โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

‘นมโรงเรียน’ 1.4 หมื่นล้านระบบใหม่ปัญหาอื้อ!

ฐานเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 18 ก.ย 2562 เวลา 15.25 น.

*นายกสมาคมนมพาสเจอร์ไรส์ ชี้ปัญหานมโรงเรียนเพียบ เร่งรีบเกินไป ขาดความโปร่งใส เป็นธรรม  สัญญาซื้อขายมีปัญหา ผู้ซื้อจ่ายเงินล่าช้า ชงเสนอให้เปลี่ยนตัว สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ให้เป็นผู้ซื้อแทน อบต./โรงเรียน *

 

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2562 ที่ผ่านมามีมติ เรื่องการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2562 เรื่องการทบทวนการบริหารจัดการนมโรงเรียน ที่ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชนบริหารนมโรงเรียนใหม่ แบ่งความรับผิดชอบเป็น 5 กลุ่มทำหน้าที่จัดสรรสิทธิโควตานมโรงเรียน 1.4 หมื่นล้านบาทเป็นอย่างไรบ้าง

 

นายวสันต์ จีนหลง นายกสมาคมผู้ผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” สมาคมในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการขนาดเล็ก ซึ่งประกอบด้วยผู้ประกอบการภาครัฐอันได้แก่ สถาบันการศึกษา ภาคสหกรณ์ และภาคเอกชน ได้รับข้อร้องเรียนจากประกาศหลักเกณฑ์ฉบับดังกล่าวทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ประอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ จึงมีมติร่วมกันในการจัดทำข้อเสนอปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับประกาศดังกล่าวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาคในการบริหารโครงการฯสามารถสรุปได้ดังนี้

“การจัดทำพันธะสัญญาซื้อขายน้ำนมดิบต้องสอดคล้องกับการจัดทำบันทึกข้อตกลงเอ็มโอยูเพื่อป้องกันการใช้สิทธิซ้ำซ้อนในการได้มาซึ่งสิทธิต่างๆ ตามบันทึกข้อตกลงซื้อขายน้ำนมโค และกระบวนการจัดสรรสิทธิและพื้นที่การจำหน่ายนมโรงเรียน ระยะเวลาประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินโครงการล่วงหน้าก่อนนำไปใช้อย่างน้อย 1 ภาคเรียนเพื่อให้ผู้ประกอบการได้ศึกษาและปรับตัวได้ทัน

นายวสันต์ กล่าวอีกว่า ระยะเวลาการจัดสรรสิทธิและพื้นที่จำหน่ายเร่งรีบ ควรจัดสรรสิทธิ์และพื้นที่จำหน่ายก่อนเปิดภาคเรียนอย่างน้อย 1 เดือน ขาดความโปร่งใส และเป็นธรรม ซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศ อาทิ การจัดสรรสิทธิการจำหน่ายให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่ได้รับสิทธิน้อยกว่า 5 หมื่นกล่อง/ถุง/วัน ให้จำหน่ายในพื้นที่ตั้งในจังหวัดนั้นๆหรือใกล้เคียงก่อน ควรถือปฎิบัติให้ชัดเจนและควรจัดสรรโดยยึดหลักโลจิสติกส์ของพื้นที่เป็นหลักไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหม่หรือรายเก่าก็ตามควรปฎิบัติอย่างเท่าเทียมกัน

“สัญญาซื้อขายก็มีปัญหาโรงเรียนไม่ซื้อตามหลักเกณฑ์และไม่จ่ายเงินชำระเงินตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กำหนดก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบ จึงเสนอให้เปลี่ยนหน่วยงานจัดซื้อเป็นสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเป็นผู้ซื้อแทน”

นอกจากนี้การแบ่งสัดส่วนในการซื้อนมพาสเจอร์ไรส์และนมยู .เอช.ที ยังไม่ชัดเจน ขอให้กำหนดให้ชัดเจนว่าในช่วงเปิดภาคเรียนให้ซื้อนมพาสเจอร์ไรส์และให้ซื้อนม ยูเอชที ช่วงปิดภาคเรียนเพื่อให้ประโยชน์แก่เด็กนักเรียนได้ดื่มนมสดและมีคุณค่าทางอาหารสูง

นายวสันต์ กล่าวอีกว่า กรณีการกำหนดลงโทษที่รุนแรง สำหรับผู้ประกอบการที่ถูกลงโทษในปีการศึกษาจะถูกลงโทษข้ามปีการศึกษาไปถึงปีการศึกษาถัดไปทั้งๆ ที่ได้รับโทษในปีการศึกษานั้นๆ แล้วซึ่งเป็นการลงโทษหนักและซ้ำซ้อน ไม่เปิดโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการได้แก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาด

“การลงโทษในกรณีตรวจน้ำนมดิบ ณ หน้าโรงงานไม่ผ่านคุณภาพตามเกณฑ์ แต่นำมาลงโทษผู้ประกอบการที่รับซื้อ ซึ่งความจริงไม่ใช่ความผิดของผู้ประกอบการ ซึ่งบทงโทษดังกล่าวไดมีบทลงโทษสำหรับศูนย์น้ำนมดิบไว้แล้ว สรุปก็คือการจัดสรรระบบใหม่ยังมีปัญหาตามไม่ต่างจากก่อนหน้านี้เลย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0