โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“อมนุษย์” ในรตนสูตร (แต่) ...โควิด-19 ไม่ใช่อมนุษย์

สยามรัฐ

อัพเดต 03 เม.ย. 2563 เวลา 17.10 น. • เผยแพร่ 03 เม.ย. 2563 เวลา 17.10 น. • สยามรัฐออนไลน์
“อมนุษย์” ในรตนสูตร (แต่) ...โควิด-19 ไม่ใช่อมนุษย์

คนข้างวัด / อุทัย บุญเย็น

ในฉบับที่แล้ว ได้เขียนรตนสูตร เป็นภาษาบาลีไว้ 6 พระคาถา ตั้งใจจะเขียนให้จบในฉบับนี้ ซึ่งรตนสูตรทั้งหมดมี 14 พระคาถา แต่ได้ฟังพระสงฆ์ที่วัดแห่งหนึ่ง ท่านกล่าวในวันที่สวดมนต์ทั่วประเทศเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า รตนสูตรที่ท่านสวดมี 11 พระคาถา ก็เลยคิดว่าจะเขียนถึงรตนสูตรทั้ง 14 พระคาถา อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่พระคาถาที่ 1 ใหม่ และจะวางพระคาถานั้นใหม่ โดยเรียงพระคาถาให้พิมพ์บาทละบรรทัด ไม่ใช่บรรทัดละ 2 บาทคู่กัน อย่างที่เขียนในฉบับที่แล้ว ซึ่งยากแก่การพิมพ์ให้เข้าใจง่าย

ขออธิบายเพิ่มเติมอีกว่า คำฉันท์ในภาษาบาลีเรียกฉันท์จำนวน 1 บรรทัดเป็น 1 บาท (ถ้าเรียงฉันท์เป็นคู่ ก็เรียกฉันท์ว่า 2 บาท) ไม่มีคำว่า “วรรค” อย่างในบทกลอนของไทยที่เรียกกลอน 2 บาท เป็น 1 วรรค และเรียกกลอน 4 บาท หรือ 2 วรรคเป็น 1 บท

คำฉันท์ในภาษาบาลีเรียกฉันท์ 4 บาท (4 บรรทัด อย่างที่เขียนในวันนี้) เป็น 1 คาถา (ไม่เรียกว่าฉันท์ 1 บท) ถ้าจำนวนคาถาเกินไป 2 บรรทัด เรียกฉันท์ที่เกินไปนั้นว่า “กึ่งคาถา” (ซึ่งมีอยู่บ่อยๆ)

(ส่วนที่เรียกว่า “พระคาถา” หมายถึงคาถาที่ตรัสโดยพระพุทธเจ้า และคำว่า “คาถา” นี้แหละ กลายมาเป็น “คาถาอาคม” ในภาษาไทย ในภาษาไทยเมื่อพูดว่าคาถา มักจะเข้าใจว่าเป็น คาถาอาคม แต่ความจริง คาถาหมายถึงบทร้อยกรองหรือฉันท์ในภาษาบาลี)

เพื่อให้เห็นชัดว่า รตนสูตร 14 พระคาถา ว่าอย่างไรบ้าง ขอกล่าวรตนสูตร (ในรูปคาถา) ที่เป็นคาถาบาลีทั้ง 14 พระคาถา ให้จบรวดเดียว ส่วนคำแปลก็จะวางรวมกันหลังจากฉันท์ หรือพระคาถาบาลี โดยใส่หมายเลขในวงเล็บ ให้รู้ว่าเป็นคำแปลของพระคาถาที่เท่าใด ดังนี้

พระคาถาที่ 1
ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ,
ภุมฺมานิ วา ยานิ ว อนฺตลิกฺเข
สพฺเพว ภูตา สุมนา ภวนฺตุ,
อโถปิ สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิตํ ฯ

พระคาถาที่ 2
ตสฺมา หิ ภูตา นิสาเมถ สพฺเพ,
เมตฺตํ กโรถ มานุสิยา ปชาย
ทิวา จ รตฺโต จ หรนฺติ เย พลึ,
ตสฺมา หิ เน รกฺขถ อปฺปมตฺตา,

พระคาถาที่ 3
ยงฺ กิญฺจิ วิตฺตํ อิธ วา หุรงฺ วา,
สคฺเคสุ วา ยํ รตนํ ปณีตํ
น โน สมํ อตฺถิ ตถาคเตน
อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

พระคาถาที่ 4
ขยํ วิราคํ อมตํ ปณีตํ
ยทชฺฌคา สกฺยมุนี สมาหิโต
น เตน ธมฺเมน สมตฺถิ กิญฺจิ
อิทมฺปิ ธมฺเม รตนํ ปณีตํ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

พระคาถาที่ 5
ยมฺพุทฺธเสฏฺโฐ ปริวณฺณยี สุจึ
สมาธิมานนฺตริกญฺญมาหุ
สมาธินา เตน สโม น วิชฺชติ
อิทมฺปิ ธมฺเม รตนํ ปณีตํ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

พระคาถาที่ 6
เย ปุคฺคลา อฏฺฐสตํ ปสตฺถา
จตฺตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนฺติ
เต ทกฺขิเณยฺยา สุคตสฺส สาวกา
เอเตสุ ทินฺนานิ มหปฺผลานิ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

