โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

สิ้นสุดการรอคอย “เงินฝาก” เข้าสู่ ‘วงเงินคุ้มครอง’ ไม่เกิน 1 ล้านบาท...ตั้งแต่ 11 ส.ค. 21 นี้ !!!

Wealthy Thai

อัพเดต 08 ส.ค. 2566 เวลา 11.27 น. • เผยแพร่ 10 ส.ค. 2564 เวลา 14.58 น. • สรวิศ อิ่มบำรุง

คุณทราบหรือไม่ว่า…แผนงานในการลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากลงสู่เป้าหมาย ‘ไม่เกิน 1 ล้านบาท’ นั้น ดีเลย์มานานมาก ตลอดรายทางมีการขยายเวลาออกไปคั่นมาตลอดทาง
ในท้ายที่สุดก็ “สิ้นสุดการรอคอย” หลังจากเลื่อนมาจากปี20 อีก 1ปี ตั้งแต่ “วันที่ 11 ส.ค. 21” เป็นต้นไป วงเงินคุ้มครองเงินฝากได้ปรับลดลงจากไม่เกิน 5 ล้านบาท เรียบร้อยแล้ว เหลือไม่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการคุ้มครองเงินฝากแล้ว
สำหรับ “ผู้ฝากเงิน” ส่วนใหญ่แล้ว แม้ไม่ได้ติดตามข่าวนี้ก็คงไม่กระทบอะไร เพราะ 98.35% ของบัญชีเงินฝากทั้งระบบ มีเงินฝาก ต่ำกว่า 1ล้านบาท อยู่แล้ว
ส่วนกลุ่มคนที่มีเงินฝาก มากกว่า 1 ล้านบาท นั้น มีอยู่ 1.65% ของบัญชีเงินฝากทั้งระบบ แต่ครรอบครองเม็ดเงินฝากสูงถึง 79.70% นั้นเป็นกลุ่มที่ต้องคิดอ่านวางแผนกันต่อไป
วันนี้ทีมงาน Wealthythai” มีเรื่องราวดีๆ ที่น่าสนใจมาฝากกันเช่นเคย

ถ้า “แบงก์ล้ม”…จะได้รับเงินฝาก ไม่เกิน จำนวนที่คุ้มครอง

สำหรับ “ผู้ฝากเงิน” คุณต้องเปลี่ยนมุมมองต่อการฝากเงินในบริบทใหม่ให้รับกับ ระบบคุ้มครองเงินฝาก นี้ก่อนเลย เพราะการฝากเงินก็มี ความเสี่ยง เช่นกัน
ลืมเรื่อง วิกฤติต้มยำกุ้ง ปี1997 ที่มีการปิดสถาบันการเงินไป 58 แห่ง และสุดท้ายรัฐต้องให้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Institutions Development Fund :FIDF) รับประกันเงินฝากเต็มจำนวน จนเป็นภาระมาจนถึงปัจจุบันกันเลยทีเดียว ซึ่งก็ไม่ใช่เงินใครที่ไหนเป็น เงินภาษี ของคนไทยนี่แหละ แต่ภาพนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต หากมีสถาบันการเงิน เจ๊ง ลง!!!
นี่แหละคือ สิ่งที่เปลี่ยนไปกับการฝากเงินของไทย เพราะไทยได้เปลี่ยนมาใช้ ระบบคุ้มครองเงินฝาก ตั้งแต่ปี2008 เป็นต้นมา โดยมีการตรา .ร.บ.สถาบัน คุ้มครองเงินฝาก มีผลบังคับใช้ในเดือนส.ค. 2008 และมีการจัดตั้ง “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (DPA) ขึ้น ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นของการคุ้มครองเงินฝากแบบชัดเจน
“ภายใต้ระบบคุ้มครองเงินฝากนี้ จะมีการเรียกเก็บเงินจากสถาบันการเงินมาเก็บสะสมไว้ในกองทุนคุ้มครองเงินฝาก เพื่อใช้จ่ายคืนเงินผู้ฝาก หากมีเหตุสถาบันการเงินล้ม ก็ไม่ต้องนำเงินภาษีมาใช้ในการจ่ายคืนผู้ฝากเงินอีกต่อไป”
โดยเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครองจะเป็นเงินฝากปกติที่ไม่ซับซ้อน เช่น เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ แต่ผลิตภัณฑ์ที่ ไม่ได้รับความคุ้มครอง ก็มี ได้แก่
-เงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ
-เงินฝากที่มีอนุพันธ์แฝง
-เงินฝากระหว่างสถาบันการเงิน
-เงินฝากในบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ

