โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ทรงรับสั่งหมอเด็กและทีมสัตวแพทย์ช่วยดูแล “ยามีล” สุดความสามารถ

สยามรัฐ

อัพเดต 23 ส.ค. 2562 เวลา 12.01 น. • เผยแพร่ 23 ส.ค. 2562 เวลา 12.01 น. • สยามรัฐออนไลน์
“สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ทรงรับสั่งหมอเด็กและทีมสัตวแพทย์ช่วยดูแล “ยามีล” สุดความสามารถ

วันที่ 23 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวถึงกรณีที่ พะยูนน้องยามีลตายภายหลังจากที่สัตวแพทย์ตรวจพบว่ามีหญ้าทะเลเข้าไปอัดแน่นอยู่ในลำไส้เล็ก โดยลำไส้ไม่ทำงาน จนเกิดเป็นแก้สในลำไส้ และติดเชื้อในกระแสเลือด จนช็อคตายเมื่อคืนวันที่ 22 ส.ค. ที่ผ่านมาว่า กรณีที่เกิดขึ้นนั้นทำให้ทุกคนรู้สึกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง แต่เชื่อว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะทีมสัตวแพทย์ที่ดูแลยามีลนั้นทำงานดีที่สุดแล้ว และหากใครจะเสียใจ คนที่เสียใจที่สุดก็คงจะเป็นทีมสัตวแพทย์ที่ดูแลยามีลนั่นเอง เพราะคนกลุ่มนี้ใกล้ชิดที่สุด ดูแลกันตลอด 24 ชั่วโมง

“ภายหลังจากที่ทรง ทราบข่าวว่า ลูกพะยูนยามีลมีอาการป่วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีรับสั่งให้หมอเด็กจากโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ไปดูแลยามีล ร่วมกับทีมสัตวแพทย์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งด้วย เนื่องจาก ที่ผ่านมาในโลกนี้ไม่เคยมีใครที่ดูแลลูกพะยูนที่อายุน้อยขนาดนี้มาก่อน เนื่องจาก ยามีล เป็นพะยูนเด็ก อายุเพียงแค่ 5 เดือนเท่านั้น ก็เหมือนเด็กคนหนึ่งนอกจากสัตวแพทย์แล้วก็ต้องให้หมอเด็กมาช่วยดูอีกทาง และเมื่อคืนที่ผ่านมาทีมหมอที่ดูแลน้องยามีลก็พยายามจนสุดความสามารถแล้ว ผมก็มั่นใจว่าทีมนี้ดีที่สุดแล้ว น้องยามีลได้รับพระกรุณาธิคุณจากพระองค์ท่านอย่างที่สุดมิได้” รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ กล่าว

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับมาเรียม ยามีล นั้นถือเป็นบทเรียนที่ทุกคนต้องเรียนรู้ร่วมกัน เพราะเวลานี้ ประเทศไทยมีพะยูนอีกร้อยกว่าตัวที่ยังมีชีวิตอยู่และต้องดูแลรักษาที่เหลือไว้อย่างดีที่สุด เอาประสบการณ์ที่เกิดขึ้นนำทางให้เดินไปข้างหน้า เพราะการตายของมาเรียมและยามีลนั้นเป็นกรณีศึกษาที่ดีมาก คิดว่าไม่มีพื้นที่ไหนในโลกที่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน มาเรียมตายเพราะกินพลาสติกเข้าไป แต่ยามีลอยู่ในระบบปิด หญ้าทะเลไปค้างอยู่บริเวณลำไส้เล็กจนติดเชื้อในกระแสเลือด

เมื่อถามว่า พะยูนตายติดๆกัน โดยปีนี้มีมากถึง 17 ตัวแล้ว ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนใครหรือไม่ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ กล่าว ก็ไม่รู้จะสอบสวนใครเหมือนกัน แต่ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประสานงานกับทางทหารเรือ หรือทีมงานที่ออกลาดตระเวนเข้มงวดกับเรื่องนี้เพิ่มขึ้น

“เดี๋ยวผมต้องถามไปทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ด้วยว่า เวลานี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเองมีหน่วยงานลาดตระเวนทะเล เพื่อช่วยเหลือสัตว์ทะเลที่ตกอยู่ในภาวะอันตรายหรือเปล่า แต่หากยังไม่มีนั้น ถามว่าคุ้มค่าไหมกับการตั้งทีมงานที่จะทำหน้าที่นี้ มีเรือแค่ 1-2 ลำ จะทำได้เต็มที่ และคุ้มค่าไหมกับการขับตระเวนเพื่อสอดส่องว่ามีสัตว์ทะเลกำลังได้รับอันตราย ติดขยะทะเลอยู่หรือไม่ ป่วยลอยคออยู่กลางทะเลหรือไม่ กับการที่เราดึงเอาประชาชนในพื้นที่มาร่วมทำงาน ให้พวกเขาคอยเป็นหูเป็นตาช่วยกันดูแลทะเล และสัตว์ทะเลไม่ดีกว่าหรือ หรือทำควบคู่กันไป ซึ่งทั้งหมดรวมทั้งเรื่องของชีวิตพะยูนตั้งแต่เกิดจนตาย อาหารการกิน การสืบพันธุ์ รวมอยู่ในแผนจัดการพะยูนแห่งชาติซึ่งจะแล้วเสร็จ และสามารถนำมาใช้ได้ทันทีเร็วๆนี้”

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0