โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“เรียนไม่เก่ง โดนล้อ โรคซึมเศร้า” แกะปมโศกนาฏกรรม “เด็กฆ่าตัวตาย

Manager Online

อัพเดต 19 ส.ค. 2561 เวลา 12.49 น. • เผยแพร่ 19 ส.ค. 2561 เวลา 12.49 น. • MGR Online

เรามันก็แค่เด็กโง่!” เด็ก ป.6 เครียดจัดหลังถูกต่อว่าทำโจทย์เลขไม่ได้ เขียนข้อความลาตาย ตัดพ้อ อยู่ไปก็เป็นเสนียด! ของครูและเพื่อน อายขอลาตายดีกว่า ความกดดันของสังคมที่อ้างปรารถนาดี นับวันยิ่งเป็นปัญหาหยั่งรากฝังลึกให้เด็กกดดัน เพราะก่อนหน้านี้ก็มีเคสเด็ก ม.6 กระโดดตึกฆ่าตัวตายเพราะภาวะซึมเศร้ามาแล้ว จิตแพทย์ชี้เคี่ยวเข็ญลูกให้เรียนหนักกลายเป็นแรงกดดัน เป็นเคราะห์กรรมจากสิ่งที่พ่อแม่กระทำ!

ปม?ปลิดชีวิต

"เราก็แค่เด็กโง่ ที่ทำอะไรไม่เป็น เราไม่อยากอยู่ในโลกนี้อีกต่อไปแล้ว ขอตายดีกว่าที่ต้องมานั่งเสียใจกับคณิต อยู่ไปก็เป็นเสนียดของครูของเพื่อนรวมทั้งครอบครัว ไม่ว่าจะทำอะไรก็มีแต่คนรังเกียจ มีแต่ความอายนะ ไม่อยากอยู่ต่ออีกแล้วยอมตายดีกว่า"

ข้อความลาตายในเศษกระดาษเขียนโจทย์วิชาคณิตศาสตร์ของเด็กชายวัย 11 ขวบ ชั้น ป.6 ทำเอาสังคมช็อก เพราะในข้อความนั้นเต็มไปด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจของเด็ก ซึ่งเป็นวัยที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

สังคมตั้งคำถาม ทำไมข่าวการฆ่าตัวตายของเด็กนั้นจึงพบรายวัน เพราะก่อนหน้านี้ได้มีข่าวทำนองเดียวกัน เด็ก ม.6 กระโดดลงมาจากตึกโรงเรียนกระแทกพื้นเสียชีวิต โดยเพื่อนนักเรียนชั้นเดียวกันเผยว่าในวันดังกล่าวน้องมีอาการค่อนข้างเครียดมาก บางกระแสบอกว่า น้องโดนเพื่อนล้อว่า “อ้วน” อยู่บ่อยๆ

ทว่า ทางโรงเรียนได้ออกมาเปิดเผยถึงสาเหตุโดยสันนิษฐานว่า เกิดจากอาการของโรคซึมเศร้า และความเครียด ไม่เกี่ยวกับความน้อยใจที่ถูกล้อว่าอ้วน ยืนยันเพื่อน ๆ ไม่ได้รังเกียจ หากมีงานก็จะดึงเข้ากลุ่มอยู่เสมอ

พร้อมยืนยันว่า น้องเป็นคนค่อนข้างเก็บกดและชอบอยู่คนเดียว อีกทั้งการที่ครอบครัวแตกแยก ทำให้ค่อนข้างเครียด จึงอาจเป็นสาเหตุสำคัญให้ตัดสินใจผิดในครั้งนี้

เช่นเดียวกับเคสของเด็กชายวัย 14 ปี เครียดน้อยใจตนเองเรียนไม่เก่ง จึงขอผูกคอตายชีวิตในสวนหลังบ้าน พฤติกรรมของน้องก่อนเสียชีวิต จะไม่ยอมไปโรงเรียน เพราะผลการเรียนไม่ค่อยดี จึงมักจะถูกญาติๆ ว่ากล่าวตักเตือนบ่อยๆ ทำให้เกิดอาการน้อยใจคิดสั้น

