โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

“พอเดาได้”ใครคว้ารถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน 2.2แสนล้าน

Money2Know

เผยแพร่ 12 พ.ย. 2561 เวลา 14.20 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
“พอเดาได้”ใครคว้ารถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน 2.2แสนล้าน

การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)เปิดรับข้อเสนอเอกชนประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนาม มูลค่าโครงการ 2.2 ล้านบาท โดยมีเอกชน 2 กลุ่มยื่นเอกสารการประมูล

กลุ่มแรก กิจการร่วมค้า BSR ซึ่งตั้งแต่ชนะการประมูลรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง ได้ประกาศก่อนหน้านั้นไปแล้วว่าจะเข้าร่วมประมูลทุกเส้นทาง โดยนายใหญ่แห่งอาณาจักรบีทีเอส คีรี กาญจนพาสน์

กิจการร่วมค้า BSR ประกอลด้วยพันธมิตรเดิมคือ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) ถือหุ้น 60% บมจ.ซิโนไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสครัคชั่น (STEC) ถือหุ้น 20% และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง (RATCH) ถือหุ้น 20%

ด้วยชื่อชั้นของ BTS ในเรื่องประสบการณ์เดินรถไฟฟ้าไม่เป็นสองรองใคร พร้อมด้วย STEC ที่มีความพร้อมในด้านวิศวกรรมมายาวนาน พร้อมด้วยต้นทุนทางการเงิน จึงนับว่าเป็นกลุ่มที่น่าจับตาว่าจะเข้าวิน

แต่ในครั้งนี้ BSR เจอของแข็ง ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ ซีพี ที่ประกาศเป็นแกนนำกลุ่มเป็นผู้ถือหุ้นหลัก 70%

เมื่อดูพันธมิตร ต้องบอกว่างานนี้ ซีพี จัดเต็มจริง ๆ มีทั้ง บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) และ บมจ.ช.การช่าง (CK) ถือหุ้น 15% กลุ่ม China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) หรือ CRCC ถือหุ้น 10% และผู้ก่อสร้างและวางระบบราง และ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ถือหุ้น 5%

แถมยังบอกอีกว่า ยังมีพันธมิตรอีกเพียบที่ต้องการร่วมลงทุน พร้อมกับโชว์รายชื่อ อาทิ  Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development (ประเทศญี่ปุ่น) หรือ JOINT, CITIC Group Corporation(สาธารณรัฐประชาชนจีน), China Resources (Holdings) Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

เท่านั้นยังไม่พอ มีชื่อพันธมิตรร่วมสนับสนุนทางการเงิน อาทิ ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC (ประเทศญี่ปุ่น)

ส่วนระบบเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา กางชื่อกันเป็นการข่มขวัญ คือ Ferrovie dello Stato Italiane (ประเทศอิตาลี ) พันธมิตรเรื่องระบบอาณัติสัญญาณและตัวรถไฟ ได้แก่ Siemen (ประเทศเยอรมัน) Hyundai (ประเทศเกาหลี) และจีน

สำหรับ โครงการนี้ มีระยะเวลา 50 ปี ทั้งเรื่องเดินรถและการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ ซึ่งอันหลังนี่แหละที่จะได้ผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจเป็นเรื่องเป็นราว เมื่อเทียบกับการเดินรถ

ดูรายละเอียดโครงการที่นี่

แนวเส้นทางโครงการผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรปราการ จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และจ.ระยอง ใช้แนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางของโครงการเดิมและมีการออกแบบใหม่เฉพาะบริเวณเชื่อมต่อเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ (ขาออก) และสนามบินอู่ตะเภา (ขาเข้า)

แนวเส้นทางโครงการประกอบด้วย 3 โครงการ คือ

-โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (Suvarnabhumi Airport Link and City Air Terminal: ARL)

-โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท (ARL Extension)

-โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-ระยอง

น่าจับตาอย่างยิ่งเมื่อ 2 กลุ่มยักษ์ใหญ่ร่วมชิงกันในครั้งนี้ แต่เมื่อดูจากกลุ่ม BRS ที่เสนอเข้ามา ไม่ค่อยจะมีรายละเอียดมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม CP อดแปลกใจไม่ได้ หรือว่า จะถอดใจตั้งแต่ยื่นซองประมูล

หากย้อนกลับไปที่เริ่มคิดโครงการใหม่ ๆ หากใครจำได้"เจ้าสัว"เขาบอกแล้วว่าเขาขอประมูลเส้นนี้

และที่น่าแปลก ไม่รู้ว่า กลุ่มเบียร์ช้าง ไปอยู่ที่ไหน แต่ขอให้จับตาหากมีการเปิดประมูลเส้นต่อไป โดยเฉพาะเส้นหัวหิน อาจเห็นชื่อกลุ่มเบียร์ช้างเป็นผู้ร่วมประมูล

เรื่องนี้เขาคุยกันมานานแล้ว 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0