โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

“เสี่ยงสูง ผลตอบแทนสูง” เมื่อกองทุน(ส่วนใหญ่)ต่ำกว่าเงินฝาก

Money2Know

เผยแพร่ 23 ต.ค. 2561 เวลา 09.15 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
“เสี่ยงสูง ผลตอบแทนสูง” เมื่อกองทุน(ส่วนใหญ่)ต่ำกว่าเงินฝาก
คำกล่าวที่ว่า "High Risk, High Return" หรือ "เสี่ยงสูง ผลตอบแทนสูง" ยังเป็นจริงเสมอในตลาดเงินตลาดทุน เมื่อเราไปส่องดูผลตอบแทนการลงทุนประเภทต่างๆ โดยเฉพาะการลงทุนผ่านกองทุนรวมก็จะเห็นชัดว่าการลงทุนในกองทุนที่เชื่อกันว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า "เงินฝาก"

สำหรับในปีนี้ นับตั้งแต่เริ่มศักราช 2561 ความผันผวนต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ช่วงต้นปี ไม่ว่าจะเป็น ราคาทองคำที่ลดลง สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ทะยานสูงขึ้น ความผันผวนของตลาดเงินจากหลายปัจจัย สงครามการค้ามีที่แนวโน้มรุนแรงขึ้น

ในปีนี้ คนที่ไม่ชอบความเสี่ยง ที่เน้นลงทุนไปที่พันธบัตรและ "ฝากเงิน" อาจจะนั่งยิ้มเมื่อเปรียบเทียบกับผลตอบแทนประเภทอื่น เช่น ทองคำ กองทุนรวมประเภทตราสารทุน

โดยเฉพาะกองทุนรวมตราสารทุน ที่มีเงินเข้ากองทุนมหาศาล จากความนิยมของคนไทยมากขึ้นกับการลงทุนประเภทนี้ จะเห็นได้จากปริมาณเม็ดเงินจากกองทุนเข้าตลาดหุ้นจำนวนมากตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว

ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา สถาบันในประเทศ ซื้อหุ้นสุทธิตั้งแต่ต้นปีรวมกันมากถึง 150,787.79 ล้านบาท ขณะที่ นักลงทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นออกตั้งแต่ต้นปี 2561 ถึง วันที่ 22 ต.ค.61 มากถึง 258,597.98 ล้านบาท

ในขณะที่ต่างชาติถือครองพันธบัตรในระดับทรงตัวที่ 956,994 ล้านบาท

จากสถานการณ์ตลาดเงินตลาดทุนในปีนี้ "Money2know"จะพาผู้อ่านลองไปสำรวจผลตอบแทนการลงทุนประเภทต่างๆ โดยหยิบยกเป็นตัวอย่างจากกองทุนรวมประเภทตราสารทุน(หุ้น) กองทุนรวมทองคำ กองทุนรวมน้ำมันและกองทุนรวมตราสารหนี้ โดยเปรียบเทียบกับเงินฝากธนาคาร

จากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เงินฝากเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ มีอัตราผลตอบแทน หรือ ดอกเบี้ย ดังนี้

ออมทรัพย์                      0.05-2.25%

ฝากประจำ3เดือน             0.25-1.55%

ฝากประจำ6เดือน             0.25-1.55%

ฝากประจำ12เดือน           0.25-1.75%

ฝากประจำ24เดือน          1.00-1.75%

ทั้งนี้ ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร

เมื่อเปรียบเทียบกับกองทุนรวมเป็นอย่างไร?

กองทุนรวมตราสารทุน

กองทุนรวมประเภทตราสารทุนที่ได้รับความนิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีผตอบแทนที่โดดเด่น แตในปีนี้ถือว่า"ไม่สดใสมากนัก" หากไปดูรายกองทุนทั้งหมด 193 กองทุน

CIMB-PRINCIPAL EPIF กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ดัชนีธุรกิจพลังงานและธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ นับว่าผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี 10.23% ซึ่งเป็นกองทุนตราสารทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด ณ วันที่ 19 ต.ค. 2561

กองทุนนี้ ให้ผลตอบแทนที่โดดเด่นที่สุด เนื่องจากลงทุนในหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวกับน้ำมัน ซึ่งราคาปรับสูงขึ้น

แต่เมื่อไปดูกองทุนอื่นที่ลงทุนในหุ้น จะเห็นว่าในกลุ่มนี้ มีผลตอบแทนเป็น "บวก" เมื่อเปรียบเทียบตั้งแต่ต้นปี เพียง 10 กองทุนจากทั้งหมด 193 กองทุน และ มีผลตอบแทนมากกว่า 4% เพียง 7 กองทุน

