โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

‘ถ่ายแล้วทิ้ง’ วัฒนธรรมสมัยใหม่ ซื้อเสื้อผ้าแค่ถ่ายรูปอัพอินสตาแกรม

LINE TODAY

เผยแพร่ 19 ก.ค. 2562 เวลา 08.44 น. • Ruby The Journey

"When you order a cute style in multiple sizes to get the right fit and send back the rest, a shocking 30 to 50 percent of those returned items never gets restocked. Instead, they are sent to warehouses, eventually shredded, and thrown in landfill or incinerated. An estimated 30 million units meet this fate each year in the United States, at a value of $1 billion."

‘เมื่อคุณสั่งซื้อเสื้อผ้าน่ารักๆ มาหลายๆไซส์ เพื่อที่จะหาชุดที่พอดีและตีกลับตัวที่เหลือทั้งหมด มันน่าตกใจที่ 30- 50 เปอร์เซ็นต์ของสินค้าเหล่านั้น ไม่เคยตีกลับไปที่สต็อกอีกเลย แต่กลับส่งไปยังโกดัง และในตอนท้ายก็ถูกฉีก ,โยนลงในหลุมเพื่อฝังหลบหรือเผาทิ้ง เสื้อผ้าประมาณ 30 ล้านกว่าตัว พบกับชะตากรรมแบบนี้ในแต่ละปีที่สหรัฐอเมริกา ด้วยมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ’ -ข้อมูลอ้างอิง https://www.treehugger.com/author/katherine-martinko/

#ootd หรือ Outfit Of The Day คำที่เปลี่ยนแนวคิดต่อการใส่เสื้อผ้าในปัจจุบัน

ถ้าเพียงเรา ค้นหาแฮชแท็ก #ootd ในอินสตาแกรม มากกว่าสองร้อยล้านรูปจากทั่วโลก ต่างโพสต์แฟชั่นการแต่งตัวในทุกๆวัน และด้วยแฮชแท็กนี้อาจเกิดเป็นชุมชนเล็กๆ ในการสร้างแรงบันดาลใจในการแต่งตัวไปทำงาน ท่องเที่ยว หรือความพึงพอใจในการอยากบอกให้ทุกคนรู้ว่า ชุดที่ใส่อยู่นั้นมาจากยี่ห้ออะไร สไตล์การแต่งตัวเป็นแบบไหน อาจรวมไปถึงการบ่งบอกไลฟ์สไตล์ของตัวเองได้เลย

ดูโพสต์นี้บน Instagram

Waiting till dusk 👁 anzeige

โพสต์ที่แชร์โดย Beatrice Gutu (@beatrice.gutu) เมื่อ ก.ค. 18, 2019 เวลา 1:01pm PDT

แต่ก็มีความตลกร้าย อย่างหนึ่งอิทธิพลที่ร้ายกาจที่สุดของโลกแฟชั่นบนอินสตาแกรม คือการที่บุคคลเหล่านี้ ฝึนใจที่จะใส่ชุดซ้ำ! เพราะรู้สึกอายที่คนอื่นจะจับได้ว่าตัวเองใส่ชุดเดียวกันมากกว่า 1 รอบ และนั่นแปลว่า คนเหล่านั้นซื้อเสื้อผ้ามาเพื่อโพสต์รูปลงอินสตาแกรม และส่งกลับคืนให้ร้านค้า

ดูโพสต์นี้บน Instagram

“MOVE MUM! I’m About To Win This Game!” 😭

โพสต์ที่แชร์โดย Leo Mandella (@gullyguyleo) เมื่อ ก.พ. 3, 2018 เวลา 7:00am PST

ที่น่าตกใจไปกว่านั้น กลับเป็นผู้ชายที่รู้สึกเคอะเขินในการใส่เสื้อซ้ำให้เพื่อนๆเห็น ถึง 1 ใน 10 คน ถ้าเทียบกับผู้หญิงมีเพียง 7 เปอร์เซ็นต์ที่บอกว่าพวกเธอก็คิดแบบนั้น…

ใช่ว่าทุกคนจะมีกำลังซื้อไปได้ซะหมด? มีกลุ่มบุคคลที่เรียกตัวเองว่า ‘Micro Influencer’ ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด เหตุผลเพียงเพราะคนสมัยนี้เริ่มไม่เชื่อแบรนด์ แต่เค้าจะเชื่อและซื้อตาม Micro Influencer ที่เค้าติดตามและคิดว่ามีสไตล์ที่เหมือนๆกัน จึงทำให้เกิดแนวคิด ‘try before buy’ หรือลองก่อนจ่ายทีหลัง สำหรับบางแบรนด์ที่ทำเพื่อเป็นทางเลือกแก่กลุ่มบุคคลเหล่านี้

ดูโพสต์นี้บน Instagram

hi friends! If you haven’t done your closet spring cleaning yet (& you have cotton denim laying around), it’s not too late! Denim that's made from cotton can have a longer lifespan than you might think👖@discovercotton’s #blueJeansGoGreen denim recycling program has a new partnership with @ZapposForGood. The new program is super simple and accessible to anyone in the US. Just gather up your worn denim - if it’s made from at least 90% cotton, it’s recyclable. You can download a pre-paid shipping label at ZapposForGood.org & drop off your box at your local ups. Now it’s way easier to give your clothes a second life and make a difference🙃 #ad #BlueJeansGoGreen #cotton #denim #recycling

โพสต์ที่แชร์โดย Elena (@elenataber) เมื่อ มิ.ย. 25, 2019 เวลา 6:13pm PDT

เมื่อมีความสุดโต่งในการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ ก็มีกลุ่มหนึ่งที่เห็นคุณค่าของการแต่งตัวแบบ Minimalist หรือการแต่งที่เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ เริ่มมีการลงความรู้ไปที่เรื่อง ที่มาที่ไปของแบรนด์ เน้นไปที่ความเรียบง่ายของเสื้อผ้าที่สามารถใส่ได้หลายครั้ง แมทช์ได้กับหลายชุด ใส่ได้หลายโอกาสมากขึ้น

ในท้ายที่สุดแล้วอิสระในการแต่งตัว หรือไม่ว่าจะทำอะไรเป็นอิสระในการทำอะไรก็ตาม เป็นสิ่งที่ทุกคนใฝ่ฝันหาเป็นที่สุด สิ่งที่จะทำได้คงเป็นการช่วยกันตระหนักและภูมิใจกับสิ่งที่สวมใส่ในแต่ละวัน #OutfitRepeater (การใส่ชุดซ้ำ) และช่วยกันทำลายวงจรของการใช้สิ่งของแบบทิ้งขว้าง นี่แหละคือสิ่งที่เราสามารถเป็นผู้นำทางความคิดและถ่ายทอดแนวคิดที่ดีด้วยตัวของเราเอง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0