โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

10 โรคอันตรายห้ามขับรถ

TNN ช่อง16

อัพเดต 25 พ.ค. 2562 เวลา 10.34 น. • เผยแพร่ 25 พ.ค. 2562 เวลา 10.34 น. • TNN Thailand
10 โรคอันตรายห้ามขับรถ
อาการเจ็บป่วยแบบเฉียบพลันหรือเกิดอาการกำเริบจากโรคประจำตัวในขณะที่ขับขี่รถยนต์ นับเป็นภัยอันตรายบนท้องถนน เนื่องจากผู้ขับขี่ไม่สามารถควบคุมตัวเองและรถได้เลย

อาการเจ็บป่วยแบบเฉียบพลันหรือเกิดอาการกำเริบจากโรคประจำตัวในขณะที่ขับขี่รถยนต์ นับเป็นภัยอันตรายบนท้องถนนอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้ขับขี่ไม่อยู่ในสภาพที่ร่างกายสามารถควบคุมรถได้เลย หลายๆ เหตุการณ์เลวร้ายถึงขั้นสร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินต่อผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมาก

จากปัญหาเกิดขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันดีกว่าแก้ปัญหาที่ปลายทาง ทางกรมขนส่งทางบกจึงได้เพิ่มกลุ่มโรคที่เสี่ยงจะเกิดอันตรายในการขับขี่จากเดิม 5 โรค/อาการ เข้ามาอีก 5 โรค/อาการ ห้ามทำเรื่องขอใบอนุญาตขับขี่ 

สำหรับข้อกฏกำหนดเดิมห้ามผู้ป่วย 5 โรคสอบใบอนุญาตขับขี่ได้แก่ 1.โรคเท้าช้าง 2.โรควัณโรค 3.โรคเรื้อน 4.โรคพิษสุราเรื้อรัง 5.โรคติดยาเสพติดให้โทษ ล่าสุดกรมขนส่งทางบกกับแพทยสภาได้เพิ่ม โรค/อาการ ประกอบด้วย โรคลมชัก, โรคเบาหวานร้ายแรง (ในกรณีที่ต้องฉีดอินซูลิน), โรคความดันโลหิตสูง, ผู้ที่เคยผ่าตัดสมองมาก่อน และโรคหัวใจที่เสี่ยงจะเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด

นอกจากนี้ผู้ที่ต้องการทำใบขับขี่ในปัจจุบันนี้ จะต้องใช้ใบรับรองแพทย์แบบมาตรฐานใหม่ ซึ่งใบรับรองแพทย์จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการกรอกข้อมูลทั่วไป โรคประจำตัว ประวัติการรักษา ประวัติอุบัติเหตุและการผ่าตัด ซึ่งต้องกรอกให้ครบตามความเป็นจริง ส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่แพทย์ต้องกรอกเพื่อยืนยันว่า ผู้เข้ารับการตรวจไม่มีความพิการ หรือทุพพลภาพทางร่างกาย ไม่มีอาการจิตฟั่นเฟือน ไม่มีอาการพิษสุราเรื้อรัง ไม่มีการติดยาเสพติดให้โทษ และไม่มีอาการของโรคเรื้อน วัณโรค และโรคเท้าช้าง จากนั้นจึงให้แพทย์ผู้ตรวจเซ็นกำกับ

คาดว่าใบรับรองแพทย์แบบใหม่ น่าจะช่วยคัดกรองผู้ป่วยเป็นโรคต้องห้ามสำหรับการขับขี่ได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อการตรวจโรคเพื่อขอทำใบอนุญาตขับขี่เริ่มเข้มงวดขึ้น ในอนาคตอาจต้องมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจภาวะเบาหวาน หรือวัดความดันโลหิตเพิ่มเติมจากการตรวจปกติก็ได้

ส่วนในกรณีผู้ใช้ใบขับขี่แบบตลอดชีพ ก็มีคำถามต่อมาว่าแล้วถ้าบางคนเป็นโรคที่เข้าค่ายตามที่ขนส่งระบุไว้ แต่ก็ยังขับรถไปมาอยู่บนท้องถนนเหมือนปกติ แล้ววันดีคืนดีหากเกิดกำเริบจากโรคเหล่านี้จะทำอย่างไร จะมีมาตรการป้องกันแบบไหน จากข้อมูลเบื่องต้นทางกรมการขนส่งทางบกกำลังหารือกับหลายๆ ฝ่าย ว่าอาจจะให้ผู้ที่ได้ใบขับขี่ตลอดชีพเข้ามาพบจนท.ที่กรมฯ เพื่อตรวจสมรรถนภาพ ส่วนว่าจะเป็นต้องทำทุกกี่ปียังไม่มีการระบุให้ทราบแน่ชัด ซึ่งก็ต้องคอยติดตามกันต่อไปว่าปัญหานี้จะได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมได้เมื่อไร

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0