โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“ท่านผู้หญิงสิริกิติยา”ดึงGoogleเผยแพร่ข้อมูลประวัติศาสตร์”วังหน้า” บนแพลตฟอร์มออนไลน์   Google Arts & Culture 

ไทยโพสต์

อัพเดต 17 ก.ย 2562 เวลา 11.28 น. • เผยแพร่ 17 ก.ย 2562 เวลา 11.28 น. • ไทยโพสต์

17ก.ย.62-ที่ศาลาสำราญมุขมาต์ยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมภายใต้การสนับสนุนจากท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซนพระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ร่วมกับ Google Arts & Culture เปิดตัวนิทรรศการ“วังหน้านฤมิตในมิติแห่งกาลเวลา”ในรูปแบบดิจิทัลบนเว็บไซต์  Google Arts & Culture หรือแอปพลิเคชัน Google Arts & Culture ทั้งบนระบบ iOS และAndroid โดยรวบรวมผลงานสร้างสรรค์จำนวน138 รายการถ่ายทอดเรื่องราวของพระราชวังบวรสถานมงคลหรือ  “วังหน้า” และแสดงสภาพแวดล้อมเสมือน( Street View) สำหรับการสำรวจพื้นที่วังหน้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์  เพื่อเปิดโอกาสให้คนทั่วโลกได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของไทย

    ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ในฐานะผู้อำนวยการโครงการการศึกษาสันนิษฐานรูปแบบพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) และสื่อความหมายด้วยเทคโนโลยี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า Google Arts & Culture เป็นแพลตฟอร์มที่จะช่วยแบ่งปันอนุรักษ์และเผยแพร่มรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมอันล้ำค่าของไทยออกสู่สายตาชาวโลกเรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำเสนอเรื่องราวของวังหน้าผ่านGoogle Arts & Culture เปิดโอกาสให้ประชาชนได้สำรวจเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การเรียนรู้และชื่นชมอนุสรณ์สถานอันล้ำค่าของไทยในหลากหลายมิติ

    ท่านผู้หญิงสิริกิติยา กล่าวว่าโครงการศึกษาสันนิษฐานรูปแบบพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) และสื่อความหมายด้วยเทคโนโลยีเกิดขึ้นครั้งแรกเพื่อสร้างความรู้จักประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า  เราเติบโตเมืองนอกก็พยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับวังหน้าโชคดีได้ทำงานที่กรมศิลปากรเต็มไปด้วยผู้เชี่ยวชาญนักประวัติศาสตร์จำนวนมากได้ความรู้จากการแลกเปลี่ยนและพูดคุยถึงอดีตและการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่วังหน้าร่องรอยวังหน้าอยู่ตรงไหนประวัติศาสตร์ไทยอ่านได้แต่อยากนำข้อมูลในพื้นที่ให้คนเข้าถึงประวัติศาสตร์ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจได้ทั้งคนไทยและคนต่างชาติที่ห่างไกลจากประวัติศาสตร์ของไทย  เราเข้าไปค้นหาข้อมูลวังหน้าที่จดหมายเหตุและหาหนังสือภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องในร้านเอเชียบุ๊คสร้านคิโนะคุนิยะ      ที่ข้อมูลยังไม่เพียงพอเกิดความคิดจะขยายข้อมูลต่างๆเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียนรู้อย่างไร 

    ท่านผู้หญิงสิริกิติยา กล่าวว่า จากการศึกษาโครงการฯดังกล่าวกรมศิลปากรได้จัดนิทรรศการ”วังน่านิมิต” ครั้งแรกที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครปีที่แล้วเน้นเทคโนโลยีกระจายข้อมูลวังหน้ามีผลงานสร้างสรรค์จำนวน11 ชิ้นเป็นหอจมหมายเหตุอีกรูปแบบหนึ่งมีพันธมิตรเผยแพร่ในสื่อออนไลน์แม้นิทรรศการจบไปแล้วแต่ก็ยังเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ไม่ว่าอยู่ที่ไหนของโลก  ถัดมาเป็นนิทรรศการ”วังหน้านฤมิตในมิติแห่งกาลเวลา“ ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครเชิญคนเข้าไปในพื้นที่วังหน้าเพื่อสัมผัสกับข้อมูลผ่านการเห็นได้ยิน 