ปัญหาเด็กฆ่าตัวตายนับว่าเป็นปัญหาระดับโลก ส่วนใหญ่เกิดจากความกดดันจากคนรอบข้าง

อย่างเหตุสลดเด็กนักเรียนจีน ป.4 ซดยาพิษตาย เพราะโรงเรียนไม่ให้สอบ และนักเรียนหญิงจีนวัย 11 ปี ก่อเหตุสะเทือนขวัญ กระโดดจากห้องพักบนอพาร์ทเมนต์ชั้น 7 เสียชีวิต หลังจากถูกอาจารย์ตำหนิ ฐานทำการบ้านไม่เสร็จและให้กลับบ้านไปการบ้านให้เสร็จ

นอกจากนี้ ในอเมริกาก็มีเด็กชายวัย 12 ปี ฆ่าตัวตาย เพราะทนไม่ไหวที่ถูกล้อ โดนเหยียดหยามจากเพื่อนร่วมห้อง ถูกล้อเป็น "เชียร์ลีดเดอร์ตุ๊ด" เพราะเห็นว่าเขาเป็นเชียร์ลีดเดอร์ ร่วมกับเด็กผู้หญิง

ปมเรียนไม่เก่ง ถูกเพื่อนล้อ โรคซึมเศร้า เป็นปัญหาใหญ่ของเด็กทั่วโลกที่เกิดขึ้นรายวัน สำหรับประเทศไทยพบว่ามีวัยรุ่นพยายามฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้น จากข้อมูลปี 2559 ประเทศไทยมีอัตราผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จอยู่ที่ 6.35 ต่อประชากรแสนคน

ความคาดหวัง คืออันตราย!

“บางครอบครัวขีดเส้นให้ลูกต้องเป็นหมอ พ่อแม่ก็ไปแสวงหาที่กวดวิชาที่จะสอบเข้าแพทย์ให้ได้ ไม่ว่าจะเสียเงินเท่าไร ก็ยอมจ่าย แล้วก็ไปเคี่ยวเข็ญลูกให้เรียน ให้ทบทวน ให้อ่าน ให้เลือกสอบคณะแพทย์ ”

วิธีการที่พ่อแม่กระทำเช่นนี้ ได้กลายเป็นแรงกดดันที่ถ่ายทอดไปยังลูก และลูกนั่นแหละกำลังรับเคราะห์กรรมจากสิ่งที่พ่อแม่กระทำ สิ่งเหล่านี้กำลังกายเป็น 'พ่อแม่รังเกฉัน' ขณะที่เด็กบางคน มีภาวะเครียด อันเกิดจากการคร่ำเคร่งกับการเรียนเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเด็กเอง โดยที่พ่อแม่ก็ไม่ได้กดดันแต่อย่างใด

พฤติกรรมที่นำไปสู่ ความเครียดของเด็กที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย จึงเป็นสิ่งที่พ่อแม่และผู้ปกครองไม่ควรเพิกเฉย เพราะอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า และฆ่าตัวตายได้ในที่สุด หากเด็กไม่ได้รับการแก้ไขหรือชี้แนะแนวทางอย่างถูกต้อง

รศ.นพ. ศิริไชย หงส์สงวนศรี จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุว่า ปัจจุบันเด็กไทยมีแนวโน้มเกิดความเครียดซึ่งเกิดจากการกดดันจากการเรียนมากขึ้น โดยเฉพาะเด็ก ม 6 ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย และปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กเกิดภาวะกดดันตัวเองและนำไปสู่ความเครียดมากที่สุดก็คือการคาดหวังของพ่อแม่ หรือของตัวเด็กเอง

การที่เด็กมีความเครียดได้ง่าย เป็นเพราะเด็กไทยเติบโตในท่ามกลางบรรยากาศที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น จากครอบครัวขยาย ลงสู่ครอบครัวเล็ก ๆ และเดิมมีลูกมาก ก็เหลือลูกน้อย 1-2 คน อีกทั้งสถานภาพครอบครัวก็มีการหย่าร้างสูงขึ้น เด็กจึงตกอยู่ในสภาพครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว คือลูกอยู่กับพ่อ หรืออยู่กับแม่ ตรงนี้จึงส่งผลกระทบต่อเด็ก

