด บัวซีซี พ่อค้าแผงลอยบนท้องถนนในตูนิเซีย ปฏิเสธการจ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่ทางการท้องถิ่น ส่งผลให้รถเข็นผักและผลไม้ของเขาถูกยึด และถูกดำเนินการตามกฎหมายโดยไม่ได้รับการให้อภัย เขาจึงจุดไฟเผาตัวเอง

การกระทำของเขา ซึ่งผ่านมายังไม่ถึง 10 ปี ได้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสิ่งที่รู้จักกันในเวลาต่อมาว่า อาหรับสปริง (Arab Spring) ขึ้น ซึ่งเป็นการประท้วงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันในหลายประเทศทั่วภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ โดยในหลายแห่งได้นำไปสู่สงครามกลางเมืองนองเลือด และเกิดวิกฤตผู้ลี้ภัย ทำให้มีผู้คนจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ ต้องละทิ้งบ้านเรือนของตัวเอง

เพื่อสะท้อนถึงปัญหานี้ จึงมีการเปรียบเทียบภาพปัจจุบันและภาพในอดีตในประเทศซีเรีย ลิเบีย และอิรัก ซึ่งล้วนแต่เกิดความขัดแย้งขึ้น โดยเป็นภาพบ้านเรือนตามท้องถนนที่อยู่ในสภาพสวยงาม ตัดกับภาพตึกรามบ้านช่องที่พังถล่ม

ผู้คนยังได้โพสต์ภาพของเยเมน ซึ่งสงครามกลางเมืองนาน 3 ปี ได้นำไปสู่วิกฤตมนุษยธรรมที่เลวร้ายที่สุดในโลก ในปัจจุบันอีกด้วย

 

Sanaa #Yemen pic.twitter.com/WohjhXYuXO

— Nadwa Dawsari (@Ndawsari) January 17, 2019

แต่ก็ยังมีความเปลี่ยนแปลงในด้านดีเช่นกัน

ผู้คนได้ส่งต่อภาพบางสิ่งที่ดูเหมือนจะพัฒนาขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

จากสถิติของธนาคารโลกและสหประชาชาติ ความยากจนขั้นรุนแรงในปัจจุบันอยู่ที่ระดับต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับสถิติโดยรวมที่ผ่านมาในอดีต การตายของเด็ก และการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของเยาวชน ต่างก็ลดต่ำลง อายุคาดเฉลี่ย (Life expectancy) ของคนในโลกก็เพิ่มสูงขึ้น

แต่ที่น่าเศร้าก็คือ นี่ไม่ใช่ภาพใหญ่ของทั้งหมด

ขณะที่ความยากจนขั้นรุนแรงอยู่ในระดับต่ำที่สุดทั่วโลก แต่มันก็ยังเลวร้ายลงอย่างรวดเร็วในภูมิภาคซับซาฮาราในแอฟริกา ซึ่งอัตราความยากจนขั้นรุนแรงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 41%

แม้ว่าการอ่านออกเขียนได้ของเยาวชนโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังต่ำสุดในประเทศที่ด้อยพัฒนาหลายประเทศ โดยผู้หญิงได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ชาย จากข้อมูลล่าสุดระบุว่า 59% ของเยาวชนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นผู้หญิง

ขณะที่ความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นปัญหาสำคัญมาก ความตระหนักถึงปัญหานี้ได้เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้คนจำนวนมากและประเทศต่าง ๆ พยายามจะหันไปใช้แหล่งพลังงานยั่งยืนแทน

 

#10YearChallenge Rising from less than 16 GW of #solar capacity in 2009, the world has installed more than 500 GW solar today! Solar is the world’s fastest growing power generation source! #CleanEnergyEU #EnergyTransition #EU2050 #GenerationSolar pic.twitter.com/me0VPp6jaE

— SolarPower Europe (@SolarPowerEU) January 17, 2019

สำนักงานพลังงานสากล (The International Energy Agency) ระบุว่า การใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มสูงขึ้นในปี 2016 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความนิยมในการติดตั้งแผงโซลาร์ในประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0