โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

‘กล้ายอมรับว่าตัวเองไม่ได้รู้ดีที่สุด’ คุยกับ คุณอริญญา SEAC ที่ชวนผู้นำมาเป็นผู้เรียนอีกครั้ง

The MATTER

อัพเดต 14 พ.ย. 2562 เวลา 17.16 น. • เผยแพร่ 14 พ.ย. 2562 เวลา 17.05 น. • Branded Content

ในวันที่ความสำเร็จพาคุณไปถึงจุดสูงสุดของชีวิต จงอย่าลืมว่าระหว่างทางที่ผ่านมา ปัญหาอุปสรรคทำให้เราเรียนรู้และเติบโต นั่นหมายความว่า การเรียนรู้ของชีวิตไม่มีวันหยุดนิ่งตราบที่เวลาและโลกยังคงดำเนินก้าวหน้าไป 

เช่นเดียวกันกับ คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ Southeast Asia Center (SEAC) เธอเองก็เป็นคนหนึ่งที่เดินทางตามหาวิถีทางและพลังงานแห่งความสุขในการทำงานไปพร้อมกับความสุขในการใช้ชีวิต แม้จะประสบความสำเร็จในระดับผู้บริหารแล้ว แต่ทุกวันของเธอคือการเรียนรู้ และการ reskill ให้เท่าทันเทรนด์โลกที่หมุนเปลี่ยนไปตลอดเวลา

อยากให้คุณอริญญาแนะนำตัวเองให้ผู้อ่าน The MATTER ได้รู้จักมากขึ้น ทั้งในแง่ชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานค่ะ

จริงๆ แล้วแรงบันดาลใจทั้งหมดมาจากคุณพ่อ เพราะว่าตั้งแต่เด็กๆ จะเห็นคุณพ่อชอบสอนคน แล้วก็เสาร์อาทิตย์จะเชิญลูกน้องมาที่บ้านแล้วก็จะนั่ง coaching จากตรงนั้นทำให้รู้สึกประทับใจมาก ส่วนตัวเองพอเรียนจบจากแคนาดา เลยเข้ามาทำงานในสายงาน Education กับ Training เพราะว่ามีความเชื่อในเรื่องตรงนี้ ดังนั้น point ของตัวเองคือมีความรู้สึกว่า ทุกวันที่ตื่นขึ้นมาเรารู้สึกมีพลัง เพราะมันเป็นธุรกิจที่ทำให้คนมีความสุขขึ้น คนเก่งขึ้น คนรู้สึกว่าชีวิตเขามีคุณค่าขึ้น

ส่วนตัวก็เป็นคนที่ practice ตัวเอง แต่ก่อนไม่รู้จักหรอกคำว่า Lifelong Learning เพิ่งมารู้จักก็ช่วงหลังที่คนมาพูดกัน แต่ตัวเองมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่าคนใกล้ตัวก็จะบอกว่าทำไมเป็นคนที่เรียนรู้ตลอดเวลา และเป็นคนที่เชื่อเรื่องของรู้แค่นี้ไม่พอต้องรู้อีก เช่นเดียวกับครอบครัวที่เชื่อในเรื่องนี้เช่นกัน เราชอบในการที่จะสนุกในการเรียนรู้ด้วยกันชีวิตเรามีความสุขขึ้น มีความสุขกับลูก มีความสุขกับสามี มีความสุขกับครอบครัว

จาก Lifelong Learning ของตัวเอง บวกกับเทรนด์ของการใช้ชีวิตและการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันในปัจจุบัน โจทย์ยากที่สุดของ SEAC ที่จะต้องตีความให้แตกเพื่อสร้างเป็นหลักสูตรคืออะไร?

ถ้าเกิดมองในคำถามจะมีสองมุม มุมของงานและมุมเรื่องของการใช้ชีวิต เราว่าคำถามนี้สำคัญมากเพราะเรามองแค่งานอย่างเดียวไม่ได้ แต่ว่าเราต้องมองในเรื่องของการใช้ชีวิต ดังนั้นแล้วเนี่ย เวลาที่เรากำลังออกแบบตรงนี้ เราถึงได้ขยับออกจากมุมของคำว่า Training เพราะว่าการที่คนจะทำงานให้มีความสุขและทำให้ได้ดี หรือแม้กระทั่งคนจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข บางอย่างมันมี skill ที่มันคาบเกี่ยวกัน ดังนั้น วิธีคิดเริ่มต้นของเราก็คือ เราศึกษาจริงๆ ว่า skill set อะไร ที่คนต้องการในโลกนี้ ที่จะทำให้เขาอยู่ได้ทั้งในที่ทำงานและในชีวิตส่วนตัวได้ เราจะมองพื้นฐานตรงนี้ก่อน