    “ สำหรับนิทรรศการวังหน้าในรูปแบบดิจิทัลผ่านGoogle Arts&Culture    เป็นผลจากการติดตามผลงานของ    Google Arts&Culture ซึ่งรวบรวมข้อมูลและผลงานศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญต่างๆทั่วโลกไว้บนโลกออนไลน์​ สนใจประวัติศาสตร์ได้ดูพิพิธภัณฑ์เบอร์ลินและชมตัวอย่างผลงานสำคัญแม้ไม่ได้ไปสถานที่จริงแต่ก็ยังได้เห็นสิ่งของจัดแสดงคิดในใจอยากให้คนทั่วโลกเห็นศิลปวัฒนธรรมไทยในรูปแบบนี้เพราะเมืองไทยมีของดีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครมีโบราณวัตถุและสิ่งของล้ำค่าจัดแสดงอยากให้คนได้เห็นและเข้าถึงความเก่งกาจของคนในอดีตจึงชวน  Google Arts&Culture   มาทำงานร่วมกันเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมและเสนอข้อมูลจากนิทรรศการวังหน้านฤมิตในรูปแบบดิจิตอลและอินเทอร์แอคทีฟถือเป็นจดหมายเหตุอีกรูปแบบหนึ่งที่มีมิติทุกคนสามารถเข้าไปจับต้องเล่นกับมันโดยไม่ต้องเข้ามาที่วังหน้าประเทศไทยเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่คนเข้าถึงได้ตลอดเวลาโปรเจ็กต์ต่อไปจะเกิดขึ้นใน2 เดือนข้างหน้าเตรียมใช้เทคโนโลยีต่างประเทศเปิดข้อมูลวังหน้าในรูปแบบทันสมัยและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น“ ท่านผู้หญิงสิริกิติยากล่าว 

    ด้านนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า  ที่ผ่านมากรมศิลปากรพยายามนำเทคโนโลยีระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยเผยแพร่งานของกรมศิลปากร  ซึ่งประสบผลสำเร็จหลายด้านอาทิระบบคิวอาร์โค้ดและระบบเออาร์โค้ดนำชมพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุศิลปวัตถุ  ทำให้ผู้ชมเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วรวมถึงโครงการสมาร์ทมิวเซียมเป็นระบบนำชมพิพิธภัณฑ์แบบเสมือนจริงนอกจากนี้สำนักหอสมุดแห่งชาติและสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติมีการพัฒนาระบบหนังสืออิเล็กทรอนิก(E book) และระบบสืบค้นเอกสารโบราณผ่านระบบD-Library  ตนได้รับรายงานจากฝ่ายเทคโนโลยีว่าข้อมูลออนไลน์เหล่านี้ได้รับความสนใจอย่างมาก  แต่ละเดือนมีผู้เข้าชมล้านกว่าคนก็เป็นความภาคภูมิใจสำหรับการดำเนินโครงการการศึกษาสันนิษฐานรูปแบบพระราชวังบวรสถานมงคลฯก่อนหน้านี้เคยจัดเป็นนิทรรศการที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครและนิทรรศการพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยสำหรับครั้งนี้เป็นการนำเสนอในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ดิจิทัลช่วยกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมชาติ   

 

     นายจิระวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว หัวหน้าฝ่ายนโยบายและความสัมพันธ์ภาครัฐบริษัทกูเกิ้ล(ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า หัวข้อนิทรรศการในรูปแแบบดิจิตัลแบ่งเนื้อหาเป็น4 ตอนมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้แก่ตอนที่1 รู้จักวังหน้าเป็นการกกล่าวถึงประวัติความเป็นมาและประวัติศาสตร์วังหน้าความคิดดั้งเดิมที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย  ตอนที่2 กว่าจะเป็นนัยระนาบนอกอินซิทูณพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยเป็นการรวบรวมผลงานของศิลปินแต่ละท่านที่ได้รังสรรค์ไว้ในช่วงนิทรรศการเมื่อต้นปีที่ผ่านมาตอนที่3 ชุบชีวิตทางมรดกทางประวัติศาสตร์ที่จับต้องได้อินซิทูเป็นการกล่าวถึงสิ่งปลูกสร้างที่เป็นร่องรอยของวังหน้าไม่ว่าจะเป็นพระที่นั่งคชกรรมประเวศพลับพลาสูงและสิ่งอื่นๆที่ได้จัดแสดงไปแล้ว  ตอนที่4 ผัสสะของสิ่งที่จับต้องไม่ได้อินซิทูกล่าวถึงส่วนที่จับต้องไม่ได้เช่นเพลงพระปรมาภิไธยรวมถึงภาพวาดเป็นต้น

     “ นิทรรศการทั้ง4 เรื่องนำเสนอผ่านภาพถ่ายที่มีความละเอียดสูงการซูมและวิดีโอเล่าเรื่องนิทรรศการเช่นประวัติของวังหน้าเพื่อให้เกิดความเข้าใจขั้นพื้นฐานในแง่มุมทางประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์การจัดพื้นที่เชื่อมโยงแนวคิดการจัดทัพตามตำราพิชัยสงครามการนำเสนอเรื่องราวของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ให้ผู้ชมได้สัมผัสและมีประสบการณ์ร่วมกันราวกับได้เดินชมวังหน้าด้วยตนเอง“ นายจิระวัฒน์ กล่าว 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0