โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

“Mobile Banking” แค่คลื่นลูกแรก! “ดิจิทัล” ต้นเหตุธนาคารต้องทรานส์ฟอร์ม สู่ Seamless Experience

Marketing Oops

อัพเดต 19 ส.ค. 2562 เวลา 13.38 น. • เผยแพร่ 19 ส.ค. 2562 เวลา 13.38 น. • Ms.นกยูง
“Mobile Banking” แค่คลื่นลูกแรก! “ดิจิทัล” ต้นเหตุธนาคารต้องทรานส์ฟอร์ม สู่ Seamless Experience

banking
banking

ท่ามกลางสถานการณ์ “หั่นสาขา” ที่เกิดขึ้นกับธนาคารทั่วโลกในช่วงไม่กี่ที่ผ่านมานี้ คนจำนวนไม่น้อยอาจเข้าใจไปเองว่า “ใกล้ถึงวันอวสาน” ของสาขาธนาคารแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้น สถานการณ์ดังกล่าวหมายถึงการผลัดใบของสาขารูปแบบเก่า…สู่สาขารูปแบบใหม่เสียมากกว่า

ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า…

– เมื่อมกราคม 2561 ไทยมีจำนวนสาขาธนาคาร รวม 6,780 สาขา แต่เมื่อมกราคม 2562 ลดเหลือ 6,729 สาขา

– โดยมกราคม 2559 ถือเป็นปีที่เคยมีสาขาธนาคารสูงสุด ถึง 7,065 สาขา

ขณะที่ ทิศทางในต่างประเทศนั้นพบว่า สหราชอาณาจักรมีจำนวนสาขาธนาคารลดลงอย่างชัดเจน “เกือบครึ่งหนึ่ง” ของสาขาธนาคารทั้งหมดได้ “ปิดตัว” ภายในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา

ประเด็นนี้ คุณนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการและหัวหน้าสายงานบริการทางการเงิน เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย แสดงความเห็นว่า จำนวนสาขาธนาคารที่ลดลงอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ถือเป็นสถานการณ์ทั่วโลกที่ต้องเผชิญฏับการเปลี่ยนแปลงธุรกรรมต่าง ๆ สู่ระบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการให้คำแนะนำการลงทุนด้วยระบบอัตโนมัติ หรือระบบการชำระเงินแบบไร้เงินสด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รายงานเกี่ยวกับการลดลงของสาขาธนาคารมักจะเกินเลยจากความเป็นจริงค่อนข้างมาก แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีฟินเทคจากสตาร์ทอัพเข้ามา รวมถึงความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค ส่งผลกระทบให้ธนาคารมีขนาดเล็กลงแต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น การที่สาขาธนาคารจะลดลงก็ไม่ใช่เรื่องแปลก

ธนาคารทั่วโลกต่างประสบกับสถานการณ์ “ปิดสาขา”
ธนาคารทั่วโลกต่างประสบกับสถานการณ์ “ปิดสาขา”

“ไม่ใช่ทุกธุรกรรมที่เหมาะกับแพลตฟอร์มดิจิทัล”

เพราะจากภาพรวมของการทำธุรกรรมผ่านดิจิทัลนั้น ธนาคารต่าง ๆ จำเป็นต้องปรับสาขาให้มีพื้นที่และเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้า เรื่องดังกล่าวถูกย้ำผ่านการวิจัยล่าสุดของ เอคเซนเชอร์ ที่ระบุว่า “ลูกค้าคนไทยไปที่สาขาธนาคารไม่บ่อยนัก แต่ถ้าได้ไป ก็พอใจกับบริการที่ได้รับ โดย 31% ของลูกค้าจากการสำรวจ ยอมรับว่าพวกเขาไปที่สาขาธนาคารอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง และ 66% ของลูกค้าชาวไทยระบุว่า ได้รับประสบการณ์การบริการที่ดีเมื่อไปธนาคาร ซึ่งถือว่าเป็นอัตราความพึงพอใจที่สูงกว่าอัตราเฉลี่ยนของลูกค้าทั่วโลกที่ 57% ขณะที่สหรัฐอเมริกาสูงถึง 74%, ออสเตรเลีย 62%, สิงคโปร์ 54% และฮ่องกง 43%

อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจทั่วโลกกลายเป็นระบบดิจิทัลมากขึ้น บทบาทของสาขาธนาคารจึงต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย เพื่อเติมเต็มการใช้งานแก่ลูกค้า ทั้งการนำเสนอบริการที่หลากหลาย ดึงดูดใจ ขับเคลื่อนด้วยระบบดิจิทัล สามารถรองรับตลาดเฉพาะทาง รวมถึงการสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจ และเสริมประสบการณ์ด้านดิจิทัลให้สมบูรณ์ขึ้น ซึ่งมีผลวิจัยระบุว่า ธนาคารขนาดใหญ่ที่ใช้แนวคิดดังกล่าวสามารถลดต้นทุนได้ถึง 13% ควบคู่กับการเพิ่มรายได้จากเครือข่ายสาขาถึง 11%

กว่า 71% ของคนไทยที่ตอบแบบสอบถามดังกล่าว ระบุว่าอยากให้ธนาคาร “ผสานความเป็นสาขา เข้ากับระบบดิจิทัล” เพื่อประสบการณ์แบบไร้รอยต่อในการใช้บริการ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่พบว่าเมื่อสอบถามข้อมูลจากพนักงานแล้ว เป็นข้อมูลที่มีอยู่ในรูปแบบดิจิทัลแต่ยังไม่ครบทุกช่องทาง จึงทำให้ค้นหาข้อมูลไม่พบและเสียเวลา ทั้งยังสร้างประสบการณ์ที่ไม่พึงพอใจ

เท่ากับว่า…สาขาธนาคารในอนาคต ควรต้องมีขนาดเล็กลงและเน้นที่การพูดคุยให้บริการลูกค้าแบบตัวต่อตัวมากขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่า ทั้งยังได้สนทนา ปรีกษาหารือกัน และเสริมสร้างความร่วมมือ ค้นหาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงใจผู้บริโภคต่อไป

Related Stories

‘ยูนิโคล่’ ต่อจิ๊กซอว์สร้าง ‘Seamless Experience’ ลุยเปิดสาขาทั้งในห้าง-โรดไซด์ และเร่งทำ O2O หวังครองใจผู้บริโภค

สรุปข่าวเด่นน่าสนใจประจำวันที่ 23 – 29 มีนาคม 2562

weeklyupdate
weeklyupdate

สรุปข่าวเด่นน่าสนใจประจำวันที่ 16 – 22 มีนาคม 2562

เมื่อ ‘สตาร์บัคส์ไทย’ เปลี่ยนมาอยู่ในมือ ‘กลุ่มไทยเบฟ’

จับตาโฉมใหม่ศึกค้าปลีก! เมื่อ Makro เดินเกม “ดิจิทัล สโตร์” แห่งแรกในไทย ก้าวสู่ 4.0 เต็มรูปแบบ

72 years Central Retail
72 years Central Retail

เมื่อธุรกิจ “ครอบครัว” จะกลายเป็น “มหาชน” เปิดกลยุทธ์ “เซ็นทรัล รีเทล” ปรับใหญ่สู่ New Central Retail Experience

อ่านบทความทั้งหมด ที่ MarketingOops.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0