โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

“บีเจซี” ฟุ้งอากาศร้อนหนุนบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มขายดี

ไทยโพสต์

อัพเดต 23 มี.ค. 2562 เวลา 03.27 น. • เผยแพร่ 23 มี.ค. 2562 เวลา 03.27 น. • ไทยโพสต์

 

23 มี.ค. 2562 นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีเจซี เปิดเผยว่า  ภาพรวมการดำเนินธุรกิจในช่วงที่ผ่านมาของปี 2562 ยอมรับว่าต้องใช้พลังในการขับเคลื่อนพอสมควร เนื่องจากลูกค้ายังรอความชัดเจนกับปัจจัยต่าง ๆ แต่คาดว่าสถานการณ์จะปรับตัวดีขึ้นช่วงไตรมาส 3 และ 4 /2562เนื่องจากปีนี้สภาพอากาศค่อนข้างร้อน ทำให้เกิดความต้องการบริโภคเครื่องดื่มมากขึ้น ส่งผลต่อบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วให้สามารถขยายตัวตามไปด้วย

สำหรับการลงทุนของบีเจซีในปี 2562 ในส่วนของการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เบื้องต้นคาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุน 1,000 ล้านบาท ยกระดับเทคโนโลยี และนำออโตเมชั่นมาใช้ในงาน เนื่องจากการแข่งขันในบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วโดยหลักจะเป็นเรื่องคุณภาพ รวมถึงเทรนด์ความต้องการขวดที่น้ำหนักเบา และบางกว่าเดิม แต่ต้องมีความเหนียว ซึ่งจากการดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 66 ปี ทำให้บริษัทมีความแข็งแกร่งในการพัฒนาสินค้า และยังมีพาร์ทเนอร์ โอเว่น อิลลินอยส์ อิงค์ ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก จึงทำให้บริษัทเชื่อว่าจะมีสินค้าตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างแน่นอน

ขณะเดียวกันบริษัทยังเตรียมหาโอกาสในการสร้างโรงการผลิตในอาเซียน โดยเฉพาะคาบสมุทรอินโดจีน ได้แก่ เมียนมา กัมพูชา และ สปป. ลาว โดยจะต้องดูความต้องการบรรจุภัณฑ์ของประเภทนั้น ๆ มาประกอบการพิจารณาลงทุนสร้างโรงงาน หรืออย่างน้อยต้องมีกำลังการผลิต 250 ตันต่อวัน มีขนาดพื้นที่ 30 ไร่ และน่าจะต้องใช้เงินลงทุน 1,000-1,500 ล้านบาท

ส่วนโรงงานของเมืองไทยที่อยู่ใน จ. สระบุรี และ จ. สมุทรปราการ มีกำลังผลิตรวมกันที่ 3,400 ตันต่อวัน มีการส่งออกไปต่างประเทศ 6% ส่วนมากอยู่ในประเทศ 94% และมีสัดส่วนระหว่างผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วและแคนที่ 50:50 โดยยังมีโรงงานในประเทศเวียดนามกำลังการผลิต 300 ตันต่อวัน และมาเลเซีย 510 ตันต่อวัน ที่กำลังจะขยายเป็น 650 ตันต่อวัน ส่งผลให้มีการผลิตรวมทั้งในและต่างประเทศ 4,350 ตันต่อวัน

นายอัศวิน กล่าวว่า ภาพรวมตลาดบรรจุภัณฑ์อยู่ที่ 2.5 หมื่นล้านบาท มีอัตราการเติบโต 4-5% อยู่ในระดับที่ไม่หวือหวามากนัก และจะเติบโตมาจากการออกสินค้าที่มีนวัตกรรมและดีไซน์ใหม่ โดยในปี 2561 มียอดขายบรรจุภัณฑ์รวม 2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นขวดแก้ว 1.2 หมื่นล้านบาท เติบโต 8% และแคนอีก 8,000 ล้านบาท เติบโต 6-7% โดยแนวโน้มของบรรจุภัณฑ์แก้วจะมีการขยายตัวได้ดีกว่า เป็นไปตามเทรนด์ความต้องการของผู้บริโภคทั่วไป และขวดแก้วในหลายประเทศแถบยุโรปและอเมริกาก็เติบโตดีมากเช่นเดียวกัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0