โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

“ความผันผวน” หนีไม่ได้ แต่ลดได้ ด้วยการจัดพอร์ตแบบ Global Asset Allocation

Finnomena

อัพเดต 09 ก.พ. 2566 เวลา 03.10 น. • เผยแพร่ 04 พ.ย. 2562 เวลา 06.00 น. • Get Wealth Soon

Update พฤศจิกายน 2020

ปี 2020 ใกล้จะจบลงในอีกไม่ช้า แต่ต้องยอมรับเลยว่าการลงทุนปีนี้เป็นปีที่ยากจริงๆ ตั้งแต่ต้นปีมา มีประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอยู่หลายเรื่อง เช่น

  • วิกฤติ COVID-19 ที่ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกต้องจบลง จากการปิดเมือง
  • ราคาน้ำมัน ที่ตกต่ำจนกดดันบริษัทและหุ้นกลุ่มพลังงานต่าง ๆ มากมาย
  • Fed ทำ QE ชุดใหญ่ ส่งผลให้ตำราการลงทุนแบบเดิม ๆ ถูกฉีกกฎเกณฑ์
  • หุ้นมีความผันผวนเป็นอย่างมาก ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวลงราว ๆ พันจุดภายใน 2 เดือน และฟื้นตัวไปแตะจุดเดิมในระยะเวลาเพียง 5 เดือน
  • GDP ในหลายประเทศติดลบอย่างรุนแรง จากผลของ COVID-19 เช่น GDP สหรัฐในไตรมาส 2 ที่ติดลบถึงราว ๆ 30% ก่อนปรับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
  • ดัชนี PMI ชะลอตัวอย่างหนักก่อนปรับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว (PMI คือ อะไร? อ่านต่อได้ที่คลิก)แม้ตลาดหุ้นทั่วโลกจะมีความผันผวนแบบนี้ แต่เราสามารถลดความผันผวนได้ด้วยการจัดพอร์ตการลงทุนแบบ Global Asset Allocationค่ะ

จัดพอร์ตการลงทุนแบบ Global Asset Allocation คืออะไร?

ก่อนอื่น มารู้จักกับคำว่า Asset Allocation กันก่อน Asset Allocation คือ การจัดสรรเงินลงทุน โดยกระจายการลงทุนไปยังหลายๆ สินทรัพย์เพื่อกระจายความเสี่ยง สินทรัพย์ที่ว่า แบ่งเป็น 4 สินทรัพย์หลักคือ

  • ตราสารทุน (Equity)
  • ตราสารหนี้ (Bond)
  • การลงทุนทางเลือก (Alternative Investment) - อสังหาริมทรัพย์ (Property), สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) และ
  • เงินสด (Cash) เมื่อเพิ่มคำว่า Global เข้ามาด้านหน้า หมายถึงการจัดสรรเงินลงทุนไปยังหลายประเทศทั่วโลก ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) และประเทศที่กำลังพัฒนา (Emerging Market) ซึ่งมีข้อดีอย่างไร มาดูกันต่อเลยค่ะ

จัดพอร์ตการลงทุนแบบ Global Asset Allocation สำคัญอย่างไร?

ข้อมูลจาก Novelinvestorได้แสดงผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์ในแต่ละปี ตั้งแต่ปี 2006 จนถึง YTD ของปี 2021 นี้ ซึ่งใน Novelinvestor บอกว่าข้อมูลอัปเดตล่าสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2021 จะเห็นว่าไม่มีสินทรัพย์ใด ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดในทุกๆ ปี และไม่มีสินทรัพย์ใด ให้ผลตอบแทนแย่ที่สุดในทุกๆ ปีเช่นกัน มีขึ้นมีลงตามสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นๆ อย่างในปี 2008 ที่เกิดวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis)ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้มีการปล่อยสินเชื่อเงินกู้ให้กับลูกหนี้ที่มีเครดิตทางการเงินต่ำกว่ามาตรฐาน (Sub-Prime) เป็นจำนวนมาก โดยใช้อสังหาริมทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ทำให้บริษัทที่ปล่อยเงินกู้เกิดปัญหาเงินขาดมือ ส่งผลกระทบไปถึงความมั่นคงของสถาบันการเงิน หลายๆ กิจการต้องปิดตัวไป ลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลกด้วย เพราะสหรัฐอเมริกาถือเป็นตลาดผู้นำเศรษฐกิจโลก เป็นปีที่ตลาดหุ้นติดลบทั่วโลก ในเมื่อตลาดหุ้นมีความผันผวน เป็นปกติที่นักลงทุนจะโยกเงินออกจากตลาดหุ้นเข้าสู่สินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยอย่างเงินสดและตราสารหนี้ ทำให้สินทรัพย์ที่ทำผลตอบแทนได้ดีที่สุดในปี 2008 มีเพียง 2 สินทรัพย์นี้เท่านั้น เป็นตัวอย่างจริงที่ทำให้เราเห็นได้ชัดว่า ไม่มีสินทรัพย์ใดให้ผลตอบแทนดีที่สุดตลอดทุกปี

