โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“มลพิษทางอากาศ” ถ้าคิดไม่ออก ลอกเค้าก็ได้! ดูซะบ้างทั่วโลกเค้าแก้ยังไงกัน?

Another View

เผยแพร่ 20 ม.ค. 2562 เวลา 01.00 น.

“มลพิษทางอากาศถ้าคิดไม่ออกลอกเค้าก็ได้! ดูซะบ้างทั่วโลกเค้าแก้ยังไงกัน?

ปริมาณฝุ่นละอองในกรุงเทพฯ เพิ่มสูงขึ้นเกินเกณฑ์มาตรฐานอีกครั้งภายในรอบไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งกรมควบคุมมลพิษเองก็ได้ออกมาเตือนให้ประชาชนได้รับทราบแล้ว เพราะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ ปัญหาฝุ่นละอองนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงเทพฯ แต่ที่แตกต่างไปในปีนี้ คือมันเกิดขึ้นเร็วและนานกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา 

แต่ถึงอย่างไรสภาพอากาศที่เลวร้ายเช่นนี้ ใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยประเทศเดียว ยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่ประสบปัญหาแบบเดียวกับเรา และบางประเทศก็หนักกว่าที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ “กรีนพีซ ไทยแลนด์” ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับวิธีจัดการมลพิษทางอากาศของประเทศต่าง ๆ ในโลกที่เคยหรือกำลังประสบอยู่แบบเดียวกับเรา ออกมาเปิดเผยเพื่อแสดงให้เห็นว่าในต่างประเทศเขาจัดการปัญหามลพิษได้ด้วยความร่วมมือจากประชาชนบวกกับนโยบายที่จริงจังของภาครัฐ

https://www.wired.co.uk/article/diesel-emissions-urban-pollution-study

กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ

กิจกรรมที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดฝุ่นละลองขนาดเล็กในอังกฤษคือการเผาเชื้อเพลิงทั้งไม้และถ่านหิน ทั้งกลางแจ้งและที่ใช้กันในครัวเรือน การทำเกษตรก็ยังเป็นอีกปัจจัยนึงที่เป็นสาเหตุของฝุ่นละลอง เนื่องจากการระเหยของก๊าซแอมโมเนียที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเพิ่มมากขึ้น ก๊าซชนิดนี้เมื่อทำปฏิกิริยากับสารเคมีชนิดอื่นในชั้นบรรยากาศจะก่อให้เกิดอนุภาคมลพิษที่จะถูกลงพัดพาไปยังบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น

ดังนั้นรัฐบาลอังกฤษจึงได้ประกาศห้ามขายเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษสำหรับใช้ในครัวเรือนและตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป เตาหุงอาหารที่ใช้จะเป็นประเภทที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ และนอกจากนี้รัฐบาลยังอยู่ระหว่างปรึกษาหารือว่าจะค่อย ๆ เลิกขายเชื้อเพลิงถ่านหินที่ใช้ในบ้านและจำกัดการขายไม้เปียกที่ถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลงด้วย

สำหรับภาคการเกษตรนั้น รัฐบาลได้ออกมาตรการกำหนดให้ใช้วิธีทำเกษตรที่ส่งผลให้มีการปลดปล่อยก๊าซแอมโมเนียน้อยลง โดยรัฐบาลจะช่วยเหลือในการลงทุนในเทคโนโลยีที่จะจำกัดการปลดปล่อยก๊าซแอมโมเนียได้

www.tnamcot.com

กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้

เมื่อต้นปี 2017 รัฐบาลเกาหลีใต้ใช้มาตรการฉุกเฉินแก้ปัญหามลพิษในกรุงโซลด้วยการจัดให้บริการขนส่งมวลชนฟรีในช่วงเวลาเร่งด่วน เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ปัญหามลพิษทางอากาศของกรุงโซลเป็นผลมาจากการใช้ถ่านหินและน้ำมันดีเซล ประกอบกับการได้รับหมอกควันจากประเทศเพื่อบ้านอย่างจีน 

นอกจากมาตรการดังกล่าวแล้ว รัฐบาลเกาหลีใต้ยังใช้วิธีแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอื่น ๆ เช่น การจำกัดการใช้รถยนต์รุ่นเก่า การจำกัดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลของลูกจ้างรัฐ การปิดลานจอดรถตามหน่วยงานรัฐ 360 แห่ง และการลดการก่อสร้างของโครงการที่ได้รับงบประมาณจากภาครัฐ

