โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ไม่รู้ไม่ชี้ เพื่ออยู่รอด : เรื่องของ Emotional Detachment

Johjai Online

อัพเดต 21 พ.ค. 2562 เวลา 15.50 น. • เผยแพร่ 20 พ.ค. 2562 เวลา 17.00 น. • johjaionline.com
ไม่รู้ไม่ชี้ เพื่ออยู่รอด : เรื่องของ Emotional Detachment
Emotional detachment ไม่ใช่การ “ทำใจ” หรือ “ปลง” แต่เป็น “การปฎิเสธความรู้สึก” จากสถานการณ์เลวร้าย   

“พวกเรากำจัดอารมณ์ทิ้งออกไป เมื่อไร้อารมณ์ ก็ไม่มีแรงจูงใจที่จะเกิดความรุนแรง”  : Spock 
 
Spock ตัวละครสำคัญในภาพยนตร์ชุด Star Trek กำลังอธิบายธรรมชาติของพวกเขา ชาวดาว Vulcan ที่ปราศจากอารมณ์ แต่เต็มไปด้วยตรรกะเหตุผลล้วนๆ ไม่เหมือนกับมนุษย์ที่ใช้อารมณ์เป็นสำคัญ
ในบางสถานการณ์ มนุษย์ก็แปรสภาพกลายเป็นชาว Vulcan ที่ไร้อารมณ์ได้เหมือนกัน และเมื่อนั้น มักจะถูกมองอย่างไม่ดีนักจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน 
เมื่อคนเราพบกับความไม่สบายใจ การตอบสนองกับเหตุการณ์อย่างนั้นมีอยู่สองขั้ว คือ 1. เฉยเมย ไม่รับรู้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นทั้งที่มันกำลังเกิดขึ้นอยู่ต่อหน้าต่อตา หรือ 2. รับรู้ไปเต็มๆ และ panic อย่างสุดๆจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้ 
ขั้วที่หนึ่งหรืออาการเฉยเมย เป็นดูจะอาการที่เข้าใจยากกว่า เพราะเมื่อคนเราเจอเรื่องร้ายแล้วยังเฉยหรือดูเหมือนชิลๆ ดูจะไม่เป็นธรรมชาติปกติของมนุษย์เท่าไหร่นัก ผู้ที่มีอาการนี้จะหันหลังปฏิเสธเหตุการณ์ร้ายเสมือนว่าไม่ได้เกิดขึ้น หรือไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่เป็น ซึ่งอาการที่ว่านี้ ไม่ได้มาจากการแกล้งทำหรือประชดประชันหรือตั้งใจ หากเป็นการตอบสนองโดยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเอง 
นักจิตวิทยาเรียกอาการนี้ว่า “emotional detachment” อันเป็นกลไกป้องกันตัวเองจากสภาพจิตใจที่บีบคั้น หากไม่มีกลไกนี้มาช่วย สภาพจิตใจอาจลุกลามไปถึงขั้วที่ 2 คือ panic หรือ panic attack แบบฉับพลัน ซึ่งเป็นขีดอันตรายทั้งตัวเองและคนรอบข้าง หรือถลำไปสู่อาการซีมเศร้ากลายเป็นปัญหาในระยะยาว    
