โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

“เครื่องเร่งกระบวนการฯ เพิ่มมูลค่าข้าวฮางงอก” พิชิตรางวัลสุดยอดนวัตกรรม

เส้นทางเศรษฐี

อัพเดต 19 ส.ค. 2562 เวลา 07.34 น. • เผยแพร่ 19 ส.ค. 2562 เวลา 07.34 น.
เครื่องเร่งกระบวรการแช่

“เครื่องเร่งกระบวนการฯ เพิ่มมูลค่าข้าวฮางงอก” พิชิตรางวัลสุดยอดนวัตกรรม

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ จัดงาน Regional Science Park (RSP) Innovation Day 2019

โดยภายในงาน มีการประกาศผลรางวัลสุดยอดนวัตกรรมระดับประเทศ (MOST Innovation Awards 2019) สาขานวัตกรรมและกระบวนการเชิงพาณิชย์ ได้แก่ เครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะเมล็ดพืชของ ผศ.ดร.สุพรรณ ยั่งยืน จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นนวัตกรรมเพื่อใช้เร่งการแช่และเพาะงอกเมล็ดพืชให้เกิดขึ้นในเวลารวดเร็ว โดยไม่ต้องทำการเติมสารเร่ง ปรับสภาพน้ำ ลดปริมาณการใช้น้ำ และลดแรงงานด้วยหลักการให้น้ำไหลผ่านร่วมกับการบ่มงอกให้เกิดขึ้นในภาชนะเดียวกัน

ผศ.ดร.สุพรรณ กล่าวว่า องค์ความรู้ในการผลิตข้าวฮางงอก เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวเผ่าภูไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สืบต่อกันมากว่า 200 ปี มีกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน และใช้เวลานานถึง 7 วัน กว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ข้าวฮางงอกออกมาได้ ทางทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงนำเทคโนโลยีกระบวนการทางด้านวิศวกรรมเข้ามาช่วยพัฒนาปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดระยะเวลาและเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเพิ่มความสะดวกสบายในการปฏิบัติงาน

ทั้งนี้ การแปรรูปข้าวฮางงอกอินทรีย์คุณภาพสูง หรือที่เรียกว่า “ข้าวสปา” นั้น เป็นการพัฒนากระบวนการแปรรูปข้าวเปลือกแบบเพาะงอก หรือ “ข้าวฮางงอก” ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวภูไทที่มีขั้นตอนการผลิตรวม 7 วัน ให้เหลือเพียง 2 วัน มีความสะดวก รวดเร็ว และคุณภาพดีเด่น ด้วยการนำ นวัตกรรมเครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอก ช่วยในกระบวนการสำคัญคือ การทำให้ข้าวเปลือกงอก เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของปริมาณสารกาบา ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายหลายด้าน นอกจากนี้ยังลดการใช้น้ำน้อยลง และสามารถนำน้ำเวียนกลับมาใช้ซ้ำได้ร่วมเดือน ลดการใช้พื้นที่ตากลดความชื้น และลดการปนเปื้อน ที่สำคัญลดต้นทุนแปรผัน ด้านเวลา แรงงาน ความสามารถหรือกำลังการผลิตสูงขึ้น

“การผลิตข้าวฮางงอก มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย กิโลกรัมละ 35 บาท สามารถขายปลีกได้ ในราคา 100-120 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ ยังขยายฐานลูกค้าใหม่ เช่น เป็นอาหารทางเลือกสำหรับไก่ชน โดยขายปลีกได้ ในราคากิโลกรัมละ 50 บาท เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน เนื่องจากผลิตได้รวดเร็ว และคาดการณ์ปริมาณผลผลิตได้ สามารถผลิตได้ตลอดทั้งปี ไม่ขึ้นกับสภาพอากาศ การแปรรูปข้าวดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มจากการขายข้าว คิดเป็นร้อยละ 50  นอกจากนี้ ยังมีโอกาสพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ข้าวฮางงอก เช่น ข้าวนึ่งฮางงอก ขนมจีนฮางงอก เป็นต้น” ผศ.ดร.สุพรรณ กล่าว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0