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องอยู่ในโลกวันนี้ และเรามีความฉลาดทางอารมณ์ วันนี้ในหลายๆ skill มันไม่ได้เป็นการแบ่งเส้นระหว่างเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว หรือลักษณะของหลักสูตรบางอัน ความเข้าใจในคนอื่น ก็สามารถใช้ในทั้งเรื่องงานหรือส่วนตัวได้ คำถามอันนี้พี่ว่าดีมากตรงที่ว่าเราไม่ได้มาแบ่งเส้นทั้งหมด เราจะพยายาม set พื้นฐานของหลักสูตรที่คุณสามารถเอาในเรื่องนั้นๆ ใช้ได้ทั้งในงานและในส่วนตัว เพิ่มคุณภาพชีวิตของทั้งเรื่องของงานและส่วนตัว

พอหลายๆ skill ไปใช้ด้วยกันได้ มันจะทำให้คนเกิดความรู้สึกว่า เรียนอย่างเดียวแต่สามารถเติมเต็มได้ดีในหลายๆ มุม พอเราใช้ชีวิตเป็น ทำงานเป็น เราจะอยากที่จะเก่งขึ้น จะสำเร็จอย่างไหนก็ค่อยเข้ามาในเรื่องของทักษะที่เกี่ยวกับโลกปัจจุบันในยุค Disruptive World นั่นคือขั้นที่สอง เป็นเรื่องที่จะมาตอบโจทย์ที่จะทำให้ชีวิตการงานสำเร็จมากขึ้น ทำงานให้มีประสิทธิผลมากขึ้น เห็นโอกาสทางการทำงานมากขึ้น เราก็จะเริ่มรู้แล้วว่าจะต้องมาเรียนอะไร

สุดท้ายเลยมองว่าเวลาออกแบบหลักสูตร Journey ที่สำคัญที่สุดก็คือ สุดท้ายแล้วในโลกวันนี้เราต้องรู้จักในการที่จะออกแบบชีวิต แล้วชีวิตมันไม่ใช่เป็นสิ่งที่คนอื่นกำหนดมาให้แต่เป็นสิ่งที่เราต้องออกแบบชีวิตของเราเอง และการออกแบบชีวิตต้องผสมผสาน ว่าเรานี่อยากเล่นบทบาทไหน เราห้ามมองว่า เรียนจบอะไรมา เราเริ่มบทบาทไหน แล้วเราต้องขยายผลต่ออย่างไร ดังนั้น สูงสุดของพีระมิดเราเริ่มมองไปไกลขึ้นไปอีก ไม่ใช่มองแค่บทบาทในวันนี้ที่เราอยู่ แล้วชีวิตกับงาน วิธีการคิดมันเกี่ยวข้องกัน

เทรนด์โลกในยุคปัจจุบันที่ผู้คน โดยเฉพาะในระดับผู้นำควรจะรู้มีเรื่องอะไรบ้าง?

เทรนด์โลกในระดับผู้นำตอนนี้มี 3 เรื่องด้วยกัน เรื่องแรก เขาบอกว่าวันนี้เราต้องเข้าใจว่า workforce หน้าตาไม่เหมือนเดิม คือต่อให้เป็นคนที่อยู่ในองค์กรเรามานาน แต่ workforce ก็ไม่เหมือนเดิม ซึ่งเทรนด์ของโลกก็คือว่าคุณไม่สามารถจะบริหารองค์กรในแบบเดิมได้เพราะว่า workforce มีความฉลาดขึ้น ไม่ใช่แค่เทคโนโลยี คุณจะทำยังไงที่คุณจะสร้าง workforce ให้แข็งแกร่งขึ้น

ส่วนที่ 2 คือ วันนี้การทำธุรกิจไม่เหมือนเดิมเขาเรียกว่าวันนี้เราจะต้องทำในเรื่องของ smarter business ผู้บริหารต้องเข้าใจจริงๆ ว่านอกจากคนใน  workforce ที่เก่งขึ้น ฉลาดขึ้น และรู้เยอะขึ้น มันคือธุรกิจต้องฉลาดขึ้นด้วย เทรนด์โลกวันนี้คือคุณวัดตัวของคุณเองได้หรือเปล่าในอีกสองถึงสามปีข้างหน้าว่าธุรกิจของคุณฉลาดขึ้นหรือเปล่า อันนี้คือเป็นสิ่งที่น่าสนใจในเรื่องของเทรนด์มาก

ส่วนที่ 3 ที่สำคัญเลยก็คือ เทรนด์ 2D – Digitalization และ Disruption เราต้องเข้าใจว่าพอทุกอย่างมันเป็นดิจิทัลหมดทุกอย่างมันถูกปรับเปลี่ยนหมด วิธีการซื้อของก็ออนไลน์ วิธีการสื่อสารต่างๆ พวกนี้มันเกิดภาพนี้ขึ้น แปลว่าวิธีคิดของลูกค้า วิธีคิดของ community ที่เราอยู่มันไม่เหมือนเดิม ดังนั้นเราจะจัดการยังไงกับ สังคมที่เปลี่ยนแปลง

พอพูดถึงคำว่า skill set เราก็เลยอยากได้นิยามของคำว่า reskill ว่ามันคืออะไร และสำหรับคนที่เป็นผู้นำ reskill มันมีความสำคัญอย่างไรกับชีวิต?