ในคนที่มีอาการ trauma หรือบาดเจ็บทางจิตใจจากเรื่องร้ายในชีวิต เช่น การสูญเสียคนใกล้ชิด ความผิดหวังอย่างแรงในการงาน การถูกหักหลังจากคนที่ไว้ใจ ก็อาจมี emotional detachment ในทันที่ที่เรื่องคล้ายอดีตเกิดขึ้นซ้ำอีก ทั้งนี้เพราะเกิดกลไกป้องกันตัวเองในลักษณะคล้ายกับภูมิคุ้มกัน โดยไม่ยอมให้สภาพจิตใจกลับไปย่ำแย่อย่างเดิมอีก เมื่อเจอเหตุการณ์ร้ายซ้ำเดิม ก็จะ detach อารมณ์ออกไป กลายเป็นอารมณ์ด้าน รู้สึกเฉยๆ ทำให้เราเห็นคนเหล่านี้ดูเหมือนสามารถดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ ถึงแม้อยู่ในภาวะวิกฤติ 
ส่วนบางคนไม่จำเป็นต้องรอให้มีประสบการณ์ร้ายมาก่อน ก็สามารถเกิด emotional detachment ได้ทันทีก็มี 
ซึ่งตรงข้ามกับคนที่เป็น post traumatic stress disorder หรือ PTSD ที่จะเกิดปัญหาหวาดผวาอย่างรุนแรงเมื่อพบกับเหตุการณ์ที่ทำให้คิดถึงเรื่องร้ายที่เคยเจอ เช่น ทหารที่เคยผ่านสงครามทนเห็นความรุนแรงไม่ได้อีก หรือแม้กระทั่งทนเสียงดังที่คล้ายสนามรบไม่ได้ หรือ คนที่เคยพบกับการสูญเสียก็อาจจะเกิด panic รุนแรงทันทีเมื่อรู้ว่าคนใกล้ชิดป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ โดยความรู้สึกเดิมๆจะถูก relplayed ถาโถมเข้ามาอย่างน่ากลัว แน่นอนว่า PTSD นั้นน่ากลัวกว่า emotional detachement 
Emotional detachment ไม่ใช่การ “ทำใจ” หรือ “ปลง” เพราะ emotional detachment เป็น “การปฎิเสธความรู้สึก” จากสถานการณ์เลวร้าย ในขณะที่การทำใจและปลงเป็นเรื่องของการยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ คนที่ emotional detachment หลีกเลี่ยงที่จะพูดหรือที่จะคิดถึงสถานการณ์ร้ายนั้น ยังอยู่ในสภาพที่ “ไม่ยอมรับ” ส่วนคนที่ทำใจได้ จะสามารถพูดถึงสถานการณ์นั้นได้ละเอียดเหมือนธรรมดา ประมาณว่า ยอมรับได้ 
ถึงแม้ว่า emotional detachment เป็น defense mechanisim ธรรมดาของมนุษย์ ซึ่งเหมือนกับเป็น circuit breaker ที่ “ตัดไฟ” ก่อนที่จะเกิดไฟช็อตและไฟไหม้ลุกลาม อีกทั้งคนส่วนใหญ่ก็เคยประสบกันทั้งนั้นในบางเรื่องและในบางเวลา ไม่มากก็น้อย แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่สังคมมองในทางลบอยู่เสมอ ผู้ที่อยู่ในสภาพ emotional detachment มักถูกมองว่าเป็นคนเฉยเมย ไม่ใส่ใจ ทำตัวไม่เหมาะสม ไม่เห็นอกเห็นใจ ไม่ให้ความร่วมมือ หรือเห็นแก่ตัว  “เขาไม่รู้สึกเสียใจเลยเหรอ?” “เขายังทำไม่รู้ไม่เห็นได้อย่างไร?” “เขายังทำตัวปกติได้ยังไง?”  