แต่ละครอบครัวมีลูกแค่ 1-2 คน และสภาวะที่เป็นอยู่เด็กจึงเกิดมาภายใต้บรรยากาศ ที่พ่อแม่ ตั้งเป้าหมาย ทุ่มเท แข่งขัน และคาดหวัง โดยเฉพาะด้านการเรียน เริ่มจากประถม มัธยม และมหาลัย เรียกว่า เด็กต้องสะสมแต้มทุกช่วงวัย”

คุณหมอ ศิริไชย ย้ำว่า เมื่อเราไม่ได้สร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก และไม่ได้สร้างวินัย รวมทั้งไม่ได้ฝึกความรับผิดชอบหรือมอบหมายกิจกรรมให้ทำนอกเหนือจากด้านการเรียน ส่งผลให้เด็กปัจจุบันรู้สึกว่าไร้ค่า และมีผลต่อเด็กพอสมควร

ประธานมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก วิเคราะห์ปัญหาเด็กฆ่าตัวตาย จาก 2 ประเด็น ภาวะซึมเศร้า และความรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า

1.ภาวะซึมเศร้า(depressed) และคำว่าความเศร้า (sad) มีความหมายเหมือนกัน แต่ในทางคลินิกแล้วภาวะซึมเศร้าจะประกอบด้วยความรู้สึกมากกว่า 1 อย่าง อาทิ ความโกรธ, ความกลัว, ความกังวล, ความสิ้นหวัง, ความรู้สึกผิด, ความไร้อารมณ์ และ/หรือความเศร้า จัดเป็นภาวะที่อันตรายต่อร่างกายและมีผลกระทบต่อการทำงานของสมอง

2. ความรู้สึกเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของตนเอง(Identity) เป็นด้านลบ ได้แก่ ความรับรู้เกี่ยวกับตนเอง (sense of self) เด็กจะรู้สึกว่าตนเป็นคนไม่ดี เป็นคนบาป เป็นคนที่ไม่มีใครรักใครชอบไม่มีใครต้องการ รวมทั้งมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนไม่มีคุณค่า (Low self-esteem) ซึ่งอาจรวมไปถึงรู้สึกว่าตนเป็นคนไร้ความสามารถไม่สามารถประสบความสำเร็จใดๆ

บ่อเกิดของการฆ่าตัวตายของเด็กที่อยู่ในภาวะอารมณ์จิตใจของความโกรธ, ความกลัว, ความกังวล, ความสิ้นหวัง, ความรู้สึกผิด, ความไร้อารมณ์ และ/หรือความเศร้า รวมทั้งรู้สึกว่าตนเป็นคนไม่ดี เป็นคนบาป เป็นคนที่ไม่มีใครรักใครชอบไม่มีใครต้องการ

รวมทั้งมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนไม่มีคุณค่าเหล่านี้ นับเป็นเชื้อไฟที่ไวมากต่อการตัดสินใจฆ่าตัวตาย ยิ่งเมื่อเด็กกำลังอยู่ในวัยรุ่นต้น คืออายุระหว่าง 12 ปี ถึง 15 ปีโดยประมาณ ก็จะยิ่งเหมือนการเพิ่มความเร็วของการตัดสินใจฆ่าตัวตายมากยิ่งขึ้น

….การไปพบจิตแพทย์เพื่อรักษาโรคซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องน่าอาย เช่นเดียวกับที่ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย แนะป่วยกายก็ไปหาหมอตรวจร่างกาย ถ้าจิตใจไม่สบายก็ไปให้จิตแพทย์รักษา การไปพบจิตแพทย์ไม่ได้แปลว่าเป็น “โรคจิต” ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อโบราณที่ควรจะหมดไปได้แล้ว เ

เพราะทางการแพทย์ค้นพบแล้วว่าโรคซึมเศร้ารักษาได้อย่างแน่นอน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0