Reskill เป็นเรื่องที่คนพูดถึงกันเยอะ แต่ว่าขออนุญาตเล่า 2 คำที่เกี่ยวกันมากๆ คือคำว่า reskill กับ upskill จริงๆ แล้วในยุคนี้สองคำนี้มีความสำคัญพอกัน ถ้ายกตัวอย่างกับการเป็นผู้นำ แน่นอนที่สุดว่าหน้าที่ที่ผู้นำทุกคนจะต้องทำก็คือ ทำอย่างไรที่จะทำให้คนในองค์กรเกิดความศรัทธาในวิสัยทัศน์ที่จะพาเดินไป แต่ถ้าเราเป็นผู้นำองค์กรที่อยู่กับองค์กรมายาวนานมาก จะรู้สิ่งหนึ่งเลยว่า ในอดีตคนที่ยิ่งระดับสูงเท่าไหร่ สั่งไปคนก็จะทำ แต่ถ้าเราไม่ upskill ว่าเราต้องให้แรงบันดาลใจคนได้ เราต้องพูดแบบใหม่ยังไงได้ และเราพูดแบบเดิม ไม่ upskill ตัวเองเลยในวิธีการสื่อสารกับคนในองค์กร พูดเลยนะคะว่าไม่ใช่พนักงานผิดที่ไม่เชื่อเรา แต่เป็นเราต่างหากที่เราไม่ upskill ตนเอง อันแรกคือ เราต้องสื่อสารให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากขึ้น ให้แรงบันดาลใจคนมากขึ้น

อีกอันหนึ่ง ถ้าเราเป็นผู้นำ แล้วต้อง reskill ประเด็นก็คือว่าในอดีต เวลาเราวางแผน เราสามารถวางแผนธุรกิจไปได้ไกลๆ สามปีห้าปีถ้าวันนี้เราพูดว่า โอ้โห! เราเห็นภาพชัดในสามปีห้าปี มันไม่ใช่เลย มันยากมากที่นักธุรกิจคนไหนหรือผู้บริหารคนไหนจะเห็นภาพชัด ดังนั้นเนี่ยเราต้อง reskill ใหม่ว่า เราจะทำอย่างไรที่สามารถทำได้ทั้ง short-term focus กับ medium-term focus ส่วน long-term อย่าพึ่งไปพูดถึงมันเลย ซึ่งวิธีการทำกลยุทธ์ มันไม่เหมือนกันกับในอดีต สมัยก่อนคนก็จะใช้ SWOT analysis แต่วันนี้ เรายังไม่รู้เลยว่าอีกสองเดือนข้างหน้าจะมี opportunity อะไรอีก หรือจะมีอะไรอีกไม่มีใครรู้ร้อยเปอร์เซ็นต์ และโลกมันเปลี่ยนไปมาก สิ่งสำคัญก็คือเราต้อง reskill ใหม่ สิ่งที่เราเคยวางแผนโดยวิธีนี้มันต้องเอาทิ้งไปเลย แล้วก็ต้องมาหาวิธีใหม่นั้นก็คือ reskill

แล้วบทบาทของผู้นำที่ต้องสัมพันธ์กับเทรนด์โลก การ reskill สำคัญอย่างไรบ้าง?

กว่า 80% ของทักษะที่เราเคยใช้ในอดีต ไม่สามารถใช้ได้เลยตอนนี้ Subtraction (การลบออก) จึงเป็นคีย์เวิร์ดของผู้นำเลยคือ คุณกล้า subtract ก่อนหรือเปล่า คุณกล้าที่จะบอกว่า 100 เรื่องที่คุณรู้ 100 วิธีที่คุณเคยทำ 80% ของ 100% นั้นคุณลบมันทิ้ง เรียนรู้ที่จะโละในเรื่องอะไรต่างๆ มันไม่ใช่แค่ผู้นำ ทุกคนในองค์กรก็ต้องปรับเปลี่ยนด้วย มองภาพเลยว่าหนึ่งอาทิตย์จะต้องมีเป้าเลย ฉันลบทิ้งไปได้กี่เรื่องแล้ว พูดแบบนี้มันง่ายแต่ทำยากมาก แล้วก็ต้องพยายามทำให้ได้

