โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

‘รมช.เกษตร’ หวังเนื้อโค-แพะ สร้าง ศก.หมุนเวียน แก้เกมราคา ยาง-ปาล์ม ผันผวน

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 22 ม.ค. 2563 เวลา 10.04 น. • เผยแพร่ 22 ม.ค. 2563 เวลา 08.20 น.
พ

รมช.เกษตร ลงพื้นที่ จ.สงขลา เยี่ยมชมสถานีปฏิบัติการสัตวศาสตร์ และสถานีวิจัยของคณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. แหล่งความรู้การเลี้ยงโคเนื้อ และแพะเนื้อ เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มทางเลือกแก่เกษตรกรภาคใต้ หวังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยปัญหาความผันผวนของราคายางพารา และปาล์มน้ำมัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ได้เดินทางมาเยี่ยมชมสถานีปฏิบัติการสัตวศาสตร์ และสถานีวิจัยของคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ) อ.นาทวี และ อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ซึ่งเป็นแหล่งให้ความรู้แก่นักศึกษา รวมทั้งเกษตรกรที่สนใจการเลี้ยงโคเนื้อ และแพะเนื้อ พร้อมรับฟังบรรยายสรุปการดำเนินงาน โดยมี นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา รวมทั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ.ทวีศักดิ์ นิยมบัณฑิต คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมผู้บริหารของคณะทรัพยากรธรรมชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่ จ.สงขลา เพื่อติดตามความพร้อมของคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการเป็นหน่วยงานร่วมสนับสนุนการผลิตโคเนื้อ และแพะเนื้อ ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ และแพะเนื้อเป็นอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกรภาคใต้ ซึ่งประสบกับปัญหาความผันผวนของราคายางพารา และปาล์มน้ำมัน

รวมทั้งหารือการลดพื้นที่ปลูกยางพารา หรือการขยายระยะปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อปลูกหญ้าและพืชอาหารสัตว์ กระถิน แค หม่อน และมันสำปะหลัง สำหรับเป็นใช้เป็นอาหารโค และแพะ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยให้ภาคใต้ มีวัตถุดิบอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น ลดการพึ่งพิงการนำเข้าจากนอกพื้นที่ รวมทั้งการนำมูลสัตว์กลับมาใช้เป็นปุ๋ยคอก หรือนำไปเลี้ยงไส้เดือน เพื่อผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนโดยคาดว่า จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันเกษตรกร อีกทั้งยังสอดคล้องนโยบายของรัฐบาลที่เน้นการสร้างเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน หรือ Circular Economy อีกด้วย

ทั้งนี้หน่วยงานของคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่จะถูกใช้เป็นหน่วยงานร่วมสนับสนุนการผลิตโคเนื้อ และแพะเนื้อ ตามโครงการดังกล่าว มีด้วยกัน 2 แห่ง คือ สถานีปฏิบัติการสัตวศาสตร์นาทวี ต.คลองทราย อ.นาทวี จ.สงขลา มีเนื้อที่ 325 ไร่ เดิมเป็นสถานีฝึกปฏิบัติงานโคนม ของนักศึกษาคณะทรัพยากรธรรมชาติ ต่อมาในปี พ.ศ.2552 ได้ปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นหน่วยผลิตโคเนื้อ เพื่อการฝึกงานนักศึกษา และผลิตรายได้ ปัจจุบันมีโคเนื้อจำนวน 120 ตัว และอีกสถานที่หนึ่งคือ สถานีวิจัยคลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์วิจัยและพัฒนาสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก ที่มีภารกิจในด้านการวิจัยและพัฒนาพันธุ์แพะ เพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกร และผู้สนใจในภาคใต้ รวมทั้งศึกษา และวิจัยแพะ รวมทั้งผลิตแพะ ให้แก่มูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อมอบถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรในภาคใต้ ปัจจุบันมีแพะ จำนวน 450 ตัว เป็นแม่พันธุ์ จำนวน 250 ตัว และพ่อแม่พันธุ์แพะของมูลนิธิชัยพัฒนาอีกจำนวน 56 ตัว โดยการดำเนินงานบางส่วนได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากกรมปศุสัตว์

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0