แต่จะเห็นว่ามีอยู่ 1 สินทรัพย์ที่ได้ผลตอบแทนอยู่กลางๆ ตลอด ไม่โดดเด่นที่สุด แต่ก็ไม่ได้แย่ที่สุด นั่นคือ AAค่ะ AA ในความหมายของNovelinvestorย่อมาจาก Asset Allocation Portfolioเป็นการจัดพอร์ตการลงทุน โดยมีการกระจายการลงทุนทั่วโลก ทั้งใน ตราสารทุน, ตราสารหนี้ และ การลงทุนทางเลือก โดยแบ่งสัดส่วนเป็น ดังนี้ ตราสารทุน 50%* ตราสารหนี้ 40%**และ การลงทุนทางเลือก (อสังหาริมทรัพย์) 10%*** *แบ่งสัดส่วนเป็น 15%Large Caps Stocks วัดจาก S&P 500 Index, 15%International Developed Stocks วัดจาก MSCI EAFE Index เป็นดัชนีที่วัดผลการดำเนินงานจากโซน Europe, Australasia และ Far East, 10% Small Cap Stocks วัดจาก Russell 2000 Index เป็นดัชนีที่ใช้วัดผลการดำเนินงานของบริษัทขนาดเล็กสุด 2,000 บริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา, 10%Emerging Market Stocks วัดจาก MSCI Emerging Markets Index **ลงทุนในตราสารหนี้ High-grade bonds หรือในภาษาง่ายๆ คือเลือกลงทุนกับเจ้าหนี้ที่มีความมั่นคงค่อนข้างสูง มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ต่ำ ดัชนีที่ใช้วัดคือ Barclay’s U.S. Aggregate Bond Index ***ดัชนีที่ใช้วัดคือ REITs FTSE NAREIT All Equity Index และมีการทำ Rebalancing ทุกปีRebalancing คือการปรับสมดุลของพอร์ตการลงทุนให้เป็นไปตามสัดส่วนที่เรากำหนดไว้ในตอนแรก โดยขายสัดส่วนของสินทรัพย์ที่เกินกำหนดออกมา (ส่วนของกำไร) และนำเงินไปซื้อสินทรัพย์ที่มีสัดส่วนต่ำกว่ากำหนด ให้กลับมาเท่าเดิม เมื่อได้ทำ Global Asset Allocation แล้ว จะเห็นว่าในปี 2008 AAจะติดลบไป 22.4%เมื่อเทียบกับการลงทุนในหุ้นเพียงกลุ่มเดียว อย่าง EMหรือ Emerging Market ติดลบ53.2%และ DMหรือ Developed Market ติดลบ43.1%จะเห็นว่าการทำ Global Asset Allocation จะขาดทุนน้อยลงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว ทั้งนี้ผู้อ่านที่สนใจการลงทุนแบบ Global Asset Allocation ทาง FINNOMENA มีพอร์ตการลงทุนแบบ Global Asset Allocation เช่นกัน โดยแบ่งเป็น 4 แผนการลงทุนหลัก* ได้แก่

  • GAR (Global Absolute Return): สะสมมูลค่าด้วยพอร์ตเสี่ยงค่อนข้างสูง จะเน้นลงทุนในตราสารทุนในระดับค่อนข้างสูง โดยมีสัดส่วนการลงทุนดังนี้ ตราสารทุน 70% การลงทุนทางเลือก (อสังหาริมทรัพย์) 20% การลงทุนทางเลือก (ทองคำ) 5% ตราสารหนี้ 5%
  • GCP (Global Conservative Portfolio): รักษาเงินต้นด้วยพอร์ตเสี่ยงต่ำ จะลงทุนในตราสารทุนในระดับต่ำ โดยมีสัดส่วนการลงทุนดังนี้ กองทุนรวมผสม 35% ตราสารหนี้ 30% การลงทุนทางเลือก (อสังหาริมทรัพย์) 15% การลงทุนทางเลือก (ทองคำ) 5% ตราสารทุน 15%
  • TOP 5 เติบโตด้วยพอร์ตเสี่ยงสูง โดยลงทุนเพียง 5 กองทุนเท่านั้น จะเน้นลงทุนในตราสารทุนในระดับสูง โดยมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุน 100%
  • GIF (Global Income Focus) : สร้างรายได้จากการลงทุน จะเน้นลงทุนเพื่อให้ได้รับกระแสเงินสดกลับมาในทุกๆ เดือน โดยมีสัดส่วนการลงทุนดังนี้ กองทุนรวมผสม 35% ตราสารทุนในประเทศ 30% ตราสารหนี้ต่างประเทศ 15% การลงทุนทางเลือก (อสังหาริมทรัพย์) 20% *ข้อมูล ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2021 เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลง จะมีการแจ้งเตือนปรับพอร์ต และมีการทำ Rebalancing ด้วย โดยจะมีการแจ้งเตือนผ่าน Application FINNOMENA และ E-mail ให้ฟรี! สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ finno.me/ports ก่อนจะจากกันไปขอย้ำอีกสักนิดว่า การทำ Global Asset Allocation ไม่ใช่เป็นการจัดพอร์ตเพื่อไม่ให้เกิดผลขาดทุนเลย แต่เป็นการทำเพื่อกระจายความเสี่ยง ทำให้ลดโอกาสการขาดทุนได้ในยามที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เริ่มวันนี้… คุณก็สามารถสร้างความมั่งคั่งให้ด้วยเองได้ตั้งแต่วันนี้ แล้วเราจะ Get Wealth Soon ไปด้วยกันนะคะ สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อน สวัสดีค่ะ
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0