หลังจากที่ subtract ได้แล้ว ขั้นต่อไปคือต้องรู้จริงๆ ว่าตอนนี้มีรูปแบบในการเรียนรู้อย่างไรบ้าง แล้วเราชอบแบบไหน เช่น เราจะเปิดดูออนไลน์แบบ 5 นาที 8 นาทีบ่อยแค่ไหน เราจะค้นหาเรื่องอะไร เราจะเซ็ตเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรโดยที่ไม่ต้องใช้เวลาเยอะๆ นั่นคือ ต้อง learning how to learn คือเรียนรู้อะไรก็ได้ แต่ทำให้เป็นนิสัย อันที่ 3 คือกล้า experiment ไหม learning มาแล้วเราไม่มาทดลอง เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันใช่หรือเปล่า แล้วสุดท้ายคือ ต้องคิดตลอดว่า สิ่งที่เราทำอยู่นั้นถ้าไม่เวิร์คคือต้องหาหาวิธีใหม่ ต้องทบทวนตัวเองตลอดเวลา (iterate) ดังนั้น 4 ภาพหลักๆ ที่จะตอบได้ว่าผู้นำจะอยู่ใน global trend ที่กำลังเกิดขึ้นตรงนี้ได้ ผูู้นำต้องทำ 4 อย่างนี้

ทำไม SEAC จึงอยากชวนผู้นำมาเป็นผู้เรียนอีกครั้ง?

ถ้าพูดถึงภาพรวมเลย มั่นใจเลยว่าไม่มีผู้นำคนไหนอยากนำพาองค์กรหรือทีมงานไปสู่จุดที่ไม่สำเร็จ หน้าที่ของผู้นำคือการพาทีมงานและองค์กรไปสู่ความสำเร็จ เพราะเขาก็จะสำเร็จด้วยเหมือนกัน งั้น point ที่สำคัญเลยก็คือว่าผู้นำทุกคนต้องเริ่มมองภาพว่าเราจะเก่งมากแค่ไหนในอดีต แต่เราต้องยอมรับกับคำหนึ่งที่เราหนีไม่ได้ก็คือ โลกที่เรากำลังอยู่เป็นโลกใบเดิมแต่หน้าตาไม่เหมือนเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่มันเปลี่ยนรอบด้านทั้งหมดของเรา มันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและต่อเนื่อง นี่คือความน่ากลัวคือรวดเร็วและต่อเนื่อง ถ้าเรายังรักที่จะอยู่ในบทบาทของผู้นำที่จะพาองค์กรแล้วก็พาพนักงานไปสู่ความสำเร็จเราต้องเริ่มรักตัวเองก่อน แล้วถ้าเรารักตัวเองแล้วเราต้องทิ้งอีโก้ออกไปเพราะว่าเรายังคิดว่าการที่มาบอกว่าเราไม่รู้ เราอยากรู้ เราอยากฝึก เราอยากลอง และเรากล้าผิด จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ได้กับคนที่เป็นเบอร์ 1 เบอร์ 2 เบอร์ 3 ขององค์กร

แล้วสำหรับคนรุ่นใหม่ที่กำลังจะก้าวไปเป็นผู้นำในอนาคต การเรียนรู้เรื่องพวกนี้จะส่งผลอย่างไรต่อชีวิตได้บ้าง?

จะบอกว่ายิ่งคนรุ่นใหม่อย่างนี้ยิ่งโชคดีกว่ารุ่นเก่า ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่าโดยการศึกษาที่เราเรียนรู้มาช่วยเราจุดหนึ่ง แต่ว่าตอนที่เราเรียนการศึกษาตามหลักสูตรที่ได้รับ การเรียนรู้มันไม่ได้เตรียมได้ทั้งหมดกับโลกปัจจุบันนี้ ดังนั้นถ้าเขาอยากมีความสุข มีความสุขกับตัวเอง และก็สำเร็จในอาชีพ เขาต้องเริ่มเข้าใจว่าอย่าให้กรอบมาบอกว่า อายุตรงนี้ต้องเรียนมัธยม หรือมหาวิทยาลัย มันเป็นแค่กรอบ ถ้าเขาก้าวออกจากกรอบตรงนั้นได้ปุ๊บ แล้วเริ่มเข้าใจว่าฉันอยากมีความสุข ฉันอยากทำงานสำเร็จ ฉันจะต้องเริ่มวาดเส้นการเรียนรู้ของตัวเอง ไม่ใช่รอให้กรอบมาเป็นตัวบอก แล้วก็จะรอตลอดไป เพราะถ้าไม่มีใครให้เรียนอีก ไม่มีใคร encourage เขาก็จะ suffer อยากให้ทุกคนลุกขึ้นมาออกแบบชีวิตของตัวเอง

Content by Nathanich Chaidee

Illustration by Pantawan Siripatpuwadon

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0