โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

“แฮชแท็ก” อาวุธทรงพลังในการพลิกโฉมการเมือง-สังคมโลก

TODAY

อัพเดต 26 ก.พ. 2563 เวลา 18.26 น. • เผยแพร่ 26 ก.พ. 2563 เวลา 02.07 น. • Workpoint News
“แฮชแท็ก” อาวุธทรงพลังในการพลิกโฉมการเมือง-สังคมโลก

คนที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นประจำ โดยเฉพาะทวิตเตอร์ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมานี้ จะเห็นว่ากลุ่มนิสิตนักศึกษาในหลายสถาบันเริ่มออกมาเคลื่อนไหวและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงนี้กันอย่างคึกคักผิดหูผิดตา โดยเฉพาะเทรนด์การติดแฮชแท็กประจำสถาบันการศึกษา ที่แม้บางสถาบันฯ จะไม่ได้กล่าวถึงชื่อสถาบันโดยตรง แต่ก็เชื่อได้ว่าคนส่วนใหญ่น่าจะเข้าใจได้ไม่ยาก

นิสิตนักศึกษา​จุฬา​ลงกรณ์​ ประมาณ​ 500​ คนร่วมปราศรัย​ แสดงพลัง​ พร้อมจุดเทียนไว้อาลัยให้กับความยุติธรรมที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองเราและขับร้องเพลง​ Do you​ hear the​ people​ sing​ ที่บริเวณ​ลานข้างหอประชุม​จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย ภาพ​ ภัทร​ชัย​ ปรีชา​พา​นิช​ / ThaiNewsPix

ไม่คิดว่าจะมีวันนี้ สุดยอดทุกคนนน อย่าหยุดด #สามพระจอมจะยอมได้ไง #KKUขอโทษที่ช้าโดนสลิ่มลบโพสต์ #อยู่ข้างบ้านเสียงดังไม่ได้ #ราชภัฏอยากงัดกับสลิ่ม #ทีมลูกระนาดอยากจะฟาดบ้างแม่ #เสาหลักจะไม่หักอีกต่อไป#KUไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ#ที่ยุบอนาคตใหม่พี่มหาลัยกูทั้งนั้น pic.twitter.com/CVhUksRypf

— ZoLiiTaRy (@zoliitary_tg) February 24, 2020

จะเห็นได้ว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเด็นร้อนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในสังคมไทยและสังคมโลก มักปรากฎในรูปแบบของการติดแฮชแท็ก  ซึ่งนี่ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของทวิตเตอร์ที่ไม่มีใครเหมือน ข้อดีของมันคือทำให้ผู้ใช้รู้ได้ว่าในแต่ละวันเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง มีต้นตอและที่มาอย่างไร หรือใครที่ต้องการติดตามเรื่องราวต่างๆ อย่างละเอียด ก็สามารถตามดูได้ในแฮชแท็กนั้นๆ ได้ทันที   เนื่องจากทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถโพสต์ข้อความได้ในจำนวนจำกัดเพียง 280 ตัวอักษร จึงทำให้ข้อความต่างๆ เป็นข้อความที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย ตอบสนองพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ที่ไม่ต้องการอ่านข้อมูลปริมาณมหาศาล แต่ก็สามารถทราบเรื่องราวและที่มาของเรื่องราวต่างๆ ได้ในเวลาอันสั้น

จุดเริ่มต้นของ “แฮชแท็ก” (#)ในโซเชียลมีเดีย  

จุดเริ่มต้นของการใช้เครื่องหมายแฮชแท็กในสื่อสังคมออนไลน์ เชื่อว่าเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงยุค 2000 ซึ่งปรากฏใน IRC (Internet Relay Chat) ซึ่งเป็นรูปแบบในการพูดคุยแบบกลุ่มบนอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้เป็นป้ายบอกชื่อกลุ่มและหัวข้อต่างๆ ต่อมาวันที่ 23 สิงหาคม 2007  “คริส เมสซิน่า” ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีของสังคมออนไลน์ในขณะนั้น ได้ทวีตด้วยการติดแฮชแท็กลงในทวิตเตอร์เป็นคนแรก

how do you feel about using # (pound) for groups. As in #barcamp [msg]?

— Chris Messina (@chrismessina) August 23, 2007

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทวิตเตอร์จึงนำแฮชแท็กมาใช้เป็นคุณสมบัติอย่างเป็นทางการ เพื่อทำการจัดกลุ่มทวิตที่มีความเหมือนกันหรือคล้ายกัน ให้มาอยู่ในที่เดียวกัน   ด้วยความสามารถพิเศษของแฮชแท็ก ในการรวบรวมความสนใจ ความคิด ความเชื่อของผู้คนที่มีความหลากหลาย ทั้งในด้านสังคม การเมือง วัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งปฏิบัติการบรรเทาทุกข์ ทั้งจากเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือแม้แต่ความขัดแย้งทางการเมือง แฮชแท็กจึงนับว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้าง "ชุมชน" หรือ "การรวมตัวแบบเฉพาะกิจ" และการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อเหตุการณ์และประเด็นที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจอย่างมีประสิทธิภาพ

