โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

10 ข้อแนะนำใช้ "บัตรเครดิต" เที่ยวต่างประเทศให้อุ่นใจ และเซฟเงินในกระเป๋าตัวเองมากที่สุด

Checkraka

เผยแพร่ 21 พ.ย. 2562 เวลา 04.20 น. • เช็คราคา.คอม
10 ข้อแนะนำใช้

10 ข้อแนะนำใช้ "บัตรเครดิต" เที่ยวต่างประเทศให้อุ่นใจ และเซฟเงินในกระเป๋าตัวเองมากที่สุด

ช่วงเทศกาลท่องเที่ยว หลายๆ คนชอบไปเที่ยวต่างประเทศ และกลับมามักจะต้องทำงานใช้หนี้บัตรเครดิตก้อนใหญ่กันหัวโตเลยกับบัตรเครดิตที่รูดซื้อของ หรือจ่ายค่าโรงแรมที่เมืองนอกไป วันนี้เรามีข้อแนะนำดีๆ 10 ข้อที่จะช่วยให้เราเซฟเงินในกระเป๋าได้เวลาไปรูดบัตรเครดิตที่ต่างประเทศครับ และหลายๆ ข้อแนะนำในนี้หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนด้วย ซี่งจะช่วยให้เราไม่ต้องเสียเงินหลายๆ ส่วนที่ไม่น่าเป็นไปได้หลายบาทเวลาไปเที่ยวเมืองนอก เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

เวลาเรารูดบัตรที่ต่างประเทศ บางทีเค้าจะถามว่าให้รูดบัตรเป็น Local Currency (เช่น เที่ยวญี่ปุ่นอยู่ เค้าจะถามว่ารูดเป็นเงิน Yen หรือเปล่า?) หรือบางทีเค้าอาจไม่ถาม แต่เราต้องดูตอนก่อนเซ็น หรือบอกเค้าก่อนเลยว่าจะจ่ายเป็น Local Currency เพราะถ้าให้จ่ายเป็นเงินบาทของประเทศเรา แม้เราอาจสบายใจว่าเราจะเห็นตัวเลขของสินค้าที่เราซื้อเป็นบาทตอนนั้นเลยว่าแพง หรือไม่แพงยังไง แต่ปัญหาคือ เราอาจโดนอัตราแลกเปลี่ยน 2 ต่อทันที (ศัพท์เทคนิคในเชิงการเงินคือ Dynamic Currency Conversion คือแสดงจำนวนเงินที่เรารูดเป็นเงินบาทให้เห็นเลยว่าเท่าไหร่ (กรณีคนไทย)) ในกรณีตัวอย่างข้างต้นคือจาก Yen เป็น USD และจาก USD เป็น Baht ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนของพวก Visa หรือ Mastercard พวกนี้ ส่วนใหญ่จะแพงกว่าปกติอยู่แล้ว

ถ้าเรามีบัตรเครดิตที่เข้าใช้ Lounge สนามบินได้ (มีบัตรไหนบ้าง ดูได้ที่นี่) จะเป็นประโยชน์มากเพราะเราจะสามารถเข้าใช้บริการ Lounge สนามบินได้ฟรี ทั้งใน และต่างประเทศโดยเฉพาะเวลาที่เราไปถึงสนามบินเร็วเกิน และไม่มีที่นั่ง หรือเวลาที่เราไม่อยากต้องเสียเงินซื้อของกิน เราก็เข้าไปกินอาหาร หรือเครื่องดื่มที่เสริฟ์ในเลาจน์พวกนี้ได้ฟรี แต่เราควรเช็คก่อนว่าเราบินสนามบินไหนบ้าง เพราะแต่ละบัตรอาจมี Lounge ให้เข้า หรือเงื่อนไขการใช้ในแต่ละสนามบินไม่เหมือนกัน สำหรับบัตรที่ Hi-So หน่อย เช่น Kbank Wisdom เราจะได้บัตร Priority Pass พ่วงมาด้วย ซึ่งบัตรนี้จะใช้เข้า Lounge ได้ในสนามบินหลากหลายประเทศทั่วโลกเลย

บัตรเครดิตในบ้านเราเดี๋ยวนี้จัดโปรโมชั่นให้คนถือบัตรไปใช้กันที่ต่างประเทศได้หลากหลาย เช่น ไปใช้ที่ห้างสรรพสินค้าในบางประเทศ อาจได้รับส่วนลด หรือเงินคืน เป็นต้น ดูรายละเอียดโปรโมชั่นบัตรเครดิตที่ใช้ต่างประเทศได้ที่นี่ หรือแม้กระทั่งหลายๆ บัตรเครดิตในเวลานี้ก็มีโปรโมชั่นว่าถ้าใช้ในเดือนเกิด หรือในต่างประเทศ คะแนนสะสมจะได้ทวีคูณมากกว่าปกติหลายเท่า เป็นต้น

