โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

“พุทธิพงษ์” โรดโชว์สหรัฐ จับมือ “กูเกิล-เฟซบุ๊ก” ดึงเม็ดเงินลงทุนพร้อมหาทางลด Fake News

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 31 มี.ค. 2565 เวลา 10.43 น. • เผยแพร่ 20 ม.ค. 2563 เวลา 09.51 น.
S__7184489

รายงานข่าวจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 ม.ค. –  22 ม.ค. 2563 นายพุทธิพงษ์  ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ  ได้เดินทางไปโรดโชว์ ณ ซิลิคอน วัลเล่ย์ สหรัฐอเมริกา เพื่อเชิญชวนบริษัเทคโนโลยีชั้นนำของสหรัฐ เข้ามาลงทุนในโครงการดิจิทัลพาร์ค ที่กระทรวงดิจิทัลฯ กำลังผลักดัน  พร้อมกับประสานความร่วมมือในด้านต่างๆ

โดยในการหารืออย่างเป็นทางการร่วมกับ Google  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีเอส ได้ระบุว่า ในส่วนของ Fake news ที่เป็นประเด็นละเอียดอ่อน ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถแยกแยะคลิปปลอมได้ ทั้งกูเกิลเองได้ให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูลปลอมเช่นเดียวกับรัฐบาลไทย รัฐบาลไทยจึงขอให้กูเกิลช่วยดูแลข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทย รวมถึงข้อมูลที่ไม่ถูกต้องบน Google Map ด้วย

ส่วนการเผยแพร่เรื่องข่าวปลอมและคลิปไม่เหมาะสมผ่านทาง YouTube นั้น หลังการเจรจาในครั้งนี้คาดว่ากูเกิลยินดีและพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการจัดการข่าวปลอมและคลิปที่ไม่เหมาะสม รวมถึงความร่วมมือในการพัฒนาทักษะกำลังคนในด้านการทำ Content และพร้อมสนับสนุนในด้านดิจิทัลอื่น ๆ ด้วย

“จากข้อมูลของ YouTube ประเทศไทยมี YouTuber ที่ประสบความสำเร็จเป็นจำนวนมากที่สุดใน Southeast Asia และคนดู YouTube ไม่ได้มีแต่ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัดด้วย”

ขณะที่การหารือร่วมกับผู้บริหารเฟซบุ๊กนั้น  จะมีความร่วมมือกันใน  4 ด้าน ได้แก่  1.ด้านความเป็นส่วนตัว (Privacy) เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง privacy ของตนเอง จะทําอย่างไรให้ปลอดภัยในโลกออนไลน์ และให้ความรู้กับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) ในเรื่อง protocol ที่จําเป็น

2.ด้านความมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในทุกภาคส่วน (Digital Inclusion) เน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยผู้พิการทั้งทางสายตา การได้ยิน และทางร่างกาย รวมถึงผู้ที่มีความยากลําบากในการเรียนรู้ ให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี

3.ด้านประสบการณ์เชิงพาณิชย์ (Commercial Experience) โดยมีแนวทางในการทํางานร่วมกัน เช่น เรื่องการเก็บภาษีจากเฟซบุ๊ก สําหรับการซื้อขายโฆษณาในประเทศไทย การควบคุมสินค้าปลอมหรือไม่ถูกกฎหมายที่ขายผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก เป็นต้น

และ 4. ด้านข่าวปลอม  Fake news ได้หารือแนวทางความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาข่าวปลอมกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนเฟซบุ๊ก รวมถึงการสร้างขั้นตอนในการทํางานร่วมกันอย่างชัดเจน และ timeline ของกระบวนการแจ้งลบบัญชีผู้ใช้งานปลอมหรือข้อมูลเท็จได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถอธิบายให้ประชาชนรับทราบได้

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0