โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

'ไวรัสโคโรนา' เชื่อมั้ยว่า เราเคยรู้จักกันมานานแล้ว

Health Addict

อัพเดต 31 ม.ค. 2563 เวลา 02.24 น. • เผยแพร่ 28 ม.ค. 2563 เวลา 06.04 น. • Health Addict
“ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก” คงเป็นสำนวนที่ใช้อธิบายความรู้สึกของคนไทยในตอนนี้ได้ดีที่สุด เพราะปัญหาฝุ่น PM2.5 ยังไม่ทันจะหาย การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาก็ตามมาติดๆ แต่! เชื่อมั้ย ถ้าเราจะบอกว่า เราทุกคนเคยรู้จัก “ไวรัสโคโรนา” กันมาแล้วทั้งนั้น
“ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก” คงเป็นสำนวนที่ใช้อธิบายความรู้สึกของคนไทยในตอนนี้ได้ดีที่สุด เพราะปัญหาฝุ่น PM2.5 ยังไม่ทันจะหาย การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาก็ตามมาติดๆ แต่! เชื่อมั้ย ถ้าเราจะบอกว่า เราทุกคนเคยรู้จัก “ไวรัสโคโรนา” กันมาแล้วทั้งนั้น

สำนวนไทยที่ว่า “ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก” คงเป็นสำนวนที่ใช้อธิบายความรู้สึกของคนไทยในตอนนี้ได้ดีที่สุด เพราะปัญหาฝุ่น PM2.5 ยังไม่ทันจะหาย การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าก็ตามมาติดๆ แต่! เชื่อมั้ย ถ้าเราจะบอกว่า เราทุกคนเคยรู้จัก "ไวรัสโคโรนา" กันมาแล้วทั้งนั้น 

ต้นตอของ "ไวรัสโคโรนาอู่ฮั่น"
จริงๆ แล้ว มนุษย์เรารู้จักกับไวรัสโคโรนากันมาตั้งนานแล้ว อย่างซาร์ส (SARS) หรือ เมอร์ส (MERS) ที่เคยระบาดและคร่าชีวิตผู้คนมาในอดีต ก็จัดเป็นไวรัสในตระกูลโคโรนา (Coronavirus) นี้เหมือนกัน เพียงแต่ว่าเจ้าไวรัสโคโรนาที่พบในอู่ฮั่นนี้ มันเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งทางการเมืองอู่ฮั่นเชื่อว่าผู้ติดเชื้อกลุ่มแรกคือพ่อค้าแม่ค้าและคนที่เข้าไปทานอาหารสดในตลาดสดแห่งหนึ่งในเมืองอู่ฮั่น และติดเชื้อมาจากสัตว์อีกที ก่อนที่จะเกิดการระบาดออกเป็นวงกว้าง ขณะที่สื่ออังกฤษอย่าง Daily Mail รายงานว่าที่จีนเอง ก็มีศูนย์วิจัยไวรัสอยู่ในเมืองอู่ฮั่นห่างจากตลาดดังกล่าวเพียง 32 กิโลเมตร จึงเชื่อว่าเป็นต้นตอที่อาจทำให้ไวรัสเล็ดรอดออกมา
ไวรัสโคโรนาในอดีต VS ไวรัสโคโรนาในปัจจุบัน
สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ ทั้ง ซาร์ส (SARS) และ เมอร์ส (MERS) ต่างก็เป็นไวรัสในตระกูลโคโรนา (Coronavirus) ที่มีต้นกำเนิดมาจากสัตว์ ซึ่งถึงแม้ว่าเมอร์สนั้นเชื่อว่ามีการติดต่อจากอูฐสู่คน แต่ต้นกำเนิดจริงๆ ของไวรัสนั้นเชื่อว่ามาจากค้างคาว เช่นเดียวกับที่นักวิจัยของจีนเชื่อว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดอยู่ในตอนนี้ก็มาจากค้างคาวเช่นกัน แต่ล่าสุดมีข้อมูลใหม่เข้ามาอีกที่เชื่อว่าไวรัสโคโรนาอาจมาจากงูด้วย โดยอาจจะถ่ายทอดสู่คนโดยตรง หรือผ่านสัตว์ที่เป็นตัวกลางก็ได้

ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นในแต่ละครั้ง
ในปี 2002 ที่ซาร์สระบาดนั้น มีผู้ติดเชื้อกว่า 8,000 คน ใน 37 ประเทศ และเสียชีวิตไปกว่า 750 คน หรือเกือบ 10% ในส่วนของเมอร์ส ดูเหมือนจะติดต่อจากคนสู่คนยากกว่าซาร์ส แต่มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง อยู่ที่ 35% จากผู้ติดเชื้อราว 3,500 คน ซึ่งสำหรับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดนี้ มีผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 4,500 คน และมียอดผู้เสียชีวิตราว 100 คน ซึ่งเท่ากับว่าอัตราการเสียชีวิตยังอยู่ที่ประมาณ 2-3% เท่านั้น
อาการบ่งชี้…ที่ต้องรีบไปหาหมอ
ไวรัสตัวนี้จะไปทำให้เกิดอาการปอดบวม ผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการไอ มีไข้ และหายใจลำบาก หากมีอาการรุนแรงก็อาจทำให้อวัยวะภายในล้มเหลวได้ ปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะที่ใช้รักษาไวรัสตัวนี้ การรักษาจะเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาจัดการกับไวรัสตัวนี้เอง ซึ่งขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของแต่ละคนด้วย โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว และสุขภาพไม่แข็งแรง จึงเกิดภาวะแทรกซ้อนจนเสียชีวิต

กังวลได้ แต่อย่าแพนิคเกินไป
ต้องบอกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดนอกประเทศจีนก็น่ากังวลอยู่ แต่ยังไม่ถึงขั้นต้องแพนิคขนาดนั้น ส่วนหนึ่งที่ทำให้เจ้าไวรัสตัวนี้ดูจะน่ากลัวเพราะติดต่อจากคนสู่คนได้ง่ายมาก แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ก็ลงความเห็นว่ายิ่งไวรัสติดต่อจากคนสู่คนง่ายเท่าไหร่ ความรุนแรงของไวรัสก็จะน้อยลงเท่านั้น สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยตอนนี้มีผู้ติดเชื้อแล้ว 8 คน โดยทั้งหมดเดินทางมาจากอู่ฮั่น จึงยังไม่ถือว่าเป็นการระบาดในประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้รักษาจนหายดีและกลับบ้านได้แล้ว 5 คน มีอีกเพียง 3 คนที่ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล และอาการไม่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่
สรุปแล้วเจ้าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ก็ถือว่าเป็นไวรัสที่น่ากลัว เพราะติดต่อจากคนสู่คนได้ง่ายมาก แต่ก็สามารถหายขาดได้เช่นกัน ทางที่ดีควรหมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ทำร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกไปไหนก็สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และอย่าแพนิคจนเกินไป แค่นี้ก็รับมือกับไวรัสโคโรน่าได้แบบสบายๆ แล้ว
 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0