โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

“ผ่อน 0%”... ผ่อนดี ผ่อนได้ ใช้ให้เป็น

Wealthy Thai

อัพเดต 19 มิ.ย. 2563 เวลา 06.32 น. • เผยแพร่ 19 มิ.ย. 2563 เวลา 06.32 น. • wealthythai
“ผ่อน 0%”... ผ่อนดี ผ่อนได้ ใช้ให้เป็น
การใช้ ‘บัตรเครดิต’ เป็นสิ่งที่แทบจะมาทดแทนการใช้เงินสดแล้วในยุคปัจจุบัน และหนึ่งในโปรโมชั่นที่มักจะมาพร้อมกับบัตรเครดิตเกือบจะทุกสถาบันการเงิน คือ ‘การผ่อน 0%’  ซึ่งอาจจะมีระยะเวลาการผ่อนที่แตกต่างกันไป เช่น 3 เดือน 6 เดือน 10 เดือน หรือบางสถาบันการเงินสามารถผ่อนได้สูงถึงระยะเวลา 24 เดือน เราเคยสงสัยกันไหมว่าอะไรเป็นเหตุผลที่ให้เกิดเป็นโปรโมชั่น 0% นี้ขึ้นมา ?

การใช้ ‘บัตรเครดิต’ เป็นสิ่งที่แทบจะมาทดแทนการใช้เงินสดแล้วในยุคปัจจุบัน และหนึ่งในโปรโมชั่นที่มักจะมาพร้อมกับบัตรเครดิตเกือบจะทุกสถาบันการเงิน คือ ‘การผ่อน 0%’  ซึ่งอาจจะมีระยะเวลาการผ่อนที่แตกต่างกันไป เช่น 3 เดือน 6 เดือน 10 เดือน หรือบางสถาบันการเงินสามารถผ่อนได้สูงถึงระยะเวลา 24 เดือน เราเคยสงสัยกันไหมว่าอะไรเป็นเหตุผลที่ให้เกิดเป็นโปรโมชั่น 0% นี้ขึ้นมา ?

 

จากงานวิจัยในเอกสาร Marketing Letters ของประเทศเนเธอร์แลนด์ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2001 ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าระหว่างการใช้ ‘เงินสด’ และการใช้ ‘บัตรเครดิต’ พบว่าผู้บริโภคจะใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เมื่อใช้บัตรเครดิตในการจ่ายสินค้าแทนเงินสด  หากวิเคราะห์ถึงเหตุผลเบื้องลึกว่าเหตุใดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจึงทำให้เราใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น พบว่า

 

  • บัตรเครดิตมีความ ‘สะดวก’ และ ‘ง่าย’ ในการใช้จ่ายมากกว่าเงินสด โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูง หากใช้เงินสดซื้อ เราอาจจะต้องเก็บเงินอยู่หลายเดือนกว่าที่จะซื้อสิ่งนั้นได้ เมื่อเวลาผ่านไปความรู้สึกอยากที่จะได้สินค้าชิ้นนั้นอาจจะลดลงและมีแนวโน้มเปลี่ยนใจที่จะไม่ซื้อสินค้าชิ้นนั้นแล้ว

  • การซื้อสินค้าด้วยบัตรเครดิตสร้างความรู้สึกเจ็บปวดน้อยกว่าการใช้เงินสด(painful form of payment) เมื่อสินค้าที่มีราคาสูงถูกแบ่งผ่อนจ่ายรายเดือน ทำให้มูลค่าเงินที่ต้องจ่ายดูน้อยลงมา โดยเฉพาะเมื่อเป็นการผ่อนสินค้าแบบดอกเบี้ย 0% ที่จะยิ่งทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าไม่ได้เสียประโยชน์อะไรเลย

 

 

เช่นนี้แล้วร้านค้าและ ‘สถาบันการเงินเจ้าของบัตรเครดิต’ จะได้อะไรจากเรื่องนี้?

 

- แม้ว่าสถาบันการเงินผู้ออกบัตรจะไม่ได้รับดอกเบี้ยจากการผ่อนสินค้า แต่จะได้ ‘ส่วนแบ่งค่าธรรมเนียม’ จากร้านค้าตามที่ตกลงกันแทน

 

- ในกรณีที่ลูกค้าไม่สามารถผ่อนชำระตามเวลาที่กำหนด สถาบันการเงินผู้ออกบัตรสามารถคิดดอกเบี้ยในอัตราสูง โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้เรียกเก็บดอกเบี้ยได้ ‘ไม่เกิน 18%’ ต่อปี รวมไปถึงค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมในกรณีที่จะต้องติดตามทวงถาม

 

“จากการเปิดเผยข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่าในปัจจุบันหนี้สินครัวเรือนไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นสัดส่วนถึง 78.7% ต่อ GDP ซึ่งสูงเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย รองจากเกาหลีใต้ และสูงเป็นอันดับที่ 11 ของโลก”

- สถาบันการเงินผู้ออกบัตรสามารถนำข้อมูลการซื้อสินค้าในแต่ละครั้งไปวิเคราะห์ต่อยอด เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ ที่เหมาะกับพฤติกรรมของผู้ถือบัตรคนนั้นๆ ได้อีกในอนาคต

 

- ในมุมของร้านค้า การผ่อน 0% ถือเป็นกลยุทธ์ส่งเสริมการค้าที่สามารถช่วยเพิ่มยอดขายจากการตัดสินใจซื้อสินค้าง่ายยิ่งขึ้น

“หากจะกล่าวโดยสรุปแล้วนั้น ‘โปรโมชั่นผ่อน 0%’ เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีวินัยและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารการเงิน ตัวอย่างเช่น สามารถนำเงินส่วนที่เหลือจากการผ่อนที่ปลอดดอกเบี้ย ไปสร้างโอกาสหมุนลงทุนต่างๆ ก่อนได้ รวมถึงผลประโยชน์จากการสะสมคะแนนเพื่อแลกไมล์หรือ Cash Back  และหากมีการผ่อนชำระได้ตรงเวลาโดยตลอดจะมีผลในการสร้างประวัติเครดิตที่ดีที่จะสามารถกู้สินเชื้อในวงเงินที่มากขึ้นได้ในอนาคต” 

 

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการคำนึงถึงความสำคัญของสิ่งที่จะซื้อก่อนเป็นอันดับแรกว่า ‘สมควร’ หรือ ‘จำเป็น’ หรือไม่ หากได้ตัดสินใจซื้อด้วย ‘โปรโมชั่นผ่อน 0%’ แล้ว ควรผ่อนสินค้าทีละรายการโดยไม่ลืมที่จะพึงระลึกถึงความสามารถในการชำระของตัวเองด้วย

 

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand,TFPA Facebook Fanpageและ  www.tfpa.or.th

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0