โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

“โบนัส” ต้องใช้อย่างไร?? ให้คุ้มค่าสุด

aomMONEY

อัพเดต 04 ม.ค. 2562 เวลา 15.08 น. • เผยแพร่ 19 ธ.ค. 2561 เวลา 05.34 น. • กองบรรณาธิการ
“โบนัส” ต้องใช้อย่างไร?? ให้คุ้มค่าสุด
“โบนัส” ต้องใช้อย่างไร?? ให้คุ้มค่าสุด

เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้เงินโบนัสก้อนนี้ aomMONEY มีคำแนะนำเกี่ยวกับ เงินโบนัสใช้อย่างไรให้คุ้มค่าที่สุดมาฝากกัน เริ่มจาก..คิดว่าโบนัสเป็นเงินได้ที่นอกเหนือจากเงินเดือน ไม่ได้เป็นส่วนสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อแยกจุดประสงค์การใช้ให้ชัดเจนอยากให้แบ่งเป็น 4 ส่วนดังนี้

“โบนัส” ต้องใช้อย่างไร?? ให้คุ้มค่าสุด
“โบนัส” ต้องใช้อย่างไร?? ให้คุ้มค่าสุด

1. โป๊ะหนี้

เริ่มต้นด้วยการปลดแอกจากภาระหนี้สิน แต่..ถ้าสัดส่วนที่แบ่งไว้สำหรับชำระหนี้ไม่เพียงกับยอดหนี้ที่มีอยู่ก็ไม่เป็นไรนะครับ ค่อย ๆ ทยอยใช้ที่เหลือไปต่อไปเรื่อย ๆ ให้หมดเร็วที่สุด โบนัสจึงเป็นเหมือนสิ่งช่วยสร้างสภาพคล่องการเงินในแต่ละเดือนของเราก็จะดีขึ้น 

โดยหนี้สินที่ควรรีบชำระอันดับแรกเลยคือ หนี้บัตรเครดิตและหนี้บัตรกดเงินสด เพราะมีอัตราดอกเบี้ยสูง หรืออาจะเอาเงินไปโปะหนี้บ้าน, หนี้คอนโด หรือหนี้รถ ให้หนี้หมดไวลดดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายลงได้ด้วย aomMONEY แนะนำให้จัดลำดับการจ่ายหนี้ (แต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนตามเงื่อนไขและสถานการณ์ของแต่ละคนนะครับ) คือ

1. ลดการจ่ายดอกเบี้ย โดยเลือกจ่ายชำระกับเจ้าหนี้ที่คิดดอกเบี้ยสูงสุดก่อน

2. ลดจำนวนเจ้าหนี้ โดยชำระหนี้ที่ยอดก้อนเล็กให้ครบหมดไปก่อน แล้วค่อยชำระให้เจ้าหนี้ที่ก้อนโตที่สุดเจ้าเดียว

    

2. ให้รางวัลตัวเอง

ทำงานหนักมาทั้งปีถึงเวลาซื้อความสุขตอบแทนตัวเองบ้าง ลองดูว่าชอบอะไร รักอะไร พุ่งไปเลย  รวมถึงการเลือกลงทุนในเพื่อพัฒนาตัวเอง เช่น ซื้อหนังสือ, อบรมสัมมนา, เลือกคอร์สพัมนาตัวเอง เป็นต้น แต่อย่าใช้เงินเกินจากที่เราแบ่งสันปันส่วนไว้เด็ดขาดนะครับ เพราะจะทำให้เกิดวงจรหนี้ขึ้นอีก

ส่วนใครที่ไม่รู้ว่าจะให้รางวัลให้ตัวเองแบบไหนดี ก็แนะนำว่าลองใช้เงินไปเที่ยวพักผ่อน ใช้เวลากับครอบครัวหรือคนที่เรารัก ถือเป็นการเปิดรับประสบการณ์ชีวิตใหม่ พบปะผู้คน มีเพื่อนใหม่ ๆ โอกาสใหม่ ๆ ในชีวิตครับ

