โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ไม่ใช่แค่คนที่เดือดร้อน แต่ปลาอีกกว่า 1,700 ชนิดก็ได้รับผลกระทบจาก" เขื่อนกั้นแม่น้ำโขง"

Amarin TV

เผยแพร่ 17 ก.ค. 2562 เวลา 03.57 น.
ไม่ใช่แค่คนที่เดือดร้อน แต่ปลาอีกกว่า 1,700 ชนิดก็ได้รับผลกระทบจาก
ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ไฟฟ้า” นั้นเป็นปัจจุัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันอย่างเลี่ยงไม่ได้ และทำให้มีความจำเป็นอย่างมากในการผลิตไฟฟ้า

ปฏิเสธไม่ได้ว่า“ไฟฟ้า” นั้นเป็นปัจจุัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันอย่างเลี่ยงไม่ได้ และทำให้มีความจำเป็นอย่างมากในการผลิตไฟฟ้าเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของทั้งภาคประชาชน และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งหนึ่งในตัวเลือกสำหรับการผลิตไฟฟ้าในประเทศนั้นคือ “โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ” ซึ่งอาศัยการไหลของน้ำให้กลายเป็นพลังงานในการผลิตไฟฟ้า และสามารถพบได้ตามเขื่อนขนาดใหญ่ต่างๆ ทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของ กองสื่อสารภายนอก ฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยข้อมูลการผลิตและซื้อพลังงานไฟฟ้าในประเทศ ซึ่งพบว่าในเดือนมิถุนายน 2562 มีการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานหมุนเวียน (น้ำ, ลม, แสงอาทิตย์ และชีวมวล) เพียง 518.97 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง หรือคิดเป็น 3.04% ของไฟฟ้าทั้งหมดที่ กฟผ. ผลิตได้

แม้จะเป็นตัวเลขที่ไม่มากมายนัก แต่ก็มีโครงการเดินหน้าสร้างเขื่อนต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก โดนเฉพาะในแถบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีจุดกำเนิดจากที่ราบสูงทิเบต และมีจุดกำเนิดร่วมกับอีก 2 แม่น้ำ คือ แม่น้ำแยงซี และ แม่น้ำสาละวิน ไหลผ่านถึง 7 ประเทศ จนกระทั่งไหลไปออกทะเลจีนใต้ที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่เวียดนาม และมีการสร้างเขื่อนกั้นเอาไว้กว่า 21 แห่ง ที่นักอนุรักษ์มองว่าเป็นจำนวนที่มากเกินไป ทั้งยังส่งผลกระทบต่างการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ ที่อาจกระทบต่อวิถีชีวิตผู้คนและระบบนิเวศรอบๆ ลำน้ำโขง

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา ทางการลาวได้มีการเตือนคนที่อยู่ในเมืองปากลายซึ่งอยู่ท้ายเขื่อนไซยะบุรี ให้ระมัดระวังการขึ้นลงของระดับน้ำจากการทดลองปั่นไฟในระหว่างวันที่ 15-29 ก.ค.นี้ โดยเขื่อนไซยะบุรีนั้นเป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงตอนล่างแห่งแรก สร้างกั้นแม่น้ำโขงในประเทศลาว แต่ลงทุนโดยทุนไทยภายใต้การสนับสนุนเงินทุนของสถาบันการเงิน 6 แห่งของไทย และไฟฟ้าส่วนใหญ่ส่งมาขายไทย จนมีการตั้งชื่อล้อเลียนว่า “เขื่อนลาวสัญชาติไทย”

แม้มีการประท้วงจากกลุ่มคนพื้นที่ลุ่มน้ำโขงและรัฐบาลกัมพูชา แต่เขื่อนแห่งนี้ก็สร้างจนเสร็จ และได้มีการทดลองปั่นไฟในช่วงฤดูน้ำหลากที่มีปลาจำนวนมากอพยพขึ้นไปหากินและวางไข่ทางตอนบนของแม่น้ำโขง ซึ่งต้องเจอกับเขื่อนอีกหลายแห่งที่กั้นขวางพวกมันอยู่ และจากข้อมูลของ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission : MRC) พบว่าแม่น้ำโขงนั้นเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายของชนิดปลามากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำอเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ และแม่น้ำคองโกในทวีปแอฟริกา โดยในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 1,200 ชนิด และคาดว่าอาจมีถึง 1,700 ชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือปลาขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงเท่านั้นคือ ปลาบึก ปลาที่อพยพว่ายน้ำจากแม่น้ำโขงในเขตประเทศจีน เพื่อที่จะไปผสมพันธุ์และวางไข่ที่ทะเลสาบเขมร แต่ในปัจจุบันยังไม่มีผู้พบปลาวัยอ่อนในธรรมชาติเลย

ถึงจะมีความกังวลต่อความเป็นได้ที่เขื่อนที่ส่งผลกระทบต่อการลดจำนวนลงอย่างมหาศาลของประชากรปลา รวมถึงสัตว์ต่างๆ ที่พบได้เฉพาะในแถบลุ่มแม่น้ำโขง และกระทบต่อแหล่งอาหารของประชาชนหลายล้านชีวิตที่อย่างอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว แต่ด้วยความการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี รวมไปถึงการใช้ลำน้ำโขงเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าด้วยเรือขนาดใหญ่ของประเทศจีน ที่มาซึ่งปัญหาการระเบิดแก่งธรรมชาติต่างๆ ก็กลายเป็นเรื่องกลืนไม่เข้าคายไม่ออก และยากจะบอกว่าเหมาะสมหรือไม่ เมื่อหลายๆ มาสะตอกับคำว่า “ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ”

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0