โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

‘สลิ่ม’ กินไม่ได้ แต่ ‘ซาหริ่ม’ กินได้

กรุงเทพธุรกิจ

เผยแพร่ 25 ก.พ. 2563 เวลา 12.00 น.

ขนมเส้นยาวเล็กละเอียดหลากสีสันทั้งแดงเขียวขาวชมพูราดด้วยน้ำกะทิขาวนวลโปะด้วยน้ำแข็งเย็นชื่นใจคือซาหริ่มอาหารหวานคลายร้อนสำหรับคนไทยมาตั้งแต่ช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลายแต่ความพีคของซาหริ่มกลับมาฮิตอีกครั้งในปลายเดือนกุมภาพันธ์2563 นี้จากการแสดงจุดยืนของนักศึกษาต่อกรณียุบพรรคอนาคตใหม่สำหรับใครที่กำลังสับสนว่าขนมหวานคลายร้อนมาเกี่ยวโยงกับการเมืองอย่างไร? 

อย่างแรกต้องเข้าใจก่อนว่าซาหริ่มในเคลื่อนไหวการเมืองสมัยใหม่นี้ไม่ใช่ซาหริ่มแต่คือสลิ่ม 

โดยคำนี้ถูกเริ่มใช้ตั้งแต่ปี2557 เป็นต้นมาการออกเสียงว่าซา-หริ่มที่สะกดว่าสลิ่มคือคำเรียกกลุ่มคนที่เคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านระบบทักษิณในปี2557 (ลักษณะนามจากการใส่เสื้อหลากสีของกลุ่มคนดังกล่าว) แต่ใครจะสลิ่มก็ปล่อยให้เขาสลิ่มไป! เรามาสนใจซาหริ่มขนมหวานขวัญใจใครหลายๆคนดีกว่าเพราะนอกจากความอร่อยซาหริ่มยังพาเราไปเรียนรู้ประวัติชาวชวามลายูได้อย่างน่าสนใจ 

ซาหริ่มมาจากชวามลายู 

ซ่าหริ่มลิ้มหวานล้ำ           แทรกใส่น้ำกะทิเจือ

วิตกอกแห้งเครือ             ได้เสพหริ่มพิมเสนโรย…

จากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒

158262897833
158262897833

ซาหริ่มนั้นมีต้นกำเนิดที่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดแต่มีการบันทึกไว้ว่าชาวกรุงศรีอุยธยารู้จักซาหริ่มมาตั้งแต่ช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลายแต่เมื่อพูดถึงขนมหวานช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วจะนึกถึงใครไม่ได้นอกจาก“ราชินีขนมไทยท้าวทองกีบม้า” หรือ“มารีกีมาร์” ผู้สร้างตำนานขนมหวานไทยอย่างทองหยิบทองหยอดที่รู้จักกันจึงมีข้อสันนิฐานว่าขนมหวานซาหริ่มนั้นเป็นหนึ่งในผลผลิตของท้าวทองกีบม้า 

อย่างไรก็ตาม อาจารย์เพ็ญสุภาสุขคตะ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติสาสตร์ไทยได้ให้ข้อมูลลงคอลัมน์ปริศนาโบราณคดีมติชนออนไลน์ว่าซาหริ่มไม่ได้มีต้นกำเนิดจากท้าวทองกีบม้าหรือขนมโปตุเกสอย่างขนมหวานไทยอื่นๆ  เพราะสูตรขนมหวานของมารีกีมาร์หนักไปทาง“ขนมแห้ง” มากกว่า“ขนมเปียก” หากย้อนไปมองขนมหวานของชาวมอญกลุ่มลอดช่องปลากริมที่เน้นแป้งหยอดในน้ำกะทิก็พบว่ามีความแตกต่างกันอีกเพราะซ่าหริ่มไม่ได้ใช้น้ำกะทิที่เอาน้ำตาลปึกไปเคี่ยวปนเกลือปะแล่มๆแต่เป็นการแยกกะทิสดกับน้ำหวานที่เชื่อมน้ำตาลทรายแถมกินแบบเย็นอีกด้วย

เมื่อวิเคราะห์จากรูปภาษา“ซาหริ่ม” เป็นคำยืมจากชวา เมื่อค้นหาขนมหวานของเพื่อนบ้านแถบอินโดนีเซียมาเลเซียสิงคโปร์นั้นพบว่าทั้งซาหริ่มทับทิมกรอบและลอดช่องสิงคโปร์ทั้งหมดเป็นขนมแป้งเหนียวใสคล้ายวุ้นเส้นผสมสีตระกูลRice Vermicelli ใส่น้ำเชื่อม+กะทิสดไม่เจือเกลือผสมน้ำตาลปึกแบบขนมมอญ-ไทย

นักนิรุกติศาสตร์ (นักภาษาศาสตร์) ชวาอธิบายว่าSa-Rim คำนี้พวกเขาเคยใช้ในอดีตนานโขแล้วเป็นคำยืมจากอินเดียใช้เรียกขนมวุ้นใสเป็นเส้นๆที่ใส่กะทิ

แต่ปัจจุบันชาวชวา-มลายูเรียกขนมนั้นว่าDawet ดาเวตเรียกตัวแป้งวุ้นว่าเชนดอลCendol (Chen-dul/Jendol)

ดังนั้นแล้วจึงอาจสรุปได้ว่าซาหริ่มเป็นขนมที่มาจากชาวชวามลายูและในสมัยอยุธยาสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศในยุคนั้นมีข้าหลวงชาวมลายูที่เป็นเชลยจากปัตตานีหลายนางเข้ามาถวายงานรับใช้ในราชสำนักอยู่ภายใต้การดูแลของพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสองพระองค์คือเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎทั้งสองพระองค์โปรดปรานวัฒนธรรมของชวามากจึงเป็นไปได้ว่าซาหริ่มเป็นขนมที่ดั้นด้นมาจากชวาสู่กรุงศรีอยุธยาตอนปลายตั้งแต่ตอนนั้นแล้วแต่ตัวขนมถูกดัดแปลงไม่เป็นขนมแบบวุ้นๆทำเลียนแบบคล้ายลอดช่องโดยทำตัวซาหริ่มให้เส้นเล็กลงไม่ใหญ่เท่าลอดช่องและมีหลากหลายสีและเส้นเหนียวกว่า

ซ่าหริ่มทำจากแป้งถั่วเขียวมีส่วนผสมหลักคือน้ำลอยดอกมะลิน้ำใบเตยกะทิและน้ำตาลทราย(สามารถเติมสีให้มีความหลากสีขึ้นได้สมัยก่อนสีต่างๆได้จากธรรมชาติแต่สมัยนี้ใช้สีผสมอาหาร) การรับประทานโดยการตักตัวซ่าหริ่มใส่ถ้วยราดด้วยน้ำเชื่อมหรือน้ำกะทิและเติมน้ำแข็ง

ในปัจจุบันซาหริ่มหารับประทานได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไปแต่ในกรุงเทพมหานครนี้มีร้านเด็ดเรื่องซาหริ่มได้แก่ 

-ร้านชูถิ่นร้านขนมไทยที่มาอายุยาวนาน80 ปีมี2 สาขาได้แก่คอกวัวและสะพานควาย 

-ร้านทับทิมกรอบแม่ดวงพรวงเวียนใหญ่ที่ขายซาหริ่มเลืองชื่อมา40 ปี 

-ร้านเช็งซิมอี๊ลือลั่นสะท้านโลกันต์ที่มาสาขาทั้งกรุงเทพ  

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0