นับตั้งแต่ #MeToo ไปจนถึง #FreeIran #iPhoneX  #Pope #ClimateChange และอื่นๆ แฮชแท็กจึงเป็นสัญลักษณ์สำคัญของยุคแห่งสื่อและอิเล็กทรอนิกส์ ที่นำไปสู่การกดติดตาม รีทวีต และกดไลค์ ที่ช่วยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญๆ หลายครั้งทั่วโลก

แฮชแท็กกับการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง

ปัจจุบัน ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์มีส่วนอย่างมากต่อการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ช่วยจุดประกายให้คนทั่วไปได้ทบบวนถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่มีต่อพลเมืองร่วมโลก การเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในแง่ตัวเลขของแฮชแท็กใดแฮชแท็กหนึ่ง อาจนับว่าเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน เมื่อพิจารณาในแง่ของการสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นสำคัญ โดยพบว่า ผู้ใช้ทวิตเตอร์ 335 ล้านคน จะทวีตรวมกันราว 500 ล้านครั้งต่อวัน และกว่าร้อยละ 80 ที่เป็นการทวีตผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นผู้ใช้ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 49 ปี

การมีส่วนร่วมในทางตรงในลักษณะนี้ ได้ก่อให้เกิดความเป็นไปได้ในการสร้างปฏิสัมพันธ์แบบสองทางระหว่างพลเมืองและรัฐบาล ซึ่งหมายความว่า ทั้งสองฝ่ายจะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน และข้อเรียกร้องของประชาชนในด้านความรับผิดชอบและความโปร่งใส จะต้องได้รับการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพ  

แฮชแท็ก นอกจากจะเป็นเครื่องมือเพื่อการท้าทายอำนาจของผู้นำเผด็จการในตะวันออกกลาง เป็นจนถึงการเปิดโปงอาชญากรรมทางเพศที่ซ่อนเร้นในฮอลลีวูด แฮชแท็กยังอาจเป็นเครื่องมือสำหรับการท้าทายอำนาจแบบเบ็ดเสร็จในการควบคุมข้อมูลของรัฐบาล และการเรียกร้องต่อสังคมให้ออกมาตรวจสอบและตั้งข้อสงสัยต่อสิ่งที่เป็นรากฐานสำคัญของสังคมด้วย

แฮชแท็กที่ได้รับความนิยมยังเป็นเครื่องสะท้อนถึงการวิพากษ์วิจารณ์ ความโกรธเกรี้ยว และชี้ให้เห็นถึงความอยุติธรรมที่พบเห็นได้ในทุกสังคม โดยในประเทศประชาธิปไตย จึงมักไม่พบเห็นมาตรการการระงับใช้บริการสื่อออนไลน์ ดังที่พบเห็นในประเทศที่มีผู้นำเผด็จการ และความขัดแย้งในเชิงนโยบายและการเมืองในโลกออนไลน์ อาจนำไปสู่เหตุการณ์สำคัญ เช่นการประท้วงครั้งใหญ่ในกรุงปารีส ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ปัจจุบัน แฮชแท็กจึงเป็นสัญลักษณ์ของเสรีภาพของบุคคลที่จะแสดงออกซึ่งความคิดเห็นใดๆ และนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในทางการเมืองในรูปแบบใหม่  

แฮชแท็กกับการเปลี่ยนแปลงโลก

เมื่อปี 2015 บรรดาคนดัง นักการเมือง และผู้คนทั่วไป ได้ร่วมกันติดแฮชแท็ก #RefugeesWelcome เพื่อกดดันให้แก่รัฐบาลชาติต่างๆ ในสหภาพยุโรป ยอมรับผู้อพยพที่ต้องหนีภัยสงครามในซีเรีย และชี้ให้คนทั่วโลกได้เห็นถึงความพยายามในการเดินทางข้ามทะเลเมดิเตอเรเนียน ที่เต็มไปด้วยภัยอันตราย   ส่วนในปี 2016 แฮชแท็ก #EthnicCleansing ที่เกี่ยวข้องกับการกวาดล้างชาวโรฮิงญาในเมียนมา ได้นำไปสู่การเรียกร้องต่อองค์การสหประชาชาติ  เพื่อสืบสวนเหตุความรุนแรงและการกระทำทารุณต่อชาวโรฮิญาในรัฐยะไข่  

เมื่อปี 2017 คงไม่มีข่าวไหนโด่งดังไปกว่า การล่วงละเมิดทางเพศนักแสดง นางแบบ และลูกจ้างหญิง ที่ยอมเปิดเผยตัวมากกว่า 40 คน ซึ่งกินเวลายาวนานเกือบ 30 ปี ของฮาร์วีย์ ไวน์สตีน (Harvey Weinstein) ผู้สร้างภาพยนตร์ชื่อดังผู้อยู่เบื้องหลังภาพยนตร์คุณภาพจำนวนมาก จนนำไปสู่การเกิด #MeToo แฮชแท็กเพื่อการเคลื่อนไหวของผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศทั่วโลก   จุดเริ่มต้นของ #MeToo เกิดขึ้นเมื่อนักแสดงสาวชาวอเมริกัน อลิซซา มิลาโน และโรส แม็กโกแวน หนึ่งในผู้เสียหาย ได้ออกมาทวีตว่า "หากคุณเคยถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศ จงเขียนสเตตัสว่า ‘Me Too’ แล้วพวกเราอาจจะช่วยให้ผู้คนเข้าใจว่าปัญหานี้ใหญ่โตเพียงใด"

