โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

‘แกร็บ’แบะท่าร่วมมือรัฐ คุมค่าบริการแอพส่งอาหาร

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 11 ก.ค. 2563 เวลา 01.48 น. • เผยแพร่ 11 ก.ค. 2563 เวลา 01.45 น. • Thansettakij

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (covid-19) ในปัจจุบันส่งผลให้ธุรกิจบริการขนส่งสินค้าผ่านออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากประชาชน ขณะเดียวกันก็มีเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคทั้งในการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ และราคาขนส่งของผู้ส่ง เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.จึงมีมติเห็นชอบให้ บริการขนส่งสินค้าสำหรับธุรกิจออนไลน์เป็นบริการควบคุมตาม พ.ร.บ. สินค้าและบริการ พ.ศ. 2562 เพื่อป้องกันการกำหนดราคาซื้อ ราคาจำหน่าย หรือการกำหนดเงื่อนไขและวิธีปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ส่งผลกระทบกับธุรกิจแพลตฟอร์มฟู้ดดิลิเวอรี่ ทั้งแกร็บฟู้ด ไลน์แมน ที่มีการเติบโตต่อเนื่อง 200-300%

ดร.เก่งการ เหล่าวิโรจนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์แกร็บ ประเทศไทย กล่าวกับ”ฐานเศรษฐกิจ”ว่าบริษัท ยังไม่สามารถให้ความเห็นต่อประเด็นดังกล่าวได้ในขณะนี้ เนื่องจากยังอยู่ระหว่างรอความชัดเจนของรายละเอียดในการควบคุม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดตัว ‘Grab Loves Thais ช่วยกันนะคนไทย’

Grab ต้านไม่ไหว "เลิกจ้าง 5%" 

เปิด ‘ตลาดเกษตรกร’ หนุนสร้างรายได้ผ่าน GrabMart

ทั้งนี้ ธุรกิจบริการขนส่งสินค้าออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชันนั้น แตกต่างจากธุรกิจขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทั่วไป เนื่องจากเป็นธุรกิจบริการรูปแบบใหม่ที่มีรายละเอียดและมีความซับซ้อนในการดำเนินการ มีผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการธุรกิจหลายกลุ่ม ทั้ง 1) ผู้บริโภค 2) พาร์ตเนอร์คนขับหรือผู้จัดส่งที่มีในระบบนับหลายแสนราย 3) ผู้ประกอบการร้านค้าหรือร้านอาหารจำนวนมาก รวมถึงผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม ซึ่งจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและต้องรักษาสมดุลการตอบสนองความต้องการหรือสร้างประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ดีบริษัทตระหนักและเข้าใจถึงบทบาทของกระทรวงพาณิชย์ในการควบคุมดูแลการกำหนดราคาสินค้าและบริการให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค และเชื่อมั่นว่ามาตรการควบคุมราคาจากประกาศเพิ่มเติมของกระทรวงพาณิชย์จะคำนึงถึงความต้องการและประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม โดยบริษัทฯ พร้อมให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐอย่างเต็มที่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุค New Normal

ด้านแหล่งข่าวจากบริการฟู้ดดิลิเวอรีรายหนึ่ง แม้ว่าช่วงวิกฤติโควิด-19 ผู้ให้บริการฟู้ดดิลิเวอรีจะมียอดการเติบโตเพิ่มขึ้น 200-300% แต่ผู้ให้บริการยังประสบปัญหาขาดทุน เนื่องจากอยู่ในช่วงการลงทุนนำเม็ดเงินการตลาดมาอุดหนุนแคมเปญ โปรโมชันส่วนลด เพื่อดึงผู้ใช้งานเข้ามาในระบบ

ด้านนายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กรณีที่กระทรวงพาณิชย์ ให้ค่ายดิลิเวอรีส่งข้อมูลโครงสร้างต้นทุน เพื่อไม่ให้เอาเปรียบผู้บริโภค มีหลายค่ายที่ส่งมาบ้างแล้ว แต่เนื่องจากต้นทุนของแต่ละค่ายค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นต้องให้เจ้าหน้าที่ที่ดูเรื่องนี้ทำการศึกษาอย่างละเอียดก่อนจะประกาศออกมา เพราะกรมต้องการให้ข้อมูลมีความชัดเจนก่อนอออกประกาศเพื่อป้องกันความสับสนและให้เกิดเป็นรูปธรรมสามารถนำไปใช้บังคับได้จริง

หน้า 2 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,590 วันที่ 9 - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0