โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

“ธนารักษ์” ฟันค่าเช่าที่ราชพัสดุหมอชิต 3 พันล.หลังมีโครงการลงทุนใหม่

ไทยโพสต์

อัพเดต 24 ก.ย 2561 เวลา 02.29 น. • เผยแพร่ 24 ก.ย 2561 เวลา 02.29 น. • ไทยโพสต์

 

“ธนารักษ์” ฟันค่าเช่าที่ราชพัสดุหมอชิต 30 ปี สูงแตะ 3 พันล้านบาท หลัง “บางกอกเทอร์มินอล” จ่อลงทุน 2.6 หมื่นล้านบาท ปูพรมทำโครงการแบบ Mixed Use

นางสาวอมรรัตน์ กล่ำพลบ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยถึงโครงการลงทุน 2.6 หมื่นล้านบาท ที่จะทำสัญญา ก่อสร้างกับ บริษัท บางกอกเทอร์มินอล เพื่อพัฒนาที่ราชพัสุดหมอชิต ซึ่งเตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม. ) พิจารณาก่อนภายใน 1 - 2 สัปดาห์นี้ว่า ในส่วนของผลตอบแทนที่กรมธนารักษ์ ได้รับจากการให้เช่าที่ราชพัสดุ 30 ปี มีมูลค่า 3 พันล้านบาทถือว่าคุ้มค่า เพราะผลตอบแทนของโครงการนี้แบ่งได้ 2 ส่วน ส่วนที่เป็นทรัพย์สิน เป็นอาคารที่สร้างชดเชยมูลค่าประมาณ 2.4 พันล้าน ซึ่งทางบริษัท บางกอกเทอร์มินอล จะเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างอาคารส่วนที่ต่อจากศูนย์ซ่อมรถไฟฟ้า ต่อขึ้นไปเพื่อให้ชั้น 3 และ 4 มีขนาดเนื้อที่ 1.2 แสนตารางเมตร ทำเป็นสถานีกลางของหมอชิตที่ย้ายกลับเข้ามา   นอกจากนี้ ยังมีเงินสดที่เป็นค่าเช่าที่กรมธนารักษ์ จะได้อีก 600 ล้านบาท ในช่วง 30 ปี  เมื่อรวมทั้งสองโครงการทำให้รัฐได้ประโยชน์จากโครงการหมอชิตประมาณ 3 พันล้านบาท

สำหรับรูปแบบโครงการหมอชิต ยังไม่มีการตั้งชื่อโครงการ แต่จากการหารือกับทาง บริษัท บางกอกเทอร์มินอล ที่มีการปรับยอดเงินลงทุนจาก 1.8 หมื่นล้านบาท เมื่อปี 2539 เป็น 2.6 หมื่นล้านบาทในปัจจุบัน เพราะต้องการจะลงทุนให้เต็มที่ใช้ประโยชน์สูงสุด แม้พื้นที่จะได้ลดลงจากกว่า 8 แสนตารางเมตร เหลือ 7 แสนตารางเมตร ประกอบกับค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ทำให้มูลค่าโครงการต้องปรับตัวสูงขึ้น ตั้งเป้าหมายใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี  

ทั้งนี้ คาดว่าจะเป็นการทำโครงการในลักษณะ Mixed use คือจะมีทั้งห้างสรรรพสินค้า โรงแรม เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ และยังจัดพื้นที่สำหรับโครงการจอดแล้วจร ซึ่งพื้นที่ตรงนี้ถือว่าเป็นทำเลที่ดีของการทำการค้า และเป็ศูนย์กลางในการเดินทาง มีทั้งรถไฟฟ้า รถใต้ดิน และ บขส. สามารถเดินทางเข้ากรุงเทพ แล้วขึ้นรถโดยสารออกไปยังจุดหมายได้สะดวก  

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ตามกรอบกำหนดการใช้พื้นที่ชดเชยเพื่อสร้างเป็นสถานีกลางของหมอชิต คือจะมีการกันพื้นที่ 1.2 แสนตารางเมตร ให้กับทาง บขส. โดยจะให้สถานีขนส่งอยู่ด้านบนของอาคารบริเวณชั้น 3 และ 4 เหนือจากศูนย์ซ่อมรถไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นจุดบริการผู้โดยสาร มีจุดจำหน่ายตั๋วโดยสาร และจัดพักรอขึ้นรถโดยสาร และมีการจัดพื้นที่ให้รถเข้าเทียบชานชลา เพื่อรับผู้โดยสาร ซึ่งทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ( สนข.) คาดว่าจะสามารถย้านเข้าไปได้ประมาณปี 2566 หลังจาก BKT ก่อสร้างอาคารพาณิชย์แล้วเสร็จ  

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0