โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

10 ประโยชน์ที่การันตีว่ากีฬาดีต่อใจและทักษะทางสังคม

Mood of the Motherhood

เผยแพร่ 15 มี.ค. 2561 เวลา 03.07 น. • Features

มองให้ลึกๆ นอกจากความแข็งแรงของร่างกาย กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ และความยืดหยุ่นแล้ว กีฬายังให้อะไรต่อเด็กๆ อีกมากมาย

1. ความเป็นเพื่อน (Camaraderie)

การเข้าร่วมทีมกีฬาทำให้เด็กมีความรู้สึกมีส่วนร่วม และมีโอกาสได้รู้จักเพื่อนใหม่ ซึ่งอาจกลายเป็นเพื่อนแท้กันไปตลอดชีวิตเลย! การมีส่วนร่วมในกีฬายังช่วยให้เด็กมีวงสังคมเพิ่มขึ้น มีการศึกษาพบว่า นักเรียนประมาณหนึ่งในสี่ที่ถูกรังแกที่โรงเรียน เมื่อเข้าร่วมทีมกีฬาจะได้รับแหล่งสนับสนุนทางสังคมที่จำเป็นมาก

2. เรียนรู้ที่จะแพ้ (Learn to Lose)

การแพ้เป็นเรื่องธรรมดาของการเล่นกีฬา และแน่นอนว่าไม่มีใครชอบคนแพ้ที่โกรธแค้น สอนลูกให้ยอมรับความพ่ายแพ้อย่างสุภาพ เพราะมันมีเกียรติมากกว่าการยอมรับที่แสดงความโมโหฉุนเฉียว

3. เคารพกฎกติกา (Respect Authority)

ถ้าคุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่าลูกๆ ของคุณยังไม่ค่อยมีระเบียบวินัยสักเท่าไร ลองพาไปเล่นกีฬาดู เพราะเรารู้กันอยู่แล้วว่าจะเล่นกีฬาได้ ต้องทำตามกฎ รวมทั้งเรียนรู้ที่จะกำหนดทิศทางการตัดสินใจและยอมรับการตัดสินใจเป็นส่วนใหญ่ และผู้เล่นมักถูกลงโทษถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่ดี

การเล่นกีฬาทำให้เด็กๆ ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับโค้ช ผู้ตัดสิน และผู้เล่นอื่นๆ เป็นประจำ แล้วยังต้องเคารพผู้สูงอายุและฟังเพื่อนๆ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญ

4. ควบคุมอารมณ์ (Control Emotions)

ในการเล่นกีฬาจะเกิดอารมณ์ต่างๆ ได้ง่าย เช่น อารมณ์โกรธ หงุดหงิด ไม่พอใจ หรือกลัว ซึ่งเป็นโอกาสดีที่เด็กๆ จะได้ฝึกจัดการกับอารมณ์เหล่านี้ แม้ว่าการจัดการกับอารมณ์จะเป็นเรื่องที่ยากสำหรับเด็กๆ แต่ถ้าเขาได้รับมือกับมันบ่อยๆ เมื่อเด็กเติบโต เขาจะเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์ของพวกเขาได้

5. ความภาคภูมิใจในตัวเอง (Self-Esteem)

มีการศึกษามากมายที่สนับสนุนว่า การเล่นกีฬาและกิจกรรมที่ใช้ร่างกายมีส่วนช่วยพัฒนาความภาคภูมิใจในตัวเองของเด็กๆ

ความสัมพันธ์ที่ดีกับโค้ชและเพื่อนร่วมทีม รวมถึงการให้กำลังใจจากพ่อแม่สามารถส่งผลต่อความภาคภูมิใจในตัวเองของเด็กๆ และความภาคภูมิใจของเขาไม่ควรถูกวัดด้วยการแพ้หรือชนะ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสนใจไปที่ความพยายามและความเพลิดเพลินของกีฬา เช่น แทนที่จะชมลูกว่า “วันนี้ลูกเก่งมากเลยที่เล่นบอลชนะ” บอกว่า “แม่ภูมิใจมากเลยที่ลูกมีความพยายาม” จะดีกว่า

