โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“เขื่อนไซยะบุรี” จุดเริ่มต้นของหายนะสิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำโขง

สยามรัฐ

อัพเดต 17 ต.ค. 2562 เวลา 03.04 น. • เผยแพร่ 17 ต.ค. 2562 เวลา 03.04 น. • สยามรัฐออนไลน์
“เขื่อนไซยะบุรี” จุดเริ่มต้นของหายนะสิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำโขง

เพจ หยุดเขื่อนไซยะบุรี (stop Xayaburi Dam) ได้รายงานเรื่องเขื่อน ไซยะบุรี ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

The Mekong river channel in upstream over 40 kilometers aways from Xayaburi dam, the bird-eye view photo shows the water is fulling into a main channel and flood over the mount of a tributary. This's the totally difference in term of water level and flows with downstream in Chaing Karn, Sangkom and Nong Kai in Thailand where the water is so drought and the rapid and sand bar is emerging and many fish are dried because of less water.
The Xayaburi dam claims a run of river dam is not storage water, the water inflows in upstream and downstream equally flow, according to those photos show how the river is totally differences between 2 sections. what's exactly answer?

สภาพแม่น้ำโขง บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำโขงบ้านท่าเดื่อ แขวงไซยะบุรี -ปากคอน เมืองนาน แขวงหลวงพระบาง เหนือหัวงานเขื่อนไซยะบุรีขึ้นมาราว 40 กิโลเมตร จะเห็นว่า น้ำโขงมีน้ำเต็มตลิ่งและไหลเข้าไปยังลำสาขาต่างๆอีกด้วย ขณะที่ท้ายเขื่อนน้ำโขงในเขตเมืองปากลาย เชียงคาน สังคม หนองคาย ของไทย ระดับน้ำแห้งเหือดจนเห็นโขดหินและหาดทราย
ตั้งข้อสังเกตการทำงานเขื่อนไซยะบุรีที่บอกว่าไม่ได้กักน้ำไว้ เพราะเป็นเขื่อนแบบฝายน้ำล้น น้ำเข้าเท่ากับน้ำออก แต่ทำไมปริมาณน้ำของตอนบนและล่าง มันต่างกันลิบลับ?
ปล.แถมสีของน้ำก็เริ่มเป็นสีเขียว เหมือนน้ำนิ่งตกตะกอน คำตอบอยู่ตรงไหน?

ภาพจากเพจ
https://www.facebook.com/tholakhong/photos/a.629942943704048/28026525630…
อีกทั้ง “สำนักข่าวชายขอบ” TransborderNEWS ได้รายงานข่าว “เมื่อกระแสโลกจับตา เขื่อนบนแม่น้ำโขง” ไว้อย่างน่าสนใจ โดย รายงานว่า ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวสถานการณ์และภัยคุกคามแม่น้ำโขงได้กลายเป็นกระแสระดับนานาชาติ โดยสื่อมวลชนหลายสำนักข่าวใหญ่ต่างพากันลงพื้นที่และเจาะลึกรายงานสู่สาธารณชนไว้อย่างน่าสนใจ(อ่านรายงานได้ที่ https://transbordernews.in.th/home/?p=23909)

และสำนักข่าว วีโอเอ ภาคภาษาไทย ก็ได้รายงานข่าว “หวั่น "เขื่อนไซยะบุรี" จุดเริ่มต้นของหายนะสิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำโขง” (อ่านต่อได้ที่ https://www.voathai.com/a/laos-dam-xayaburi/5075109.html)

ทั้งนี้ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงเป็นอย่างมาก บางจุดแห้งขอดจนเห็นเกาะแก่ง สันดอนทราย สร้างผลกระทบตลอดพื้นที่ท้ายเขื่อนไซยะบุรี โดยต้นเหตุของปัญหาก็คือการกักเก็บน้ำของเขื่อนไซยะบุรี ในประเทศลาว เพื่อทดสอบผลิตกระแสไฟฟ้า การเดินเรือขนส่งสินค้ายากลำบากการผลิตน้ำประปาก็สูบแทบจะไม่ขึ้น

ที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี เครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง 7 จังหวัดอีสาน ยื่นหนังสือผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการซื้อขายไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรี ประเทศลาว โดยอ้างว่าโครงการนี้ส่งผลกระทบต่อพันธุ์ปลา รวมทั้งวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขง

โดย เครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน เข้าพบนายวิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย (ในขณะนั้น) เพื่อนำเสนอปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ 7 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ที่เกิดจากการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงของประเทศจีนทั้ง 4 เขื่อน รวมทั้งผลกระทบจากการสร้างเขื่อนไซยะบุรีของประเทศลาว ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง พร้อมยื่นหนังสือไปยังรัฐบาลเพื่อให้ยกเลิกการซื้อขายไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรี

โดยเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน ได้ทำการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 10 ตำบล 7 จังหวัดภาคอีสาน พบว่าส่งผลกระทบต่อพันธุ์ปลาที่ลดลง รวมทั้งการประกอบอาชีพเกษตรริมโขง คาดว่าการสร้างเขื่อนไซยะบุรีก็จะส่งผลกระทบเช่นกัน จึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อให้มีคำสั่งยกเลิกการซื้อไฟฟ้า ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กับ บริษัท ไซยะบุรีพาวเวอร์ จำกัด

ขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย กล่าวยอมรับว่า การสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง ส่งผลกระทบต่อจังหวัดหนองคาย ระดับน้ำโขงขึ้น-ลงผิดปกติ พร้อมรับปากว่าจะนำข้อเรียกร้องของทางเครือข่ายนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ โครงการเขื่อนไซยะบุรี อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2562 มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 1,285 เมกะวัตต์ โดยกว่าร้อยละ 95 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับซื้อ

อนึ่ง คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ได้จัดทำการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการบริหารจัดการแม่น้ำโขงที่ยั่งยืน รวมทั้งผลกระทบจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน’ (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘การศึกษาของคณะมนตรีแม่น้ำโขง’) ซึ่งผลการศึกษาชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แผนการพัฒนาโครงการเขื่อนไฟฟ้า 11 โครงการบนแม่น้ำโขงตอนล่าง และเขื่อนอีก 120 แห่งในแม่น้ำสาขาภายในปี 2583 เป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อนิเวศวิทยาและเศรษฐกิจของภูมิภาค รวมทั้งกระทบต่อการเข้าถึงอาหารของประชาชนในท้องถิ่น.

ภัทรวินทร์ ลีปาน
หนองคาย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0