ในที่ทำงาน ที่เจ้านายไม่ดี  หรือเต็มไปด้วย office politics สายโน้นสายนี้ หรือองค์กรไม่สนใจพัฒนาคน เอาแต่ใช้คนอย่างเดียว ก็อาจะทำให้พนักงานบางคนมีอาการ emotional detachment ได้ นั่นคือไม่อยากสนใจเรื่องใดๆนอกจากทำงานให้เสร็จๆไป ไม่รู้สึก connect กับงานและสังคมที่ทำงาน มีอยู่อย่างเดียวที่ยัง connect อยู่ นั่นคือเงินค่าตอบแทน โดยมี strategy ในการทำงานว่า ทำงานอย่างไรให้น้อยที่สุด โดยไม่ให้ถูกไล่ออก 
ในสังคมของ office เช่นนั้น ผู้ที่เกิด emotional detachment อาจถูกมองว่า เป็นคนที่ไม่สนใจองค์กร แค่ทำแต่งานของตัวเองไปวันๆ และอาจถูกมองว่าไม่เข้าพวก หรือเป็นพวก “deadwood”
ทั้งที่ในสถานการณ์เช่นนี้ อาการ emotional detachment เป็นปัญหาที่ปลายเหตุ สาเหตุจริงอาจอยู่ที่องค์กร หรือผู้บริหารเอง และการ detachment อาจเป็นการตอบสนองที่มีเหตุผลก็ได้ เพราะถ้าพวกเขาเข้าไปมีอารมณ์ร่วมกับกลุ่ม ก็อาจไม่ได้ประโยชน์อะไร นอกจากต้องยอมทำตามกลุ่มในหลายๆเรื่องที่อาจไม่เห็นด้วย อีกทั้งถ้าจะลุกขึ้นต่อต้านท้วงติง ก็อาจอยู่เกินความสามารถที่จะได้รับความสนใจหรือแก้ไขได้   
ในหนังสือ The No Asshole Rule: Building a Civilized Workplace and Surviving One That Isn't ของ Dr. Robert Sutton ที่ได้รับรางวัล Quill’s Best Business Book Award บอกว่า คนเรามี cognitive limit หรือมีความสามารถในการรับรู้จำกัด เราไม่สามารถจัดการกับอารมณ์แรงๆที่ถาโถมเข้ามาได้พร้อมกันหลายเรื่องหลายด้าน และจำต้องเลือกเพียงบางเรื่องเพื่อให้สมองได้รับมือได้ง่ายกว่า หรือไม่ก็ไม่เลือกเรื่องใดเอามาใส่ใจเลยหากทุกเรื่องจะมาทำลายสภาพจิตใจจนพังพินาศ 
อาการ emotional detachement จึงเป็น filter อย่างหนึ่งที่กรองเอา noise หรือสิ่งรบกวนด้านอารมณ์ออกไป เหลือแต่เนื้อๆของปัญหา ทำให้มีสมาธิจัดการกับมันได้โดยไม่มีอารมณ์มารบกวน หรือตกอยู่ในทัศนะที่ bias  
Sutton แนะนำว่า emotional detachment เป็นเรื่องที่ผู้บริหารควรให้ความสนใจพอๆกับเรื่องของ passion ทุกองค์กรพูดถึง passion แต่ไม่ค่อยคิดถึง emotional detachment อันเป็น “ต้นทุน” ที่มากับ passion
เพราะทั้งสองเรื่องนี้ เป็นด้านสองด้านที่อยู่บนเหรียญเดียวกัน  ด้วยเหตุว่า การโปรโมท passion ในองค์กร อาจตามมาด้วยบรรยากาศ emotional detachment เพราะมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งที่ต้องนำมาคิด สภาพ emotional detachment ของพนักงาน เป็นตัวชี้ว่า องค์กรต้องปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการเรื่องของ passion อย่างไรบ้าง 
Sutton ชี้ว่า ผู้บริหารที่มี passion มักจะปล่อยให้ภาระของ passion นั้นตกอยู่กับพนักงาน เช่น การทำงานหนักเกินเวลา บีบคั้นกดดันต่างๆ  โดยเชื่อว่าพนักงานก็มีความ “อิน” กับ passion ขององค์กรด้วย ทั้งที่สำหรับพนักงานแล้วไม่ได้มีความหมายอะไรกับพวกเขา กลายเป็นว่า ยิ่งผู้บริหารมี passion มากเท่าไหร่ ก็อาจะมีโอกาสทำให้พนักงานมี emotional detachment มากขึ้นเท่านั้น และนี่คือเรื่องที่มักถูกมองข้ามเสมอ