แต่ละธนาคารจะมีการคิดค่าความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเวลาที่เรารูดที่ต่างประเทศด้วยเสมอ ซึ่งค่าความเสี่ยงนี้จริงๆ เป็นเรื่องของธนาคารที่ลดความเสี่ยงของตัวเองจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน แต่ธนาคารจะ Pass ความเสี่ยงพวกนี้มาให้เรา โดยแต่ละธนาคารจะคิดแตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะเป็น 2.5% ของยอดที่ใช้จ่าย แต่บางที่ก็อาจคิดแค่ 2.0% ของยอดที่ใช้จ่าย เป็นต้น ซึ่งในบางช่วงเวลา ธนาคารแต่ละที่อาจมีให้โปรโมชั่นค่าความเสี่ยงที่ถูกกว่าปกติ ในบางช่วงเวลาได้ ซึ่งเราสามารถดูรายละเอียดเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ปัจจุบันมีหลายธนาคารออกบัตรพิเศษ (ซึ่งโดยลักษณะคือบัตรเดบิต หรือ Pre-paid Card) สำหรับไปใช้ที่ต่างประเทศโดยเฉพาะ คือ แม้จะไม่ได้เครดิต 45 วัน แต่อาจใช้รูดในต่างประเทศได้เลยในอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีกว่าบัตรเครดิต ซึ่งลักษณะของบัตรพวกนี้คือเราต้องแลกเงินตราต่างประเทศสำหรับอัตราแลกเปลี่ยนประเทศที่เราจะใช้ไปก่อนเดินทาง หรือจะแลกระหว่างเดินทางก็ได้ (ส่วนใหญ่แลกได้ทางออนไลน์ตลอด 24 ชม.) และเมื่อนำไปใช้ ก็ใช้วิธีรูดกับเครื่องรูดบัตรเหมือนบัตรเครดิตปกติ เพียงแต่ว่าเงินจะถูกตัดจากบัตรทันทีโดยตัดเป็นเงินสกุลต่างประเทศนั้นๆ ที่เราได้แลกเก็บไว้ในบัตรเลย ในขณะที่ถ้ารูดบัตรเครดิต เราจะยังไม่ต้องจ่ายจนกว่าจะครบกำหนด (เช่น 45 วัน) แต่จำนวนที่เราต้องจ่ายเป็นบาทอาจจะสูงกว่าจ่ายโดยพวกเดบิตพวกนี้ ตัวอย่างของบัตรพวกนี้ก็เช่น

บัตรเครดิตสมัยนี้มีการให้ความคุ้มครองในหลายๆ เรื่องที่เกี่ยวกับการเดินทาง หรือการท่องเที่ยวในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบัตรที่เน้นเรื่องการท่องเที่ยว เช่น UOB Privimiles, Citibank Royal Orchid Plus ตัวอย่างความคุ้มครองก็เช่น คุ้มครองเรื่องเครื่องบินออกสายไม่ตรงเวลา กระเป๋าเดินทางหาย ไฟลท์บินมีการยกเลิก เกิดอุบัติเหตุ หรืออื่นๆ ซึ่งถ้าเราเอาบัตรเครดิตที่มีพวกประกันภัย หรือประกันชีวิตพวกนี้ไปด้วย ก็จะช่วยให้เราสบายใจขึ้น และประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย หรือได้ค่าชดเชยกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดพวกนี้ขึ้นระหว่างทริปของเรา

ในการเดินทางไปต่างประเทศ อาจเกิดเหตุการณ์ที่เราต้องโทรคุยกับธนาคารที่ออกบัตรเครดิตให้เรา เช่น บัตรหายจะอายัด หรือบัตรรูดไม่ได้เพราะวงเงินไม่พอ หรืออยู่ดีๆ บัตรรูดไม่ได้โดยไม่มีสาเหตุ หรือต้องขอเพิ่มวงเงินกรณีฉุกเฉิน หรือต้องการใช้สิทธิเกี่ยวกับประกันภัยที่มีมาให้ในบัตร ถ้าเราเจอแบบนี้ เราอาจต้องพูดคุยกับพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งประจำการ 24 ชั่วโมง คอยช่วยดูแลเราอยู่ ตัวอย่างเบอร์สายด่วนของบางธนาคารก็เช่น

