โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

“ยูเซ็น โลจิสติกส์”ทรานส์ฟอร์ม รับตลาดอีคอมเมิร์ซโตพุ่ง

กรุงเทพธุรกิจ

เผยแพร่ 21 ก.ค. 2562 เวลา 04.51 น.

"ยูเซ็น โลจิสติกส์"ดำเนินธุรกิจโลจิสติกส์มา"ร้อยปี"ปัจจุบันขยายอาณาจักรไปกว่า 45 ประเทศทั่วโลก โดยวางเป้าหมายในการ "ทรานส์ฟอร์ม" องค์กรเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจโลจิสติกส์ให้เติบโตอย่างยั่งยืนทะยานสู่รายได้ 8.8 แสนล้านเยนในปี 2568 จากปี 2562 จะมีรายได้ทั่วโลกที่ 5.7 แสนล้านเยน

เมื่อระดับโลกมุ่งทรานส์ฟอร์มองค์กร ธุรกิจในประเทศไทยก็ขานรับนโยบายดังกล่าว โดยซูซูมุ ทานากะประธานและเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูเซ็น โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าว่า เมื่อประเทศไทยมีนโยบายขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ซึ่งจะเปลี่ยนภาพของอุตสาหกรรมในอดีตไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ ทำให้บริษัทต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น

ทั้งนี้ การทรานส์ฟอร์ม ก็คือการ"เปลี่ยนแปลง"ซึ่งวิสัยทัศน์ปี 2568บริษัทต้องการทรานส์ฟอร์มองค์กรตั้งแต่การบริหารจัดการภายในองค์กร ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ กระบวนการทำงาน เช่น การมีบริการส่งสินค้าทางอากาศ ทางเรือ การขนส่งทางบกฯ จะรวบให้การทำงานกระชับขึ้น ลดการใช้กระดาษ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นต้น ส่วนภายนอก จะให้ความสำคัญกับการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง(Customer centric) โฟกัสความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป มองแนวโน้มธุรกิจโลจิสติกส์ในพื้นที่ใหม่ๆ ซึ่งมีโอกาสเติบโต เช่นการบริการลูกค้าเจ้าของแบรนด์โดยตรงแบบ B2Cจากที่ผ่านมาเน้น B2B เป็นหลัก

ปัจจุบันโครงสร้างธุรกิจยูเซ็น เน้นบริการขนส่งทางเรือ 40% ขนส่งทางบก 30% และขนส่งทางอากาศ คลังสินค้า 30% ในส่วนนี้คลังสินค้ายังมีสัดส่วนน้อยมาก แต่อนาคตบริษัทต้องการผลักดันให้เติบโตต่อเนื่องขณะที่ลูกค้าส่วนใหญ่ 40-45% ยังอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ 25% อิเล็กทรอนิกส์ 20-25% เคมิคัลส์ และเริ่มบุกตลาดอีคอมเมิร์ซซึ่งมีสัดส่วนน้อยมาก อีกทั้งลูกค้าหลักยังเป็น "ญี่ปุ่น" สัดส่วนถึง 90% จึงต้องการขยายสู่กลุ่มใหม่ทั้งลูกค้าสหรัฐ ยุโรป รวมทั้งไทยด้วย และกระจายความเสี่ยงให้ลูกค้าญี่ปุ่นเหลือสัดส่วน 60-70%

ล่าสุดบริษัทใช้งบลงทุนกว่า 600 ล้านบาท เพื่อสร้างคลังสินค้าแห่งใหม่ 2 หลัง บนพื้นที่กว่า 28 ไร่ ย่านบางบ่อ โดยคลังแรกมีพื้นที่ 1.4 หมื่นตารางเมตร(ตร.ม.) เปิดให้บริการปีก่อน และคลังที่ 2 พื้นที่ 9,700 ตร.ม. เปิดให้บริการ เม.ย.ที่ผ่านมาซึ่งจะรองรับความต้องการลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ที่ขายสินค้าอีคอมเมิร์ซ ทั้งหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเพื่อสุขภาพ สินค้าแฟชั่น เช่น รองเท้ากีฬา น้ำหอม เครื่องสำอางฯ ซึ่งมีการเติบโตมาก และผู้บริโภคยังคงจับจ่ายใช้สอย

"เมื่อสภาพวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยน ทั้งประเทศไทยมุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 พัฒนาอีอีซีรับอุตสาหกรรมใหม่ เราจึงพยายามเปลี่ยนตัวเองเช่นกัน เราอยู่รอดในธุรกิจโลจิสติกส์มากว่า 40 ปี เราก็ต้องการจะอยู่รอดไปอีก 50 ปี มุ่งสู่ 100 ปี"

ทั้งนี้ ในแง่รายได้ปี 2025 บริษัทขอยึดการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นมาตรฐาน(Benchmark) เช่น ปีนี้จีดีพีอาจโต 3-4% แต่บริษัทขอโต 5% ต่อเนื่องทุกปี ส่วนตลาดรวมโลจิสติกส์มูลค่าหลัก "แสนล้านบาท" ที่ผ่านมาเติบโต 3-4% บริษัทก็สามารถโตมากกว่าตลาดด้วย ส่วนปี 2561 บริษัทมีรายได้เติบโต 5% อย่างไรก็ตาม รายงานจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ยูเซ็น มีรายได้รวมกว่า 8,100 ล้านบาท และกำไรสุทธิกว่า 434 ล้านบาท ซึ่งเป็น 1 ใน 2 รายใหญ่โลจิสติกส์ของไทย และตำแหน่งผู้นำสลับขึ้นลงกับ"ดีเอชแอล"

"บริษัทมีศูนย์กลางโลจิสติกส์ 32 แห่งทั่วประเทศ พื้นที่รวมกว่า 3 แสนตร.ม. และหน่วยรถกว่า 800 คัน ทุกๆ5 ปีเราจะมีการลงทุนใหญ่รองรับการเติบโต ส่วนการทรานส์ฟอร์มองค์กรครั้งนี้ นอกจากจะผลักดันการเติบโตรายได้เราต้องการเป็นบริษัทโลจิสติกส์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย"

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0