3. เก็บออม

    บางคนทำงานมานานไม่มีเงินเก็บ นี่จึงเป็นโอกาสที่ดีในการเริ่มต้นเก็บออมจะช่วยให้มีเงินสำรองฉุกเฉินกรณีเกิดเหตุไม่คาดฝัน และเก็บไว้ใช้ในอนาคตด้วย โดยรูปแบบการออมก็ต้องบอกว่าขึ้นอยู่กับสภาพคล่องและความเสี่ยงที่รับได้ของแต่ละคน เริ่มจากเงินฝากที่เป็นการลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำที่สุดแต่ก็มีผลตอบแทนที่ต่ำที่สุด หรือจะเลือกทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ก็แต่ก็มีสภาพคล่องน้อยกว่า หรือที่ฮิต ๆ ในกลุ่มพนักงานออฟฟิตก็คือสลากออมสิน, สลาก ธกส ก็น่าสนใจเพราะถ้าซื้อครบทุกเลขก็มีโอกาสถูกรางวันทุกงวด ซึ่งผลตอบแทนดีกว่าเงินฝากแบบปกติ เมื่อรู้จักเก็บเล็กผสมน้อยแล้วรับรองว่าไม่นานเงินก้อนเล็ก ๆ ที่แบ่งมาสะสมเรื่อย ๆ ก็จะงอกเงยเป็นเงินก้อนใหญ่ได้

ส่วนคนที่มีเงินเก็บอยู่แล้วให้คิดว่า ยิ่งรายได้มากขึ้นก็ต้องออมเงินมากขึ้นด้วยเช่นกัน และต้องรู้จักควบคุมรายจ่ายให้คงที่ไม่เฟ้อไปตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น

4. การลงทุน

    คำถามฮิตคือ การลงทุนช่องทางไหนที่จะเพิ่มพูนเงินโบนัสให้งอกเงยที่สุด? คำตอบคือขึ้นอยู่กับเวลา, ความเสี่ยงที่รับได้รวมถึงปัจจัยเศรษฐกิจด้วย โดยส่วนใหญ่ที่นิยมลงทุนกันและอยากแนะนำให้มือใหม่หัดลงทุน คือ กองทุนรวม เพราะเหมาะสมกับมนุษย์เงินเดือนที่ไม่ค่อยมีเวลาในการจัดการการลงทุนด้วยตัวเอง เพราะสามารถการจัดการและตัดสินใจบนความเสี่ยงได้หลายอย่างจากความสามารถของผู้เชี่ยวชาญหรือมืออาชีพด้านการลงทุน แถมยังเอามาใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย ส่วนขั้นแอดวานซ์ต่อไปก็อาจจะเลือกลงทุนใน ตราสารทุน(หุ้น), ตราสารอนุพันธ์ ต่อไป

การนำเงินโบนัสมาลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่งในอนาคตถือเป็นเรื่องดี แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าเราควรจะศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่เราจะลงทุนให้ดีภายใต้เงื่อนไขที่คุ้นหูกันดี คือ “การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน” และไม่ว่าจะลงทุนอะไรก็ตาม อย่าได้ลงทุนจนเกินกำลังของตัวเอง

“โบนัส” ต้องใช้อย่างไร?? ให้คุ้มค่าสุด
“โบนัส” ต้องใช้อย่างไร?? ให้คุ้มค่าสุด

    หวังว่าแผนจัดการโบนัสนี้จะทำให้มนุษย์เงินเดือนใช้โบนัสกันอย่างเป้นระบบและคุ้มค่ามากขึ้น และเมื่อใช้เงินแล้วกต้องกลับมาตั้งใจทำงานให้ดีขึ้นกันต่อไป เพราะโบนัสปีหน้าจะได้มากขึ้นหรือน้อยลงก็ขึ้นอยู่กับผลของงานที่เราทำนั่นแหละครับ

ติดตามความรู้เรื่องการเงินการลงทุนจาก #aomMONEY ทุกช่องทาง

Facebook

Website

Youtube

Line@ : @aommoney

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0