โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

‘ณรงค์ชัย’ เผย 2 โจทย์ใหญ่รัฐบาลใหม่ แนะ ‘บิ๊กตู่’ ใช้โมเดล ‘ป๋าเปรม’ คุมเศรษฐกิจ

The Bangkok Insight

อัพเดต 16 ก.ค. 2562 เวลา 11.49 น. • เผยแพร่ 16 ก.ค. 2562 เวลา 11.22 น. • The Bangkok Insight
‘ณรงค์ชัย’ เผย 2 โจทย์ใหญ่รัฐบาลใหม่ แนะ ‘บิ๊กตู่’ ใช้โมเดล ‘ป๋าเปรม’ คุมเศรษฐกิจ

ณรงค์ชัย” ชี้ปัญหา “การเงินผิดปกติ-เศรษฐกิจดิจิทัล” โจทย์ใหญ่รัฐบาลประยุทธ์ 2  แนะ “นายกฯ” ประสานทีมเศรษฐกิจเอง เลียนแบบโมเดลความสำเร็จของ “ป๋าเปรม” 

ณรงค์ชัย อัครเศรณี
ณรงค์ชัย อัครเศรณี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเรื่อง “รัฐบาลประยุทธ์ 2 : บริหารโจทย์ท้าทายทางเศรษฐกิจ”  โดยมีใจความสำคัญว่า

รัฐบาลประยุทธ์ 2″ เป็นการเมืองแบบผสมผสาน (Hybrid) คือมีผู้รับผิดชอบทางการเมืองทั้งแบบเลือกตั้ง (Election) และแบบสรรหา (Selection) เหมือนการเมืองสมัยพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จากปี 2522-2531 เกิดจากรัฐธรรมนูญตอนนั้น ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายกับรัฐธรรมนูญ 2560

ในทางเศรษฐกิจ ตอนนั้นคือปี 2522/23 เศรษฐกิจไทยแย่มาก รัฐบาลพล.อ.เปรม ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจต่างๆ ได้ต่อเนื่องเป็นเวลา 8 ปี เศรษฐกิจฟื้น ดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลงบประมาณเป็นบวกหมด เป็นผลงานสำคัญของรัฐบาล

แต่วันนี้ เวลานี้ เศรษฐกิจไทยต่างจากปี 2522/23 อย่างสิ้นเชิง เรามีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมาต่อเนื่องกันกว่าสิบปีแล้ว เงินสำรองระหว่างประเทศสูงถึงประมาณ 2 แสนล้านเหรียญ สภาพคล่องล้น เงินบาทแข็งเป็นหิน ดอกเบี้ยต่ำติดดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตรของบริษัทขนาดใหญ่ก็ต่ำมาก ต่ำอยู่ในกลุ่มต่ำสุดของโลก

นักวิเคราะห์เขาเรียกเราว่า ไทยเป็นประเทศโลกที่สาม คือกำลังพัฒนา แต่มีตลาดทุนเหมือนประเทศโลกที่หนึ่ง “แสดงว่าเศรษฐกิจการเงินเรามีความผิดปกติอย่างแรง” เงินในประเทศล้น แต่ธุรกิจขนาดเล็ก หาเงินได้อย่างยากลำบาก จึงเกิดปรากฎการณ์รวยกระจุก จนกระจายอย่างที่เห็นกันอยู่ แสดงว่าโครงสร้างทางเศรษฐกิจยังต้องมีการปฏิรูป ไม่รู้เหมือนการปฏิรูปที่คุณสุเทพ หัวหน้าคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เคยเรียกร้องหรือไม่

อีกเรื่องที่วันนั้น 2522/23 ต่างกับวันนี้อย่างมาก คือวันนั้นเราต้องดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรม (Industrialization) ซึ่งต้องมีการผลิตปริมาณมากเพื่อประหยัดต้นทุน (Economy of Scale) จึงต้องมุ่งเน้นการส่งออก เพราะตลาดโลกใหญ่

แต่วันนี้ เราต้องทำพัฒนาเข้าสู่โลกดิจิทัล (Digitalization) คือต้องให้เกิดการใช้ไอที ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) อย่างสะดวกและประหยัด ซึ่งโจทย์การทำ Digitalization ไม่เหมือน Industrialization คือ Economy of Scale ไม่สำคัญ เพราะจะผลิตที่ไหน ขายที่ไหนก็ได้ทั้งนั้น อยู่ที่ต้องเก่งและไว

โจทย์ทางเศรษฐกิจ ทั้งเรื่องตลาดเงินตลาดทุน และเรื่อง Digitalization วันนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่หมด นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่มาจากสงครามการค้า (Trade War) ที่สหรัฐประกาศกับหลายประเทศ และยังมีปัญหาเรื้อรังภายในเรื่องราคาพืชผล เรื่องค่าจ้างแรงงาน ฯลฯ จึงต้องมีการประสานนโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจให้ได้

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าอวยพร เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ณ บ้านสี่เสาเทเวศน์
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าอวยพร เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ณ บ้านสี่เสาเทเวศน์

*“ถ้าดูจากโครงสร้างการแบ่งงานกันดูแลกระทรวงเศรษฐกิจ จะหมายความว่ากระทรวงไหน รมว.อยู่พรรคไหน ก็รายงานผ่านรองนรม. ของพรรคนั้น ไม่จำเป็น (และอาจไม่ต้องการ) ผ่านรอง นรม. ดร.สมคิด เห็นชัดว่า ตัวนายกรัฐมนตรีเองต้องเป็นผู้ประสาน ซึ่งสมัยพล.อ.เปรมท่านก็ทำหน้าที่นั้น โดยมี ครม. เศรษฐกิจ มีสภาพัฒน์ เป็นเลขาฯ และมีที่ปรึกษาหลักที่เป็นอิสระทางการเมือง ซึ่งท่านก็ทำได้” *

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0