บัตรเครดิตแต่ละบัตรจะมี "วงเงินที่จะใช้ได้ (Credit Line)" ไม่เท่ากัน และแต่ละคนก็อาจจะได้วงเงินจากธนาคารเดียวกันไม่เท่ากันด้วยก็ได้ ถ้าเราคิดว่าจะรูดซื้อของเป็นจำนวนสูงๆ และอาจเกินวงเงินที่เราได้จากธนาคาร (วงเงินนี้จะนับรวมการรูดแบบสะสมไปเรื่อยๆ ในแต่ละรอบบิลนะครับ ดังนั้นถ้าเรารูดสะสมมาตั้งแต่ก่อนไปต่างประเทศ และพอไปต่างประเทศยอดเงินเต็มพอดี เราก็จะใช้บัตรในรอบนั้นอีกไม่ได้แล้ว เว้นแต่จะขอเพิ่มวงเงินเป็นกรณีพิเศษ) เราอาจต้องโทรแจ้ง Call Center ทำเรื่องเพิ่มวงเงินไว้ก่อน เพราะไม่งั้นบัตรอาจโดน Reject ได้ วงเงินบัตรเครดิตเราจะกำหนดเองไม่ได้ ธนาคารจะดูจากความน่าเชื่อถือและสถานะการเงินของเราแล้วเป็นคนกำหนดให้ ไม่เหมือนพวก App ธนาคารที่เราจะสามารถเข้าไปกำหนดวงเงินสำหรับการโอนออก หรือเบิกถอนเงินสดใน App เองได้

การเอาบัตรเครดิตไปหลายใบ ฟังดูหมือนเสี่ยงแต่จริงๆ ประโยชน์คือ ถ้าบางประเทศไม่รับบัตรบางบัตร เช่น บางประเทศในยุโรปอาจไม่รับ Amex หรืออยู่ดีๆ บัตรเครดิตเราโดนบางร้านค้าปฏิเสธ (ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเทคนิค หรืออะไรก็ตาม) เราก็จะมีบัตรอีกใบที่ร้านค้าอาจรับ หรือถ้าบัตรเครดิตหายไปใบหนึ่ง ก็อาจเหลือสำรองไว้ใช้อีกใบหนึ่ง แต่เพื่อความปลอดภัย ถ้าเราเอาไปมากกว่า 1 ใบ อาจแยกเก็บไว้ในกระเป๋ามากกว่า 1 ใบก็ได้ เพื่อลดความเสี่ยงว่าถ้าเราโดนล้วงกระเป๋า หรือกระเป๋าหายไปใบหนึ่ง เราก็ยังเหลือบัตรอีกใบใช้ ข้อนี้สำคัญมากสำหรับคนที่เดินทางคนเดียว และข้อแนะนำอีกอย่างคือ ในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก Visa และ Mastercard จะเป็นที่ยอมรับมากที่สุดเมื่อเทียบกับ Amex (ส่วนใหญ่อเมริกา) Union Pay (ส่วนใหญ่จีน) และ JCB (ส่วนใหญ่ญี่ปุ่น) 

ในแต่ละประเทศ และแต่ละผู้ออกบัตรเครดิต อาจมีวิธีการ Verify ความเป็นเจ้าของ และตัวตนจริงของผู้ถือบัตรเครดิตไม่เหมือนกันเวลารูด บางที่หรือบางประเทศไม่ได้ใช้ระบบเซ็นลายมือชื่อเหมือนบ้านเรา แต่เค้าจะใช้ระบบให้กดตัวเลข PIN Number บางร้านค้าใช้ระบบเซ็นลายมือชื่อ แต่ถ้าจำนวนต่ำกว่ากำหนด เช่น 1,500 บาท หรือ 50 USD ก็อาจไม่ต้องเซ็น เป็นต้น ด้งนั้นก่อนไปควรลองทำการบ้านดูก็ดีครับ โดยเฉพาะบางประเทศที่เวลารูดบัตรต้องกด PIN Number ด้วย ถ้าเราเช็คตัวเลข Pin Number ของเราไปก่อนเดินทางก็จะช่วยให้เราสะดวกมากยิ่งขึ้น เป็นยังไงกันบ้างครับ กับเช็กลิสต์ 10 ข้อนี้ หวังว่าจะช่วยให้เพื่อนๆ เดินทางท่องเที่ยวได้อย่างอุ่นใจมากยิ่งขึ้นนะครับ และหากมีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต และการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ทาง CheckRaka.com ก็ไม่พลาดที่จะนำมาฝากเพื่อนๆ อีกแน่นอน Happy Trip นะครับ :)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0