หรือในชีวิตคู่ คู่ที่มีปัญหาจนถึงจุดหนึ่งจนพูดคุยกันก็ไม่มีประโยชน์ ก็อาจจะเลือกอยู่ด้วยกันต่อไปเรื่อยๆ โดยพยายามหลีกเลี่ยงประเด็นอ่อนไหวให้มากที่สุดเท่าทีจะทำได้ เพื่อจะได้ไม่ต้องทะเลาะกัน วันเวลาอาจผ่านไปอย่างสันติ ดูเหมือนราบรื่น แต่ไร้อารมณ์ ปราศจากการ connect กันเหมอนอย่างที่เคย 
สำหรับหลายคู่แล้ว การมี emotional detachment อาจจะเป็นหนทางที่ทำให้ชีวิตคู่ไปต่อได้ เพราะมีภาระความรับผิดชอบ อย่างเช่นการเลี้ยงลูกหรือสภาพการเงินค้ำอยู่ 
emotional detachment จึงเป็นเรื่องที่อาจสมเหตุผลหรือเป็นการกระทำที่ถือว่า rational ในระยะสั้น และเป็นสัญญาณเตือนภัยหรือ warnning sign ที่ชี้ไปที่ปัญหาใหญ่กว่าอันเป็นสาเหตุที่แฝงอยู่ให้รีบจัดการแก้ไข 
ถึงแม้ emotional detachment ดูเหมือนจะเป็น circuit breaker ที่ดี แต่ถ้าหากเกิดขึ้นเป็นเวลานาน อาจเกิดปัญหาได้ นั่นคือ  defense mechanism ที่เกิดขึ้นมาชั่วคราวเฉพาะเรื่องแบบ specific use  กลายเป็นสิ่งถาวรและใช้แบบ universal use ไปในทุกเรื่อง ไม่ว่าอะไรก็รู้สึกไร้อารมณ์ไปหมด กิจกรรมที่เคยชอบทำก็กลายเป็นรู้สึกเฉยๆ จนฝังลึกกลายเป็น character ประจำตัวไป ทำให้เป็นคนที่ไร้อารมณ์ ไร้ความรู้สึก หรือที่เรียกว่า “emotional numb” 
ในเมื่อมนุษย์เป็นสัตว์สังคม การขาดอารมณ์ ก็คือการขาดการเชื่อมต่อกับผู้คน บั่นทอนต่อธรรมชาติสำคัญของมนุษย์ ผลคือ ผู้นั้นไม่สามารถอาศัยอยู่อย่างปกติในสังคมได้ อาจนำไปสู่สภาพซึมเศร้า ทำนองเดียวกับโรคที่ภูมิคุ้มกันของตนเองหันมาทำร้ายตนเอง
คนที่เป็น emotional detachment แรงๆอาจะพัฒนาไปสู่ “depersonalization” หรือการปฏิเสธตัวตนตัวเองได้ ซึ่งพบว่ามีคน 1-2% เป็นเช่นนี้ 
อาการ depersonalization มีลักษณะว่ามองตัวเองเสมือนว่าเป็นอีกคนหนึ่ง เพราะในจิตใจต้องการถอยห่างออกจากความบีบคั้นที่เผชิญอยู่ จึงถอยห่างออกจากความเป็นตัวตน ไปนั่งดูอยู่ห่างๆ ผู้ที่มีอาการนี้จะบอกว่าคล้ายกับเป็นคนดู แทนที่จะเป็นเจ้าของชีวิต ความทรงจำที่มีก็เหมือนกับเป็นของคนอื่น พร้อมกับรู้สึกอยู่เสมอว่า บางสิ่งบางอย่างไม่ถูก ไม่ใช่อย่างที่มันควรจะเป็น แต่ก็ไม่รู้ว่าอะไร 
Depersonalization จึงเป็น defense mechanism ที่ go extreme อันเป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์  
วิธีที่จะจัดการกับ emotional detachement อย่างสร้างสรรค์ ก็คงมาจากความเข้าใจของคนรอบข้าง เพราะถ้ายิ่งมองอาการนี้ในทางลบมากเท่าไหร่ คนที่ถูกตำหนิก็ต้องยิ่งปกป้องตนเองมากขึ้นเท่านั้น ด้วยการเพื่มความ detachement มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่เป็นผลดีกับทั้งสองฝ่าย 
ดังนั้น ความเข้าใจในเรื่อง emotional detachment จึงมีความจำเป็น ไม่เพียงแต่เพื่อความเข้าใจในคนที่กำลังมีอาการนี้อยู่เท่านั้น แต่ก็เพื่อตนเองด้วย 
เพราะสักวันหนึ่ง เราเองก็อาจจะมีอาการนี้ 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0