โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

‘พาณิชย์’ดันแฟรนไชส์ไทยขยายการลงทุนเชื่อมการค้ากัมพูชา

NATIONTV

อัพเดต 16 มิ.ย. 2562 เวลา 14.09 น. • เผยแพร่ 16 มิ.ย. 2562 เวลา 12.37 น. • Nation TV
‘พาณิชย์’ดันแฟรนไชส์ไทยขยายการลงทุนเชื่อมการค้ากัมพูชา
‘พาณิชย์’ดันแฟรนไชส์ไทยขยายการลงทุนเชื่อมการค้ากัมพูชา

กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับสมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ จัดการจับคู่เจรจาธุรกิจ Franchise Business Matching Thailand-Cambodia เชื่อมโยงการค้า ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ไทยกับนักลงทุนชาวกัมพูชา ขยายความร่วมมือด้านการลงทุน พร้อมทั้งเยี่ยมชมธุรกิจ ณ สถานประกอบการ

นางลลิดา จิวะนันทประวัติ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยถึง ความสำเร็จจากความร่วมมือระหว่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากับสมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ (FLA) จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจ Franchise Business Matching Thailand-Cambodia ครั้งที่ 2 โดยมีผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีและผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ไทยเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อนำเสนอธุรกิจ จำนวน 16 ราย แบ่งเป็น ธุรกิจอาหาร จำนวน 5 ราย ธุรกิจเครื่องดื่ม จำนวน 6 ราย ธุรกิจการศึกษา จำนวน 2 ราย ธุรกิจความงามและสปา จำนวน 2 ราย และธุรกิจบริการ จำนวน 1 ราย โดยมีนักธุรกิจกัมพูชาจำนวน 11 ราย ร่วมรับฟัง และเจรจาซื้อขายแฟรนไชส์ไทย 

ภายหลังเสร็จสิ้นการนำเสนอธุรกิจ นักธุรกิจชาวกัมพูชาสนใจซื้อแฟรนไชส์จากไทย 6 ธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจอาหาร จำนวน 4 ราย คือ N&B Pancake, ICE FROST DESSERT CAFE, Ize Kimo, Sushi Mega ความงามและสปา จำนวน 1 ราย คือ Dr. Orawan และการศึกษา จำนวน 1 ราย คือ Cruise & Hotel Training School โดยคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่า10 ล้านบาท ที่พร้อมร่วมลงทุนธุรกิจของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีนักลงทุนชาวกัมพูชาที่สนใจร่วมลงทุนในอนาคตได้อีก

สำหรับประเทศกัมพูชา มีการบริโภคภายในประเทศเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และมีเป้าหมายปรับโครงสร้างเข้าสู่อุตสาหกรรมกรรมสมัยใหม่ สร้างแรงงานที่มีทักษะ เพื่อมุ่งสู่ประเทศรายได้ปานกลาง-สูง ให้ได้ภายในปี 2573 และเข้าสู่ประเทศรายได้สูงภายในปี 2593 ชาวกัมพูชามีความสามารถในการซื้อสูงขึ้น รวมถึงเทรนด์การบริโภคของชาวกัมพูชาเริ่มปรับตัว สังคมและไลฟสไตล์ของชาวกัมพูชามีการเปลี่ยนแปลงไปมากและอย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน สินค้าไทยเป็นที่นิยมมากในตลาดกัมพูชาเนื่องจากความมีทัศนคติที่ดี และเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าไทย จึงเป็นโอกาสในการขยายการลงทุนของไทยในกัมพูชา

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะหน่วยงานให้ความส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจไทย พร้อมขับเคลื่อนภาคธุรกิจให้เจริญเติบโตและขยายความร่วมมือกับนักลงทุนต่างชาติ โดยมีสมาคมการค้าเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้ภาคธุรกิจไทยเจริญเติบโตและขยายความร่วมมือกับนักลงทุนต่างประเทศ การจัดกิจกรรมการเจรจาธุรกิจครั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาสให้แก่ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยที่จะเชื่อมโยงการค้าระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา 

"ธุรกิจแฟรนไชส์ที่เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคนี้ การมีความพร้อมในเรื่องระบบการบริหารจัดการ ระบบสนับสนุนและโลจิสติกส์ รวมถึงแบรนดิ้งของสินค้าซึ่งเป็นที่รู้จักแล้วในตลาดที่จะช่วยลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ ของธุรกิจได้อย่างดี แต่สิ่งสำคัญ คือ การที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ และภาคการศึกษาที่ต้องให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับรูปแบบการลงทุน วิธีการทำธุรกิจแฟรนไชส์ที่ถูกต้อง จะได้เป็นการพัฒนาในเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ ซึ่งสุดท้ายผลดีทั้งหลายก็จะย้อนกลับมาสู่เจ้าของแฟรนไชส์และผู้ลงทุน"รองอธิบดี กล่าวสรุป  

.

.

ปัจจุบัน มีธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ (Franchise Standard) จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยยังคงดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์จำนวน 271 ราย แบ่งตามประเภทธุรกิจ ดังนี้ ธุรกิจอาหาร จำนวน 117 ราย ธุรกิจเครื่องดื่ม จำนวน 57 ราย ธุรกิจการศึกษา จำนวน 39 ราย ธุรกิจบริการ จำนวน 30 ราย ธุรกิจความงามและสปา จำนวน 14 ราย และธุรกิจค้าปลีก จำนวน 14 ราย

สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1570 โทรศัพท์หมายเลข 0 2547 5953 E-mail : franchisedbd@gmail.com และ www.dbd.go.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0