If you’ve been sexually harassed or assaulted write ‘me too’ as a reply to this tweet. pic.twitter.com/k2oeCiUf9n

— Alyssa Milano (@Alyssa_Milano) October 15, 2017

#BlackLivesMatter เป็นแฮชแท็กที่ได้รับเลือกจากสมาคมภาษาถิ่นอเมริกันให้เป็นคำแห่งปี 2014  แฮชแท็กนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2013 หลังเหตุการณ์การเคลื่อนไหวของคนผิวดำในปี 2012 หลังจากตำรวจผิวขาวนายหนึ่งพ้นข้อหาฆาตกรรมวัยรุ่นผิวสีในรัฐฟลอริดา รวมถึงเหตุการณ์สังหารชายผิวสีถูกตำรวจผิวขาวยิงเสียชีวิตที่เมืองเฟอร์กูสัน ชาร์ลส์ตัน และบัลติมอร์ของสหรัฐ เมื่อปี 2014 และที่นครนิวยอร์ก

ส่วนเมื่อปี 2014 ได้เกิดแฮชแท็กที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกอย่าง #ASLIceBucketChallenge  ซึ่งเป็นแคมเปญช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อม หรือ ASL ที่มีเป้าหมายเพื่อรณรงค์ให้คนทั่วไปตื่นตัวเรื่องโรคนี้ โดยเริ่มต้นจากการที่ "พีท เฟรตส์" อดีตนักกีฬาเบสบอลระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ที่ป่วยเป็นโรคนี้ได้เป็นคนจุดประกายแคมเปญนี้ขึ้น เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยโรคนี้   ส่วนเมื่อปี 2014 ได้เกิดแฮชแท็กที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกอย่าง #ASLIceBucketChallenge  ซึ่งเป็นแคมเปญช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากเซลล์ประสาทสั่งการเสื่อม หรือ ASL ที่มีเป้าหมายเพื่อรณรงค์ให้คนทั่วไปตื่นตัวเรื่องโรคนี้ โดยเริ่มต้นจากการที่ "พีท เฟรตส์" อดีตนักกีฬาเบสบอลระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ ที่ป่วยเป็นโรคนี้ได้เป็นคนจุดประกายแคมเปญนี้ขึ้น

ดูโพสต์นี้บน Instagram

#IceBucketChallenge #ALS #SharePainShowCompassion I nominate Adele, Michael Rapino, Vincent Herbert, and Arthur Fogel #RichPeople

โพสต์ที่แชร์โดย Lady Gaga (@ladygaga) เมื่อ ส.ค. 18, 2014 เวลา 5:25am PDT

แคมเปญถูกออกแบบเพื่อให้กลายเป็น "ไวรัล" มาตั้งแต่แรก เนื่องจากผู้เล่นต้องแท็กชื่อเพื่อน 3 คน หากใครรับคำท้าก็ต้องแท็กชื่อเพื่อนต่อไปอีก 3 คน เป็นการท้าทายและส่งสารให้คนในโซเชียล ให้เห็นภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่มีผู้ท้า    

ทุกอย่างมีด้านลบ

แฮชแท็กอาจถูกนำไปใช้เพื่อการข่มเหง ดูถูกเหยียดหยาม และสร้างความแตกแยกในสังคมให้รุนแรงยิ่งขึ้น และอาจช่วยแพร่ขยายสิ่งที่เรียกว่า "เฟคนิวส์" #FakeNews   มันยังอาจสร้างข้อกล่าวหาที่สร้างความเสื่อมเสียและทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง โดยไม่สามารถรับประกันได้ว่าผู้ที่ถูกกล่าวหานั้น จะได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและกระบวนการทางกฎหมายหรือไม่

โดยเฉพาะที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำทารุณ ดูถูกเหยียดหยาม และใส่ร้าย ที่นำไปสู่การตัดสินแบบ "ศาลเตี้ย" ของคนทั่วไป   ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ยังอาจสามารถเผยแพร่ข้อมูลเพื่อมุ่งทำลายบุคคลในโลกออนไลน์ ที่อาจสร้างผลกระทบในวงกว้างในโลกแห่งความเป็นจริง และไม่ต้องรับผิดชอบทางกฎหมายใดๆ การโจมตีผู้อื่น โดยอ้างเหตุผล "ความขุ่นเคืองอันชอบธรรม" "มีเหตุอันชอบธรรม" ยังนำไปสู่รูปแบบสุดขั้วของแนวคิด "เผ่าพันธุ์นิยม" ในโลกออนไลน์ โดยที่หลายคนไม่รู้ตัว ที่ทำให้สิทธิและศักดิ์ศรีของบุคคลหนึ่ง ตกอยู่ในอันตรายอย่างไม่น่าเชื่อ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0