ปี 2018 ที่ผ่านมากระทรวงสิ่งแวดล้อมของเกาหลีใต้ได้ประกาศใช้โครงการนำร่องโดยใช้โดรนติดกล้องบินตรวจตราพื้นที่แถบกรุงโซล เพื่อตรวจสอบว่าโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ  ไม่ได้ลักลอบปล่อยควันเสียซึ่งเป็นที่มาของฝุ่นละอองขนาดเล็กและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 

foreign.kachon.com

กรุงนิวเดลีประเทศอินเดีย

ในปี 2018 อินเดียได้ประสบกับวิกฤติคุณภาพอากาศอย่างมาก เพราะค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานถึง 2 เท่า จนเกิดแฮชแท็ก #smong เรียกร้องให้ภาครัฐแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างจริงจัง รัฐบาลอินเดียจึงออกนโยบาย “ห้ามรถยนต์” ที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่, รถ SUV ที่มีเครื่องยนต์แรงม้ามากกว่า 2000 cc, ให้รถแท็กซี่เครื่องยนต์ดีเซลหลายพันคันหยุดวิ่ง, ทดลองการให้รถยนต์หยุดวิ่งวันคี่หรือวันคู่, กระตุ้นการใช้รถสาธารณะ รถตู้อูเบอร์ให้มากขึ้น แต่ไม่มีมาตรการจัดการทางอากาศกับภาคอุตสาหกรรม ทั้งการเผาทำลายผลผลิตจากเกษตรกรรม โรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ภาพจากPaul Hanna / Reuters

กรุงมาดริดประเทศสเปน

เมื่อปลายปี 2018 รัฐบาลสเปนได้เริ่มใช้มาตรการจำกัดรถยนต์ที่จะวิ่งเข้าไปในเขตควบคุมคุณภาพอากาศย่านใจกลางกรุงมาดริด โดยหวังว่าจะช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ถึง 40% และกระตุ้นให้ผู้คนใช้รถจักรยาน และระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น มาตรการนี้ ผู้ใช้รถจะต้องนำรถไปตรวจวัดการปล่อยไอเสีย ซึ่งรถยนต์รุ่นเก่าที่ก่อมลพิษมากที่สุดจะถูกห้ามขับเข้าไปในเขตควบคุมที่อยู่ใจกลางกรุงมาดริด ขณะที่รถยนต์ไฮบริดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะได้รับอนุญาตให้สัญจรได้อย่างเสรี

ภาพจากPhilippe Wojazer / Reuters

กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส

รัฐบาลฝรั่งเศสได้ห้ามรถที่ผลิตก่อนปี 1997 ขับเข้าไปในย่านใจกลางเมืองช่วงวันจันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.00-20.00 รวมทั้งห้ามรถยนต์ดีเซลทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนก่อนปี 2001 ขับเข้าพื้นที่ดังกล่าว ขณะเดียวกันก็ใช้มาตรการอุดหนุนให้ประชาชนเดินทางด้วยวิธีอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และวางแผนให้ย่านใจกลางเมืองเป็นเขตถนนคนเดิน

voicetv.co.th

กรุงสต็อกโฮล์มประเทศสวีเดน

รัฐบาลสวีเดนใช้มาตรการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรถที่ขับรถเข้าไปในพื้นที่การจราจรหนาแน่นย่านใจกลางเมืองหลวง รวมทั้งจัดจุดให้ประชาชนจอดรถส่วนบุคคลในย่านชานเมืองแล้วขึ้นรถโดยสารเข้าเมืองแทน นอกจากนี้รัฐบาลยังใช้แผนการคมนาคมในเขตเมือง Urban Mobility Strategy โดยเพิ่มการลงทุนในระบบรถโดยสารประจำทาง รถราง และรถไฟใต้ดิน

จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นนั้นนอกจากนโยบายของภาครัฐที่จะต้องเข้มงวดและจริงจังแล้วประชาชนคนทั่วไปก็ต้องให้ความร่วมมือด้วยอาจจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตไปบ้างเพื่อให้นโยบายของภาครัฐประสบผลสำเร็จได้มากที่สุด 

อ้างอิง

https://www.sanook.com/news/7642102/

https://www.bbc.com/thai/features-39203754

https://www.bbc.com/thai/international-46861285?ocid=socialflow_facebook

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0