พระคาถาที่ 7
เย สุปฺปยุตฺตา มนสา ทฬฺเหน
นิกฺกามิโน โคตมสาสนมฺหิ
เต ปตฺติปตฺตา อมตํ วิคยฺห
ลทฺธา มุธา นิพฺพุตึ ภุญฺชมานา
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

พระคาถาที่ 8
ยถินฺทขีโล ปฐวึ สิโต สิยา
จตุพฺพิ วาเตภิ อสมฺปิกมฺปิโย
ตถูปมํ สปฺปุริสํ วทามิ
โย อริยสจฺจานิ อเวจฺจ ปสฺสติ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

พระคาถาที่ 9
เย อริยสจฺจานิ วิภาวยนฺติ
คมฺภีปรญฺเญน สุเทสิตานิ
กิญฺจาปิ เต โหนฺติ ภุสปฺปมตฺตา
น เต ภวํ อฏฺฐมาทิยนฺติ
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

พระคาถาที่ 10
สหาวสฺส ทสฺสนสมฺปทาย
ตยสฺสุ ธมฺมา ชหิตา ภวนฺติ
สกฺกายทิฏฺฐิ วิจิกิจฺฉิตญฺจ
สีลพฺพตํ วาปิ ยทตฺถิกิญฺจิ
จตูหปาเยหิ จ วิปฺปมุตฺโต
ฉ จาภิฐานานิ อภพฺโพ กาตํ,
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

พระคาถาที่ 11
กิญฺจาปิ โส กมฺมํ กโรติ ปาปกํ
กาเยน วาจายุท เจตสา วา
อภพฺโพ โส ตสฺส ปฏิจฺฉทาย
อภพฺพตา ทิฏฺฐปทสฺส วุตฺตา
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

พระคาถาที่ 12
วนปฺปคุมฺเพ ยถา ผุสฺสิตคฺเค
คิมฺหานมาเส ปฐมสฺมึ คิมฺเห
ตถูปมํ ธมฺมวรํ อเทสยิ
นิพฺพานคามึ ปรมํ หิตาย
อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

พระคาถาที่ 13
วโร วรญฺญู วรโท วราหโร
อนุตฺตโร ธมฺมวรํ อเทสยิ
อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

พระคาถาที่ 14
ขีณํ ปุราณํ นวํ นตฺถิ สมฺภวํ
วิรตฺตจิตฺตายติเก ภวสฺมึ
เต ขีณพีชา อวิรุฬฺหิฉนฺทา
นิพฺพนฺติ ธีรา ยถายมฺปทีโป
อิทมฺปิ สงฺเฆ รตนํ ปณีตํ
เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ฯ

คำแปลรตนสูตร ( 14 พระคาถา) : (1) ภูตทั้งหลายเหล่าใด เป็นพวกอยู่พื้นดินก็ตาม เป็นพวกอยู่ในอากาศก็ตาม ที่พร้อมเพรียงกันอยู่ในที่นี้ ขอให้ภูตทั้งปวงเหล่านั้นทั้งหมด จงเป็นผู้มีน้ำใจดี กับทั้งขอเชิญฟังคำที่ข้าพเจ้ากล่าว (สวด) โดยเคารพ (คำว่า “ภูต” ในที่นี้ หมายถึงอมนุษย์ ตรงกับคำว่า “ภูตผี” ในภาษาไทย หรือที่มีบางท่านใช้คำว่า “สัมภเวสี” นั่นเอง แต่ในทางพุทธศาสนา ทุกวิญญาณล้วนไปเกิดเป็นภูตทันที ไม่มีการแสวงหาที่เกิดหรือแสวงหาภพแต่อย่างใด) (2) เพราะเหตุนั้น ภูตทั้งหลายเอย ขอท่านทั้งปวงจงฟัง พวกท่านจงสร้างความเป็นมิตรแก่ชาวมนุษย์ มนุษย์เหล่าใดที่นำเครื่องพลีกรรม (เครื่องไทยธรรม หรือของทำบุญอุทิศ) มาแก่พวกท่าน ทั้งในกลางวันและกลางคืน ด้วยเหตุนั้นแล ขอท่านทั้งหลายจงรักษาคุ้มครองพวกมนุษย์เหล่านั้น อย่าได้ประมาท

(3) ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรัตนะ (ของมีค่า) อันสูงค่า(ประณีต) ใดๆ ในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือในสวรรค์ทุกชั้น ทรัพย์หรือรัตนะนั้นที่จะเสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย พระพุทธเจ้าเป็นรัตนะอันสูงส่ง (ประณีต) เพียงนี้ ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีปลอดภัย (สุวัตถิ) จงบังเกิดมี (โปรดสังเกตว่า คำว่า ภูต ในพระคาถานี้ หมายรวมไปถึงเทวดาในสวรรค์ด้วย นอกเหนือจากภูตผีหรืออมนุษย์บนพื้นดินและในอากาศ

ขอยกคำแปลรตนสูตรและข้อสังเกตไปในฉบับหน้านะครับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0