6. อดทน (Patience)

ไม่ใช่เด็กทุกคนจะมีพรสวรรค์ในการเล่นกีฬา การฝึกฝนเลยเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมแทบทุกอย่าง และการอดทนจะสอนเด็กๆ ว่า ถ้าเขาอยากทำอะไรสักอย่างให้เก่งขึ้น เขาจะต้องใช้เวลาและความอดทน นี่เป็นบทเรียนที่คุ้มค่าสำหรับเด็กๆ ในการเรียนรู้

7. ทุ่มเท (Dedication)

การฝึกฝนและความมุ่งมั่นในการเล่นกีฬาสามารถถ่ายทอดไปสู่แง่มุมอื่นๆ ของชีวิตได้ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่การมีส่วนร่วมในกีฬาเชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในโรงเรียนที่สูงขึ้น

ถ้าลูกๆ ทุ่มเทเวลาและความพยายามในการทำบางสิ่งบางอย่าง มันอาจเป็นไปได้ว่าพวกเขาจะทุ่มเทให้กับการเรียนเช่นกัน

8. ทำงานเป็นทีม (Work as a Team)

ถึงแต่ละคนจะเล่นดีมากแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีการทำงานร่วมกัน ทีมก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ การเล่นกีฬาเป็นทีมทำให้เด็กๆ หัดฟังเพื่อนคนอื่น และหัดทำงานร่วมกับคนอื่น การสื่อสารจึงถือเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะทำให้ทีมประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเป็นบทเรียนที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็ก ที่จะก้าวสู่วัยผู้ใหญ่และการทำงานในอนาคต

9. เห็นแก่ตัวน้อยลง (Less Selfish)

การเล่นกีฬาเป็นโอกาสที่ดีในการสอนเด็กให้เห็นแก่ตัวน้อยลง ในการเล่นกีฬา เด็กต้องคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อทีม ไม่ใช่เพื่อตัวเขาเอง การฝึกเด็กให้เข้าใจว่าพวกเขาสามารถช่วยให้ทีมไปได้ดีด้วยการคิดถึงตัวเองน้อยลง เป็นสิ่งที่ดีอย่างหนึ่งของการเล่นกีฬา

10. ความยืดหยุ่นทางจิตใจ (Resilience)

การแพ้ชนะเกิดขึ้นในกีฬาอยู่เสมอ อารมณ์ที่ขึ้นๆ ลงๆ จึงเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นกีฬา มีการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า เด็กๆ ที่เล่นกีฬามีความยืดหยุ่นทางจิตใจมากขึ้น

เรื่องนี้ไม่น่าแปลกใจ เพราะกีฬาสอนให้เด็กๆ ลุกขึ้นมาจากความพ่ายแพ้ จากนั้นค่อยกลับไปสู้ใหม่ในภายภาคหน้า กีฬาจึงเป็นเรื่องของการเรียนรู้จากความผิดพลาดและลุกขึ้นมาสู้ใหม่

กีฬาสามารถช่วยให้เด็กๆ กลายเป็นผู้ใหญ่ที่ดีขึ้น เพราะมันมีผลทั้งทางจิตวิทยาและมีผลต่อทักษะสังคม ไม่ว่าจะเป็นกีฬาประเภทใด แต่ก็ไม่ต้องกังวลไป หากลูกของคุณไม่แข็งแรงหรือไม่สนใจกีฬา เพราะยังมีกิจกรรมอื่นๆ มากมายที่ช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะด้านบนได้

ข้อมูลจาก

.UQ Sport

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 2

  • 👍
    15 มี.ค. 2561 เวลา 15.23 น.
  • 👍👍👍👍👍
    15 มี.ค. 2561 เวลา 11.52 น.
ดูทั้งหมด