โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“ทรัมป์” ชี้คุย “ปูติน” เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

AFP

เผยแพร่ 16 ก.ค. 2561 เวลา 15.30 น. • Natthaporn Thaotagoo
Brendan Smialowski / AFP ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ จับมือประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ก่อนเปิดฉากหารือครั้งแรกที่กรุงเฮลซิงกิ ฟินแลนด์
Brendan Smialowski / AFP ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ จับมือประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ก่อนเปิดฉากหารือครั้งแรกที่กรุงเฮลซิงกิ ฟินแลนด์

การประชุมระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย เปิดฉากที่กรุงเฮลซิงกิของฟินแลนด์วันนี้ โดยผู้นำสหรัฐฯย้ำเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

ประธานาธิบดีทรัมป์เผยกับผู้สื่อข่าวหลังการหารือกับประธานาธิบดีปูตินเป็นเวลานานกว่า 2 ชั่วโมงวันนี้ โดยมีเพียงล่ามสองฝ่ายเข้าร่วม ซึ่งผู้นำสหรัฐฯระบุว่า การประชุมครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับทุกคน ซึ่งการตัดสินใจของประธานาธิบดีทรัมป์ในการนั่งพูดคุยตัวต่อตัวกับประธานาธิบดีปูตินได้สร้างความประหลาดใจให้กับนักการเมืองในสหรัฐฯ ทั้งยังมีเสียงเรียกร้องจำนวนมากที่ต้องการให้เลื่อนการเจรจาที่กรุงเฮลซิงกิออกไปหลังมีการตั้งข้อหาเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองรัสเซีย 12 คน เพื่อสอบสวนข้อกล่าวหาว่ารัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯเมื่อปี 2559 แต่ทรัมป์ก็พยายามสร้างความเชื่อมั่นว่าแนวทางการทูตเฉพาะตัวของเขาจะสามารถทำให้การเจรจากับปูตินเดินหน้าไปในทางที่ดี และนำไปสู่สิ่งที่เขาเรียกว่าการมีความสัมพันธ์พิเศษ จากการที่ผู้นำทั้งสองได้นั่งหารือกันในประเด็นต่างๆ ตั้งแต่วิกฤตซีเรีย ยูเครน จีน ไปจนถึงประเด็นการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าและอาวุธนิวเคลียร์

ด้านประธานาธิบดีปูติน ที่ได้รับการแสดงความยินดีจากประธานาธิบดีทรัมป์และผู้นำโลกต่อความสำเร็จในการที่รัสเซียเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ที่เพิ่งปิดฉากลงไปกล่าวว่า นี่ถึงเวลาที่จะต้องมีการพูดคุยกันในแบบที่มีสาระเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ไปจนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆของโลก ขณะที่ทรัมป์เชื่อว่าทั้งโลกต้องการเห็นสหรัฐฯและรัสเซียไปกันด้วยดี โดยทั้งสองประเทศคือมหาอำนาจนิวเคลียร์ของโลก

อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายมองว่าประธานาธิบดีทรัมป์มีแรงกดดันหลายทางในการเจรจากับผู้นำรัสเซียครั้งนี้ ทั้งจากอังกฤษที่ต้องการกดดันปูติน ต่อกรณีพบการใช้สารทำลายประสาทในอังกฤษ ซึ่งรัฐบาลอังกฤษกล่าวหาว่ารัสเซียอยู่เบื้องหลัง ขณะเดียวกัน ก็อาจมีความไม่พอใจเกิดขึ้นในสหรัฐฯเองหากทรัมป์เลือกที่จะไม่เผชิญหน้ากับปูตินต่อกรณีข้อกล่าวหารัสเซียแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0