โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“บอร์ด สปส.” ค้าน “หม่อมเต่า” ขอขยายเวลาเยียวยาผู้ว่างงาน 62% ถึงสิ้นปี

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 15 ก.ค. 2563 เวลา 02.55 น. • เผยแพร่ 14 ก.ค. 2563 เวลา 10.30 น.
THAILAND-ECONOMY-AUTO-INDUSTRY

“บอร์ด สปส.” ค้าน “หม่อมเต่า” ขอขยายเวลาเยียวยาผู้ว่างงาน 62% ถึงสิ้นปี หลังนายจ้างส่ออาการเจ๊งอีกระลอก คนตกงานขยายวงเพิ่ม ลุ้นประชุมบอร์ดเคาะ 30 ก.ค.นี้

ผู้สื่อข่าว“ประชาชาติธุรกิจ” รายงานภายหลังการประชุมคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด) ที่มี “นายสุทธิ สุโกศล“ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษา (ชุดที่ 13) เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 ว่า หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มีหนังสือมายัง สปส.ให้พิจารณาขยายเวลามาตรการเยียวยาผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ด้วยการจ่ายชดเชยที่ 62% เพราะขณะนี้ผู้ประกอบการที่เตรียมปิดกิจการและเลิกจ้างงานเพิ่มขึ้นแม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จะเริ่มคลี่คลายลงแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากไม่มีคำสั่งซื้อจากลูกค้า ส่งผลให้ต้องหยุดกิจการ และเลิกจ้างลูกจ้างตามมาอีกระลอก

ในที่ประชุมมีมติ “คัดค้าน” การเยียวยาลูกจ้างโดยใช้เงินจากกองทุนว่างงาน พร้อมกับให้เหตุผลว่า ก่อนหน้านี้ที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบให้การระบาดของโควิด -19 ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ที่ประกันสังคมต้องจ่ายเยียวยาที่ 62% ของอัตราค่าจ้างรายวัน รวมระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน ไปแล้วเพื่อให้นายจ้างได้มีเวลาในการ “ปรับตัว” ไปแล้วรวม 12,000 ล้านบาท จากกองทุนว่างงาน และหากจะต้องขยายเวลาเพิ่มอีกอาจกระทบต่อความมั่นคงของกองทุนฯ ได้

ด้านนายธีระวิทย์ วงศ์เพชร กรรมการ ระบุว่า การหารือในครั้งนี้ (14 ก.ค.63) ถือว่าไม่เอกฉันท์ เพราะในคณะกรรมการฯ ชุดที่ 13 มีทั้งตัวแทนจากฝั่งนายจ้างและลูกจ้างในสัดส่วนที่พอๆ กัน ในส่วนของลูกจ้างที่คัดค้านการเยียวยาดังกล่าว เนื่องจากมี “ข้อกังวล” คือ

1) ในสถานการณ์เลิกจ้างครั้งนี้ ถือเป็นงานว่างงานปกติ ไม่ได้เป็นเหตุสุดวิสัย เหมือนกรณีของโควิด-19 ฉะนั้นนายจ้างควรจ่ายชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดคือ 75% ของเงินเดือน

2) มีผู้ประกอบการบางส่วนที่ต้องการฉวยโอกาสใช้เงินจากประกันสังคม เพื่อหลีกเลี่ยงภาระจ่ายชดเชยลูกจ้าง

“เข้าใจนายจ้างว่าภายใต้วิกฤตเหล่านี้ ก็ไม่ต้องการแบกรับภาระ หรือรับภาระให้น้อยที่สุด และกลุ่มลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้นั้น ยังคงเป็นอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ สิ่งทอ รวมถึงธุรกิจท่องเที่ยว”

นายธีระวิทย์กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สุดท้ายการหารือครั้งนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ จึงต้องเลื่อนการพิจารณากรณีดังกล่าวในการประชุมบอร์ดครั้งถัดไปในวันที่ 30 ก.ค.นี้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0