นับเป็นปีที่ย่ำแย่สำหรับกองทุนตราสารทุนในรอบหลายปี

ดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่ WealthMagik 

กองทุนรวมทองคำ

ทองคำถือเป็นอีกประเภทที่ย่ำแย่ เพราะเมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี ปราฏว่าไม่มีกองทุนไหนให้ผลตอบแทนเป็นบวก และกองทุนที่ถือว่าดีที่สุด ก็มีผลตอบแทนติดลบถึง 6.90% คือ

CIMB-PRINCIPAL GOLD8P กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล โกลด์ 8 เปอร์เซ็นต์ ทริกเกอร์ ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี -6.90% NAV ล่าสุด 7.1721 (บาท/หน่วย)

ในปีนี้ อาจเป็นปีที่ย่ำแย่ที่สุดของกองทุนรวมทองคำ ไม่มีกองทุนใดเลยที่ให้ผลตอบแทนเป็น "บวก" ทุกกองทุนที่ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ล้วนแต่มีผลตอบแทน "ติดลบ" ทุกกองทุน ซึ่งมากน้อยขึ้นกับการบริหารของแต่ละแห่ง

ดูรายละเอียดกองทุนทองคำ 

กองทุนรวมน้ำมัน

กองทุนรวมน้ำมัน ถือว่าเป็นกองทุนที่"สดใสที่สุดในบรรดากองทุนทุกประเภท โดยมีอัตราผลตอบแทนค่อนข้างสูงมากเป็นประวัติการณ์ ไม่ว่าจะเปรียบเทียบย้อนหลัง 1 ปี หรือ ดูจากเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

กองทุนน้ำมันที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา คือ SCBOIL กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ออยล์ ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี 29.93% NAV ล่าสุด 5.0402 (บาท/หน่วย)

เมื่อเปรียบเทียบกับกองทุนน้ำมันของบลจ.อื่นๆ ก็จะเห็นว่ามีอัตราผลตอบแทนไม่ต่างกันนัก จากทั้งหมด 9 กองทุน มีอัตราผลตอบแทยไม่ต่ำกว่า 20%

ดูรายละเอียดกองทุนน้ำมัน 

กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น-ระยะกลาง

กองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นอีกประเภทของกองทุนที่เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ไม่ชอบความเสี่ยง ซึ่งผลตอบแทนในปีนี้ถือว่าอยูในระดับเดียวกับเงินฝากธนาคารพาณิชย์ อาทิ

ONE-HYPER กองทุนเปิด วรรณ ไฮเปอร์ ไฟแนนเชียล อินสตรูเมนท์ ฟันด์ ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย  ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดประเภทตราสารหนี้ระยะสั้น มีผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี 1.50% NAV ล่าสุด 10.6787 (บาท/หน่วย)

CIMB-PRINCIPAL (FAM) FIกองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล (แฟม) ตราสารหนี้ เป็นกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดประเภทตราสารหนี้ระยะกลาง มีผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี 1.14% NAV ล่าสุด 13.3849 (บาท/หน่วย)

ตัวอย่าง กองทุนรวมข้างต้น เป็นเพียงหยิบยกมาให้เห็นผลตอบแทนแต่ละประเภท ซึ่งยังมีอีกหลายหลากหลายประเภท ที่ยังให้ผลตอบแทนที่ดี อาทิ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพประเภทตราสารทุน เป็นต้น แต่โดยทั่วไปแล้ว เป็นปีที่ไม่"สดใส"สำหรับการลงทุนผ่านกองทุนรวมในปีนี้

อย่างไรก็ตาม หลักการลงทุนในกองทุนรวม คือ การลงทุนระยะยาว ดังนั้นหากดูผลตอบแทนระยะสั้นเพียง 1 ปี อาจจะไม่เร้าใจนักสำหรับคนที่ชอบลงทุนระยะสั้น ซึ่งการหยิบยกมาเปรียบเทียบ เพื่อแสดงให้เห็นผลดำเนินงานในปีนี้เท่านั้น

ดังนั้น ใครชอบลงทุนประเภทไหน และชอบลงทุนแบบไหน ขึ้นกับจริตแต่ละคน ที่จะเลือกได้ตามความเหมาะสม เพียงแต่ต้องการเสนอให้เห็นว่าปีนี้เป็นปีที่ไม่สดใสสำหรับการลงทุนผ่านกองทุน "บางประเภท" เนื่องจากภาวะความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนโลกนั่นเอง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0