โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

“เทศกาลบอลลูน” สูตรปั้น Love Destination ของ “สิงห์ปาร์ค”

Positioningmag

อัพเดต 16 ก.พ. 2562 เวลา 07.25 น. • เผยแพร่ 16 ก.พ. 2562 เวลา 07.11 น.

“การท่องเที่ยว” ถือเป็นตลาดที่ใหญ่โตมโหฬาร เฉพาะปี2018 ที่ผ่านมามีเม็ดเงินสะพัดกว่า3 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ2 ล้านล้านบาท และคนไทยเที่ยวไทยด้วยกันเองอีกราว1 ล้านล้านบาท

แต่ถึงจะมีน่านน้ำขนาดใหญ่ที่ใครๆ ก็แทรกตัวเข้าไปอยู่ได้ หากยุคนี้การจะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ไปยังสถานที่นั้นๆ และมีชื่อเสียงโด่งดังจนนักท่องเที่ยวอยากไป นอกจากสถานที่แล้ว“อีเวนต์” คือแรงดึงที่ขาดไปไม่ได้ ซึ่งสิ่งสำคัญอยู่ที่ต้อง“แตกต่าง” จากคนอื่น ไม่จัดซ้ำกันจนดึงนักท่องเที่ยวกันเอง

สูตรที่ว่านี้คือสูตรที่“สิงห์ปาร์ค” ทำอยู่ ซึ่งแต่ละปีจะมีการจัดอีเวนต์ขนาดใหญ่ปีละ2 ครั้ง ได้แต่Singha Park Chiangrai Farm Festival On The Hill ที่มักจะจัดในช่วงปลายปี และSingha International Balloon Fiesta ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งแต่ละงานก็ถูกวางเป้าหมายต่างกัน

อย่าง“Farm Festival” ก็เป็นการกระตุ้นช่วงต้นฤดูการท่องเที่ยวของเชียงราย ซึ่งจริงๆ แล้วจะว่าไปเทศกาลดนตรีในเมืองไทยก็มีอยู่หลายงานใหญ่ และมักจะจัดในฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่อากาศดีที่สุดอยู่แล้ว ดังนั้นความน่าสนใจอยู่ที่“Balloon Fiesta” หรือ“เทศกาลบอลลูน”

พงษ์รัตน์ เหลืองธำรงเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สิงห์ปาร์ค เชียงราย จำกัด อธิบายว่า“เทศกาลบอลลูน” เกิดขึ้นเพราะต้องการให้ฤดูกาลท่องเที่ยวไฮซีชั่นของ“เชียงราย ซึ่งเป็นเมืองรองขยายออกไปอีก จากเดิมที่นักท่องเที่ยวจะหนาแน่นในฤดูหนาวที่กินเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน- มกราคม แต่ต้องการขยายไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ด้วย

เพียงแต่การจะมีแค่“บอลลูน” ซึ่งปรกติคนไทยก็ไม่ค่อยได้เห็นกันบ่อยนักอย่างเดียว ก็อาจไม่ดึงดูดดูดและสร้างการจดจำที่เพียงพอ จึงต้องคิดคอนเซปต์ให้โดดเด่น ประกอบกับเดือนกุมภาพันธ์มี1 วันที่คนรู้จักกันดีคือ วันที่14 หรือวันแห่งความรัก จึงได้นำมาร่วมกันและวางเทศกาลบอลลูนเป็น“Love Destination”

เพราะภายในงานจะมีการจัดเลือกคู่รัก มาจดทะเบียนสมรส ณ สิงห์ปาร์ค เชียงรายในช่วงเช้า ทั้งยังได้ขึ้นบอลลูนไปตะโกน ”บอกเลิฟกับคนรัก” บนท้องฟ้า แบบ Exclusive ชมความสวยงามของจังหวัดเชียงรายแบบ 360 องศาในตอนสายๆ ซึ่งในปี 2019 มีทั้งหมด 20 คู่ด้วยกัน ด้าน “บอลลูนแฟนซี” หลากหลายสีสันที่สวยงามมีทั้งหมด 35 ลูก จาก 13 ประเทศทั่วโลก โดยมีการแข่งขันบอลลูนน เพื่อชิงถ้วยรางวัลและเงินรางวัลกว่า 500,000 บาทด้วย

การแข่งขันบอลลูนไม่ได้เน้นแข่งอย่างจริงจัง แต่ต้องการเอ็นเตอร์เทนคนดูและให้มีส่วนร่วมด้วย สังเกตได้เลยบอลลูนไม่ได้ไกลจากคนที่มาดูมากนัก

นอกการบอลลูนแล้วยังได้เพิ่มกิมมิคของงานขึ้นมาอีก 2 กิจกรรมได้แก่ 1.การแสดงโขนกลางแปลงแบบเต็มคณะ เรื่องรามเกียรติ์ ในตอนชื่อ "อินทรชิตแผลงศรนาคบาศ" มีผู้ร่วมแสดงกว่า 100 ชีวิต จากกลุ่มศิลปินวังหน้าในวันที่ 16 และ 17 กุมภาพันธ์ ปีนี้ตัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แล้ว

  1. ร่วมกับศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงราย จัดกิจกรรม มหัศจรรย์สีสันคนบนดอย นำศิลปะ และวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขา 9 เผ่า ในจังหวัดเชียงรายมาจัดแสดง แต่ไฮไลท์สำคัญอยู่ที่การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านชนเผ่าจำนวน 11 ชนิดกีฬา “พงษ์รัตน์บอกว่าสำหรับการแข่งขันกีฬาปีนี้ถือเป็นปีทดลอง หากเป็นไปด้วยดีอาจจะยกขึ้นมาเป็นอีกอีเวนต์แยกเลยก็ได้

ทั้งนี้ “เทศกาลบอลลูน” จัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 แล้ว ใช้งบการจัดงาน 30 ล้านบาท คาดว่ามีทราฟฟิคตลอด 5 วันของการจัดงาน 300,000 คน เพิ่มขึ้นจากครั้งแรกที่มีทราฟฟิคประมาณ 100,000 ราย.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0