“ผู้ฝากเงิน”…ส่วนใหญ่กว่า 98% ไม่ได้รับผลกระทบ

อ่านมาถึงตรงนี้ “ผู้มีเงินฝาก” ก็อย่าเพิ่งตกใจ เพราะปัจจุบัน (ณ พ.ค. 21) มีบัญชีเงินฝากในระบบ 109.41 ล้านบัญชี มีเม็ดเงินฝากรวมกันทั้งสิ้น 15.94 ล้านล้านบาท มีบัญชีเงินฝากที่ ต่ำกว่า 1ล้านบาท อยู่ 107.60 ล้านบัญชี คิดเป็น 98.35% ของบัญชีเงินฝากทั้งระบบ แต่มีเม็ดเงินฝากรวมกันเพียง 3.24 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 20.30% ของเงินฝากทั้งระบบ คนกลุ่มนี้ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ จะไม่ได้รับผลกระทบแต่ประการใด
ในขณะที่บัญชีเงินฝากที่มีเงิน เกิน 1ล้านบาท นั้น มีอยู่ 1.81 ล้านบัญชี คิดเป็น 1.53% ของบัญชีเงินฝากทั้งหมด แต่มีเม็ดเงินฝากรวมกันกว่า 12.70 ล้านล้านบาท คิดเป็น 78.28% ของเงินฝากทั้งระบบ
“ตามกฎหมายสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ในท้ายที่สุด (ตั้งแต่ 11 ส.ค. 21 เป็นต้นไป) กำหนดวงเงินคุ้มครองไว้ 1 ล้านบาท ซึ่งครอบคลุม ผู้ฝากเงินกว่า 98.35% ของระบบ หมายความว่าหากมีสถาบันการเงินล้มลงในอนาคต (สมมติเฉยๆ นะ) ผู้ฝากเงินในสถาบันการเงิน 98.35% จะได้คืนเงินฝากเต็มทั้งจำนวนที่ฝากไว้ อีก 1.54% จะได้เงินคืนตามจำนวนที่คุ้มครอง และส่วนที่เหลือรอรับจากการชำระบัญชีอีกครั้งว่าจะมีเงินเหลือมาคืนให้ได้เท่าไร ก็เท่านั้น”

“เศรษฐีเงินฝาก” ที่มีเงินฝากมากกว่า 35 ล้านบาท…ต้องขยับขยายสู่ “การลงทุน”

สำหรับ“วงเงินคุ้มครองที่ 1 ล้านบาท” โดยจะคุ้มครองในลักษณะ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน (ไม่ใช่ต่อ 1 บัญชี) ซึ่งปัจจุบันมีสถาบันการเงิน 35 แห่งที่ได้รับความคุ้มครอง ดังนั้น กลุ่มคนที่มีเงินฝากมากกว่า 35 ล้านบาท ขึ้นไป จึงเป็นกลุ่มคนที่จะต้องบริหารจัดการเงินของตัวเองให้ดี เพราะสามารถกระจายไปยังแต่ละสถาบันการเงินได้แห่งละ 1 ล้านบาท โดยยังได้รับความคุ้มครองอยู่
“ทั้งนี้พบว่าบัญชีเงินฝากที่มีมากกว่า 50 ล้านบาท นั้น มีอยู่ 26,097 บัญชี (สัดส่วน 0.02%ของบัญชีเงินฝากทั้งระบบ) มีเม็ดเงินรวมกันกว่า 5.99 ล้านล้านบาท (สัดส่วน 37.60% ของเงินฝากทั้งระบบ) ต้องขยับสู่โปรดักต์การลงทุน ซึ่งเราจะเห็นหน่วยงานด้านการลงทุนของแบงก์ต่างๆ ขยับขยายมารองรับเม็ดเงินส่วนนี้กันมานานก่อนหน้านี้แล้ว และยิ่งทวีความเข้มข้นมากขึ้นในปัจจุบัน”
สำหรับสถาบันการเงินที่ได้รับความคุ้มครองทั้ง 35 แห่ง ประกอบด้วย

ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (19 แห่ง)

  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (11 แห่ง)

  • ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส

  • ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด

  • ธนาคารซิตี้แบงก์

  • ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด

  • ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น

  • ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด

  • ธนาคารดอยซ์แบงก์

  • ธนาคารมิซูโฮ จำกัด

  • ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์

  • ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น

  • ธนาคารอินเดียน โอเวอร์ซีส์

บริษัทเงินทุน (2 แห่ง)

  • บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)

  • บริษัทเงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)

บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (3 แห่ง)

  • บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เอสเบ จำกัด

  • บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ จำกัด

  • บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด

“เงินฝาก” ได้เดินทางเข้าสู่จุดหมายปลายทางของ การคุ้มครองเงินฝากที่วงเงินไม่เกิน 1ล้านบาท เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ “วันที่ 11 ส.ค. 21” เป็นต้นไป สำหรับผู้มีเงินฝากส่วนใหญ่คงใช้ชีวิตตามปกติกันต่อไป แต่คนที่เป็น “เศรษฐีเงินฝาก” อาจจะถึงเวลาต้องขยับขยายสู่โปรดักต์การลงทุนกันมากขึ้นเช่นกัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0