โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“Ofo” สตาร์ทอัพจีนผู้ให้บริการเช่าจักรยานรายใหญ่ ส่อล้มละลาย หลังไม่มีเงินจ่ายหนี้

TODAY

อัพเดต 20 มิ.ย. 2562 เวลา 13.47 น. • เผยแพร่ 20 มิ.ย. 2562 เวลา 13.31 น. • Workpoint News
“Ofo” สตาร์ทอัพจีนผู้ให้บริการเช่าจักรยานรายใหญ่ ส่อล้มละลาย หลังไม่มีเงินจ่ายหนี้

In this picture taken on April 6, 2017, a worker climbs onto a pile of Ofo shared bicycles at a repair centre in Beijing. - A booming rental bike business has flooded China's streets with packs of cyclists, but their habit of going the wrong way and abandoning their rides anywhere is causing havoc. The authorities, scrambling to catch up, are considering new regulations to curb the chaos -- from capping the number of bikes to even barring people they consider too big or too small for bicycles. (Photo by Nicolas ASFOURI / AFP)

Ofo สตาร์ทอัพสัญชาติจีน ผู้ให้บริการเช่าจักรยานรายใหญ่ที่เคยมีมูลค่าถึง 2 พันล้านดอลลาร์ ประสบปัญหาไม่มีเงินจ่ายหนี้ หลังถูกทั้งลูกค้าและซัพพลายเออร์ฟ้อง โดยศาลระบุว่าบริษัทฯ ไม่มีทรัพย์สินเหลืออยู่แล้ว

เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. ที่ผ่านมา ศาลเมืองเทียนจิน (Tianjin) ประเทศจีน ได้ตัดสินคดีซึ่งบริษัท Tianjin Fuji-Ta Bicycle ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ผลิตรถจักรยานให้กับ Ofo (อ่านว่า โอโฟ) ได้ฟ้องร้องบังคับให้ Ofo จ่ายหนี้จำนวนกว่า 36 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1,150 ล้านบาท) ที่ค้างอยู่ โดยการฟ้องร้องครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่บริษัทั้งสองไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันได้

ทั้งนี้ศาลเมืองเทียนจินได้ระบุว่า Ofo ไม่มี “ทรัพย์สิน” เหลืออยู่แล้ว นั่นหมายความว่าบริษัทฯ ไม่มีสินทรัพย์ ที่ดิน เงินลงทุน หรือยานพาหนะ อยู่ในความครอบครองแล้ว นอกจากนี้ศาลยังได้ระบุด้วยว่าบัญชีธนาคารของ Ofo นั้นถูกระงับหรือไม่ก็ไม่มีเงินเหลืออยู่แล้ว

เมื่อศาลพบว่า Ofo ไม่มีทรัพย์สินเหลืออยู่ จึงไม่สามารถบังคับให้ Ofo จ่ายเงินได้ แต่ทาง Tianjin Fuji-Ta Bicycle สามารถอุทธรณ์ได้ หากพบว่า Ofo ยังมีทรัพย์สินใดๆ เหลืออยู่

ทั้งนี้ ไม่ใช่เพียงซัพพลายเออร์เท่านั้นที่ฟ้อง Ofo แต่ลูกค้าจำนวนมากก็ฟ้อง Ofo ด้วย โดยตัวเลขล่าสุดผู้ใช้บริการ Ofo กว่า 12 ล้านคนได้ลงทะเบียนเพื่อขอเงินมัดจำคืนจากบริษัทแล้ว หลังจากที่ไม่สามารถใช้บริการจักรยานของบริษัทได้อีก เฉพาะเงินค่ามัดจำที่ Ofo ถูกลูกค้าขอคืนก็เป็นเงินกว่า 170 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 5,440 ล้านบาท) แล้ว

Ofo เคยเป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพที่มาแรงที่สุดแห่งหนึ่งของจีน โดยเป็นหนึ่งในบริษัทที่อยู่ในกระแสของเศรษฐกิจแบ่งปัน (sharing economy) ในช่วงปี 2015-2018 บริษัทสามารถเพิ่มเงินทุนได้ถึง 8 ครั้ง เป็นเม็ดเงินกว่า 2,200 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 74,000 ล้านบาท) โดยหนึ่งในผู้ลงทุนสำคัญคือ Alibaba

สำหรับแนวคิดของ Ofo นั้นก็คือ อยากให้ทุกคนสามารถเช่าใช้จักรยานใช้ได้ในราคาถูก โดยผู้ที่ต้องการใช้จักยานของ Ofo จะจ่ายค่ามัดจำประมาณ 99 หยวน (ประมาณ 450 บาท) จากนั้นในการใช้จักรยานแต่ละครั้ง ก็จ่ายเงินเพิ่มอีกเพียงนิดเดียวในแต่ละเที่ยว ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่ารายได้เพียงน้อยนิดจากค่าเช่าจักรยานนี้จะสามารถครอบคลุมต้นทุนที่บริษัทต้องจ่ายในการซื้อจักรยานจำนวนมหาศาลมาได้อย่างไร

นอกจากนี้ หลังจากให้บริการยังเริ่มเกิดปัญหาการขโมยจักรยาน การนำจักรยานไปจอดทิ้งไม่เป็นที่จนกลายเป็นปัญหาของเมือง รวมถึงการนำจักรยานไปทิ้ง เช่นในถังขยะหรือแม่น้ำลำคลอง ด้วย

ในจีนเอง แม้ว่าล่าสุดทางบริษัทจะยังไม่ได้มีการประกาศหยุดให้บริการอย่างเป็นทางการ แต่ชาวจีนเองก็บอกว่าจักรยานของ Ofo พบเห็นได้ยากแล้วในตอนนี้ในที่สาธารณะ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0